'นิพนธ์' สั่ง ปภ.-ผู้ว่าฯ 8 จังหวัดริมฝั่งโขง รับมือมวลน้ำขนาดใหญ่จากจีน กำชับพร้อมอพยพ ปชช.ทันที

'นิพนธ์' สั่ง ปภ.-ผู้ว่าฯ 8 จังหวัดริมฝั่งโขง รับมือมวลน้ำขนาดใหญ่จากจีน กำชับพร้อมอพยพ ปชช.ทันที

"นิพนธ์" สั่งกรม ปภ.-ผู้ว่าฯ 8 จังหวัดริมแม่น้ำโขง เตรียมรับมือมวลน้ำขนาดใหญ่จากจีน กำชับพร้อมอพยพ ปชช.ทันที

วันที่ 26 .. นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า จากที่มีรายงานจากสื่อต่างประเทศว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนเกิดเหตุเขื่อน 2 แห่งแตกในเมืองฮูหลุนเป้ยเอ่อร์ ในเขตปกครองตนเองมองโกเลียทางตอนเหนือของสาธารณรัฐประชาชนจีน ประกอบกับเกิดฝน 1,000 ปีตกหนักอย่างต่อเนื่องในช่วงสัปดาห์ที่ผ่าน ทำให้เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ในมณฑลเหอหนาน จนต้องมีประกาศเตือนเขื่อนอี้เหอถาน ส่วนเขื่อนอีกแห่งในเมืองลั่วหยาง มณฑลเหอหนาน อาจพังถล่มได้ตลอดเวลา ทำให้ประเทศทางตอนใต้ลงมา อาทิ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประเทศไทย ต้องเตรียมการรับมือและเฝ้าระวังสถานการณ์การระบายมวลน้ำใหญ่จากพื้นที่ตอนบนอย่างใกล้ชิด

นายนิพนธ์ กล่าวต่อว่า ในส่วนของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในขณะนี้ มีประกาศให้เขื่อนน้ำอูทำการปล่อยระบายน้ำ​ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และอีกแห่งที่เขื่อนไซยะบุรี ได้เร่งระบายน้ำมากขึ้น เพื่อรองรับมวลน้ำใหญ่จากสาธารณรัฐประชาชนจีน ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงจะเพิ่มขึ้นสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 1-2 สัปดาห์นี้

นายนิพนธ์ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ จากสถานการณ์ดังกล่าว ได้สั่งการไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) ผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่ริมแม่น้ำโขงทั้ง 8 จังหวัดได้แก่ .เชียงราย .เลย .หนองคาย .บึงกาฬ .นครพนม .มุกดาหาร.อำนาจเจริญ และจ.อุบลราชธานี เตรียมการรับมือและแจ้งเตือนประชาชน โดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำโขง ให้เฝ้าระวัง และเตรียมการอพยพทันทีหากเกิดความรุนแรง เนื่องจากปริมาณน้ำนั้นมีมวลขนาดใหญ่มาก และอาจต้องใช้ระยะเวลาหลายวันกว่าการระบายน้ำจะเข้าสู่ภาวะปกติ ประกอบกับสถานการณ์พายุดีเปรสชันเจิมปากาที่กำลังปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน และอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทย ทําให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนตกหนักบางพื้นที่ทําให้ เกิดลมกระโชกแรง น้ําไหลหลาก และดินสไลด์  เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง ประชาชนอาจได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยในช่วงฤดูฝน

"ในส่วนนี้ก็ได้สั่งการให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่ที่เสี่ยงได้รับผลกระทบและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยอย่างครอบคลุม  เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ภัย ติดตามสภาพอากาศสถานการณ์น้ำ บูรณาการร่วมกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเตรียมพร้อมอุปกรณ์ เครื่องจักรกล และยานพาหนะ กำหนดพื้นที่ปลอดภัย ศูนย์อพยพ ศูนย์พักพิงชั่วคราว ให้สอดคล้องกับมาตรการป้องกันโรคไวรัสโควิด-19 ของกระทรวงสาธารณสุข"นายนิพนธ์ ระบุ

นายนิพนธ์ กล่าวด้วยว่า ขณะเดียวกันตนยังได้มอบแนวทางในการบริหารจัดการน้ำเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพทั้งในเชิงป้องกันปัญหาอุทกภัยในพื้นที่และกักเก็บน้ำไว้ในฤดูแล้ง ปีหน้า โดยขอให้มีการประสานงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) และหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่นกรมชลประทาน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ หาแนวทางวางแผนร่วมกันโดย "สร้างที่ให้น้ำอยู่ และทพทางให้น้ำไหล" พร้อมกับสำรวจแหล่งกักเก็บน้ำในชุมชน หมู่บ้าน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำและเพิ่มพื้นที่รองรับน้ำ โดยเร่งขุดลอกเส้นทางน้ำ กำจัดผักตบชวาและวัชพืช ในแหล่งน้ำสาธารณะ ที่กีดขวางทางระบายน้ำไม่ให้ตื้นเขิน เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำและรองรับน้ำฝนที่มีปริมาณมาก เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากผลกระทบอุทกภัยและภัยแล้ง รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยของแหล่งกักเก็บน้ำแก่ประชาชนในพื้นที่ ซึ่งสถานการณ์โดยรวมยังคงต้องเฝ้าติดสถานการณ์พายุฯอย่างใกล้ชิด

อนึ่ง จากสถานการณ์พายุดีเปรสชั่นเจิมปากาที่มีอิทธิพลในขณะนี้ มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบแล้ว 8 จังหวัด ได้แก่แม่ฮ่องสอน เลยกาฬสินธุ์ ยโสธร ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ตราด ปัตตานี รวม 10 อำเภอ15 ตำบล 35 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 77 ครัวเรือน และไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต

162728427985