“โควิด”โจมตีภาคการผลิต โจทย์ใหญ่ส่งออกครึ่งปีหลัง

“โควิด”โจมตีภาคการผลิต   โจทย์ใหญ่ส่งออกครึ่งปีหลัง

การส่งออกครึ่งปีแรก ขยายตัว สูงถึง 15.53% เป็นกลุ่มอาหาร1.3 หมื่นล้านดอลลาร์ ขยายตัว 12.2% ไทยในฐานะผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ของโลก ที่กำลังเผชิญการแพร่ระบาดโควิด-19 อย่างรุนแรง จึงต้องมองการส่งออกอาหารของไทยในครึ่งปีหลังจากนี้จะยังสดใสหรือไม่

คึกฤทธิ์ อารีปกรณ์ ผู้จัดการสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย เปิดเผยว่าในขณะนี้แรงงานในโรงชำแหละและแปรรูปไก่ที่ส่งออก ตรวจพบติดเชื้อโควิดเป็นจำนวนมากและต้องปิดโรงงานไปแล้ว กว่า 10 แห่งจากทั้งหมด 31 แห่ง ส่งผลให้กำลังการผลิตหายไป 40-50 % ปริมาณผลผลิตไม่เพียงพอลดลง กว่า 20 % และต้องขอเลื่อนคำสั่งซื้อหรือออเดอร์ ในช่วงไตรมาสที่3 ออกไป ในขณะที่บางโรงงานไม่กล้ารับคำสั่งซื้อในไตรมาสที่ 4 เพราะไม่มั่นใจว่าจะสามารถผลิตไก่ส่งออกได้ทันหรือไม่

 

ดังนั้นการส่งออกไก่ของไทยในช่วงครึ่งปีหลังนี้ คาดว่าจะได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน จากเป้าทั้งปีจะส่ 162755564327 งออกได้ 9.5 แสนตัน เพิ่มขึ้น 1 % เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งแนวโน้มส่วนจะลดลงมากน้อยเพียงใด สมาคมจะติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องเพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ต่อไป

 

สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากระยะเวลาการปิดโรงงานแต่ละแห่ง ไม่ได้เป็นมาตรฐานเดียวกัน 7-14 วันแล้วแต่ดุลยพินิจของผู้ว่าราชการจังหวัด จะให้ความเห็นชอบ แต่ระยะเวลากักตัวผู้ป่วย คือ14 วัน บางโรงงานที่มีพื้นที่กว้างขวางมีโรงเรือนหอพัก ภายในโรงงานก็สามารถกักตัวผู้ป่วยให้อยู่ในบริเวณที่กำหนดได้ แต่บางแห่งที่มีพื้นที่น้อยก็ต้องออกมาพักนอกโรงงาน แม้จะอนุญาตให้ดำเนินการได้ ก็ไม่สามารถผลผลิตได้เต็มศักยภาพ เพราะแรงงานมีน้อยและต้องกักตัวด้วย

 

“แรงงานที่ตรวจพบเชื้อโควิดนั้น ส่วนใหญ่เป็นโรงชำแหละตัดชิ้นเนื้อไก่ ส่วนฟาร์มเลี้ยงยังตรวจไม่พบ เนื่องจากฟาร์มแต่ละแห่งเลี้ยงด้วยระบบอีแวป คือปิดกั้นการเข้าออกของคนงานและยานพาหนะ เป็นมาตรการหลังจากที่ไข้หวัดนกระบาดเมื่อปี 2547 แต่โรงชำแหละ ยังเปิดให้พนักงานกลับบ้านได้ จึงเป็นสาเหตุให้ติดเชื้อโควิดดังกล่าว”

ทั้งนี้ สมาคมฯเห็นว่ามาตรการปิดโรงงานควรจะอ้างอิงจากมาตรการขององค์การอนามัยโลก(WHO )ที่ผ่อนปรนการปิดโรงงานด้านอาหาร โดยสามารถปิดได้เพียง 3 วันเท่านั้นเพื่อล้างทำความสะอาดหลังจากตรวจพบแรงงานติดเชื้อ และเพื่อไม่ให้ผลผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคหยุดชะงัก ซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้วเมื่อปีที่ผ่านมาในสหรัฐอเมริกา ที่โควิดระบาดหนักและรัฐบาลสั่งให้ปิดโรงงาน 14 วัน ส่งผลให้ไม่มีเนื้อสัตว์บริโภค

