'พื้นที่ระบาด' โควิด-19 ติดเชื้อไม่ทราบต้นตอ 'สูงวัยเสียชีวิต' ไม่ได้ฉีดวัคซีน

'พื้นที่ระบาด' โควิด-19 ติดเชื้อไม่ทราบต้นตอ 'สูงวัยเสียชีวิต' ไม่ได้ฉีดวัคซีน

สธ. เผย ผู้เสียชีวิตจากโควิด 129 ราย มี 79 ราย ยังไม่ฉีดวัคซีน และในจำนวนนี้ 70% เป็นผู้สูงอายุ 'พื้นที่ระบาด' หนัก เสียชีวิต 65 ราย หาต้นต่อติดเชื้อไม่ได้

วันนี้ (25 ก.ค. 64) ที่กระทรวงสาธารณสุข “นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์” ผอ.กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค รายงานสถานการณ์โรคโควิด-19 โดยระบุว่า สถานการณ์การระบาดในวันนี้ พบผู้ป่วยใหม่ 15,335 ราย แบ่งเป็น เดินทางจากต่างประเทศ 19 ราย อยู่ในกทม. ปริมณฑล 6,069 ราย ชายแดนใต้ 805 ราย จังหวัดอื่นๆ 67 จังหวัด 7,801 ราย รายงานในเรือนจำ 641 ราย ผู้เสียชีวิต 129 ราย รวมสะสม 3,965 ราย เกิน 70% อยู่กทม. และปริมณฑล

162719611749

  • ผู้เสียชีวิต 79 รายยังไม่ได้ฉีดวัคซีน

สำหรับผู้เสียชีวิต 129 ราย เป็นชาย 70 ราย หญิง 59 ราย อายุระหว่าง 28-94 ปี เป็นชาวไทย 124 ราย เมียนมา 3 ราย จีน 1 ราย และญี่ปุ่น 1 รายปัจจัยเสี่ยงต่อความรุนแรงโรค ส่วนใหญ่ยังคงเป็นโรคประจำตัว ความดัน เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ฯลฯ รวมถึงพบหญิงตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์เสียชีวิต

การอาศัยในพื้นที่ระบาดหนัก เช่น กทม. ปริมณฑล ที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญ เพราะเราไม่ทราบว่าคนที่อยู่ใกล้เรา ติดเชื้อแล้วหรือยัง โดยผู้ติดเชื้อเสียชีวิต 65 คน ไม่สามารถตรวจค้นได้ว่าติดเชื้อจากใคร 

นอกจากนี้ พบว่า 79 ราย มีประวัติยังไม่ได้รับวัคซีน โดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไปกว่า 70% ดังนั้น หากไม่ได้รับวัคซีน มีโอกาสเสียชีวิต และติดเชื้อรุนแรง

162719611776

นพ.จักรรัฐ กล่าวต่อไปว่า สถานการณ์วันนี้ตัวเลขผู้เสียชีวิตเกินร้อยและติดเชื้อรายใหม่สูงมาก ภาพรวมมีการกระจายของผู้ติดเชื้อในส่วนต่างจังหวัดเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทั้งภาคอีสาน กลาง ตะวันออก ส่วนเหนือและใต้ มีการกระจายในบางจังหวัด และบางจังหวัดคงตัว ในส่วนของอีสาน กระจายมากในอีสานกลาง และ อีสานใต้ จากการรับผู้ป่วยกลับรักษาในภูมิลำเนา ขณะที่ปริมณฑล มีผู้ติดเชื้อเพิ่มอย่างต่อเนื่อง โดยในวันนี้พบผู้ติดเชื้อกระจาย 77 จังหวัด

  • องค์ประกอบสำคัญในการระบาด 

1. คนที่จับจ่ายใช้สอย ใกล้ชิดผู้ติดเชื้อไม่รู้ตัว

2. โรงงาน สถานประกอบการที่พบผู้ติดเชื้อ มีการสั่งปิดโรงงานทำให้คนงานกระจายออกไป

3. แคมป์คนงาน ชุมชน บางจังหวัด โดยเฉพาะ 4 จังหวัดภาคใต้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

  • สูงอายุฉีดครบ 2 เข็มเพียง 1.3%

ยอดการฉีดวัคซีนโควิด -19 วันที่ 28 – 24 ก.ค. 64 พบว่า ผู้สูงอายุเป้าหมาย 12,500,000 คน ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 จำนวน 2,504,362 คน คิดเป็น 20% และ ได้รับเข็มที่ 2 จำนวน 160,775 คน คิดเป็น 1.3% ขณะที่ผู้มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค เป้าหมาย 5,350,000 คน ฉีดเข็มที่ 1 จำนวน 1,301,699 คน คิดเป็น 24.3% เข็มที่ 2 จำนวน 238,038 คน คิดเป็น 4.4% เท่านั้น