 

โรงงานไก่ ปกติมีมาตรฐานความสะอาดที่เข้มงวดอยู่แล้ว คนงานต้องสวมบูท เสื้อผ้า ถุงมือ แมส ทุกอย่างห้ามพูดคุย สบตาได้เท่านั้น เพื่อให้สินค้าสะอาดที่สุด และต้องล้างทำความสะอาดเครื่องทุกวัน วิธีการนี้ทำให้ผู้นำเข้ามั่นใจทำให้การส่งออกจากในช่วงครึ่งปีแรกทำได้ถึง 5.02 แสนตัน เพิ่มขึ้น 6.7 %เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่าจะไม่ปนเปื้อนเชื้อโควิด ไม่จำเป็นต้องหยุดนาน7-14 วัน เพราะจะส่งผลให้เกิดปัญหาไก่สะสม ห่วงโซ่การผลิตก็ไก่ได้รับผลกระทบไปด้วย “

 

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้อยากให้รัฐบาลออกมาตรการปิดโรงงานให้ชัดเจน โดยเฉพาะโรงงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหาร ไม่ควรเกิน3 วัน ซึ่งเป็นระยะเวลาที่พอจะปรับแผนการผลิตได้ อนุญาตให้แรงงานที่ไม่ติดเชื้อเข้าโรงงานได้ตามปกติ ตามนโยบาย Bubble and Seal ที่อิงตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์กับชุมชนที่อยู่ใกล้โรงงานให้เข้าใจ

 

องอาจ กิตติคุณชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) และอุปนายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป กล่าวว่า การส่งออกครึ่งปีหลังยังสดใส เพราะอาหารเป็นสินค้าจำเป็นตลาดจึงมีความต้องการโดยตลอด ประกอบกับเงินบาทอ่อนค่า ส่วนปัญหาการระบาดโควิด ต้องใช้การบริหารจัดการอย่างมากแม้จะมีต้นทุนที่สูงขึ้นแต่เพื่อให้แน่ใจว่าตลาดปลายทางจะมั่นใจสินค้าจากประเทศไทย

ในส่วนการจัดการด้านบุคลากร จะแยกคนงานเป็นแผนก เป็นกลุ่ม เป็นกะ ไม่ให้ติดต่อสัมพันธ์กัน เพื่อป้องกันกรณีเลวร้ายสุดหากมีการติดเชื้อจะไม่กระทบระบบโดยรวมและสามารถจัดการส่วนที่เป็นปัญหาได้เร็วและควบคุมได้

 

เราทำมาปีครึ่งแล้วตั้งแต่ระบาดรอบแรก  ไม่ต้องรอให้คนซื้อถามเราแจ้งไปเลยว่าเราทำอะไรบ้าง ให้มั่นใจได้ว่าสินค้าเรายังปลอดภัยดีอยู่เพราะสินค้าอาหารการกิน เหมือนสินค้าการแพทย์คือต้องสะอาดปลอดภัยเป็นสำคัญ

 

อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า การบริหารจัดการดังกล่าวสร้างความยุ่งยากการทำงานภายในในระดับหนึ่ง และเมื่อสถานการณ์ภายนอกค่อนข้างรุนแรงก็กระทบในเชิงการทำงาน การติดต่อประสานงาน การเดินเอกสารต่างๆ ล่าช้า และการจัดการในทุกขั้นตอนที่เพิ่มขึ้นก็ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นตามไปด้วยแต่มองว่าคุมกับการลงทุนเพราะความเชื่อมั่นของลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

 

สำหรับการส่งออกอาหารสำเร็จรูปปีนี้คาดว่าจะขยายตัว 5% มูลค่า 7,000 ล้านบาท ส่วนกลุ่มซันสวีท ปีนี้จะขยายตัว 10-15% มูลค่า 2,800 ล้านบาท