162719611781

ปัจจุบัน มีการติดเชื้อค่อนข้างมากในโดยเฉพาะในพื้นที่ระบาด ทั้งนี้ โครงการรับกลับบ้าน หรือเดินทางกลับไปเอง พื้นที่ระบาดเป็นปัจจัยสำคัญมาก เพราะเราไม่รู้ว่ารอบข้างเราใครติดเชื้อไปแล้ว ดังนั้น การเร่งมาตรการป้องกันโรคที่สำคัญช่วงล็อกดาวน์ 14 วัน ได้แก่

1. การป้องกันตัวเอง โดย DMHTT จะเป็นการป้องกันตนเอง “เสมือนว่าคนรอบข้างติดเชื้อแล้ว” โดยฉพาะคนที่รู้จักและไม่รู้จัก เช่น ซื้อของตลาด ร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เก็ต โดยสารขนส่งสาธารณะ

2. ป้องกันการระบาดในโรงงาน สถานประกอบการ เมื่อติดเชื้อและเกิดการปิดโรงงาน ทำให้พนักงานกลับบ้าน เข้าชุมชน หางานใหม่ เป็นประเด็นสำคัญในการนำเชื้อแพร่ ขอความร่วมมือผู้ประกอบการ แรงงาน ผู้ว่าฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สื่อสารให้โรงงานและชุมชนรอบข้าง เข้าใจและปฏิบัติได้ ดังนี้

  • โรงงาน “ยังไม่พบผู้ติดเชื้อ” ให้ผู้ประกอบการ ศึกษาแนวทางการควบคุมโรคแบบ บับเบิ้ลแอนด์ซีล กับทางสาธารณสุข จังหวัดเตรียมความพร้อม เตียงสนาม ห้องแยกกัก และช่วยกันลดความเสี่ยงต่อการเติดเชื้อของพนักงาน

  • โรงงาน พบผู้ติดเชื้อแล้ว” เน้น “ไม่ปิดโรงงาน” และ “ป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ชุมชน” แยกกลุ่มเสี่ยงต่อการป่วยรุนแรง แยกกลุ่มที่ติดเชื้อแล้ว จัดหาเตียงสนาม ห้องแยกกัก จัดระบบควบคุมกำกับการเดินทาง การกินข้าว การพูดคุยกัน ให้ปลอดการติดเชื้อและแพร่เชื้อ ตรวจคัดกรอง

3. การป้องกันการแพร่เชื้อจากตลาด ตลาดนัด ได้แก่ “ผู้ค้า” หากมีอาการป่วย คนในบ้าน คนใกล้ชิดสงสัยติดเชื้อ ต้องงดขายของก่อน สวมหน้ากากตลอดแยกกินข้าว รีบไปพบแพทย์ รับการตรวจ Antigen Test Kit สำหรับ “แรงงานรับจ้างในตลาด” ผู้ประกอบการต้องจัดให้มีการขึ้นทะเบียน และคัดกรองอาการป่วยทุกวัน และ “ลูกค้า” หากมีอาการป่วย คนในบ้าน คนใกล้ชิด สงสัยติดเชื้อ ต้อง “งด” ไปซื้อของทุกกรณี อาจสั่งของผ่านออนไลน์แทนไปก่อน สวมหน้ากกาตลอด แยกกินข้าว รีบไปพบแพทย์ รับการตรวจ Antigen Test Kit

4. งด การออกจากบ้าน หากจำเป็นเพื่อซื้อหาอาหาร ยา ไปพบแพทย์ ไป รพ. ต้องป้องกันให้กับตัวเองและผู้อื่นด้วย

5. งด เดินทางข้ามจังหวัด หากจำเป็นต้องไป รพ. เน้นลงทะเบียน และต้องแจ้ง รพ. ปลายทาง ผู้รับผิดชอบในพื้นที่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. ในพื้นที่ทราบก่อนด้วย เพื่อสนับสนุนการกักตัวและป้องกันการแพร่โรค

6. ช่วยกันแนะนำ พาผู้สูงอายุ และผู้มีโรคเรื้อรัง หญิงตั้งครรภ์ เข้ารับการฉีดวัคซีน ทุกจังหวัดเพื่อลดความรุนแรงของโรคหากติดเชื้อ