ผันผวน ชวนเล่นรอบ (23 ก.ค.64)

ผันผวน ชวนเล่นรอบ (23 ก.ค.64)

ความกังวลยอดผู้ติดเชื้อ Covid-19 ในประเทศที่พุ่งทำสถิติใหม่ 1.45 หมื่นราย รวมถึงการติดเชื้อในต่างประเทศที่เร่งตัวขึ้นมาก จะกดดันภาวะตลาดให้ผันผวน

ตลาดหุ้นวานนี้

SET เพิ่มขึ้น 11 จุด (+0.75%) ปิดที่ 1,552.36 จุด มูลค่า 7 หมื่นลบ. ตามตลาดหุ้นต่างประเทศและมีแรงซื้อคืนหุ้นกลุ่มธนาคารหลังงบ 2Q21 ออกมาดีเกินคาด และวานนี้ SCB ยังระบุจะไม่เร่งตั้ง Provision ในครึ่งปีหลังตามที่ตลาดกังวล

แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้     

คาด SET แกว่งตัว 1,540 - 1,560 จุด  แม้จะได้แรงหนุนราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นเหนือ 71 US/Barrels หลังสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐลดลง อย่างไรก็ตามความกังวลยอดผู้ติดเชื้อ Covid-19 ในประเทศที่พุ่งทำสถิติใหม่ 1.45 หมื่นราย รวมถึงการติดเชื้อในต่างประเทศที่เร่งตัวขึ้นมากจะกดดันภาวะตลาดให้ผันผวน จึงควรเน้นกลุ่มหุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว เช่น กลุ่มส่งออก และ กลุ่มที่งบ 2Q21 เติบโต  

กลยุทธ์การลงทุน: Selective Buy

  • กลุ่มส่งออก HANA KCE  TU CPF ASIAN EPG อานิสงส์เงินบาทอ่อนค่า
  • หุ้นที่คาดว่างบ 2Q21 เติบโต BCH CHG BDMS HMPRO GLOBAL DOHOME BEM CKP CBG OSP ICHI GPSC BEC  GUNKUL JWD WICE SONIC NER

หุ้นแนะนำวันนี้

  • CHG (ปิด 4.04 ซื้อ/เป้า 4.50) คาดกำไรสุทธิ 2Q21 จะพุ่งขึ้นเป็น 425 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 69%qoq และ 175%yoy จากรายได้การตรวจคัดกรองเชื้อโควิดที่เพิ่มขึ้นและมีรายได้จากการให้บริการ Hopitel
  • JWD (ปิด 15.4 ซื้อ/เป้าสูงสุด IAA consensus 16.5) คาดกำไรสุทธิ 2Q21 โตต่อเนื่องตามดีมานในทุกธุรกิจที่เพิ่มขึ้นรับอานิสงส์ภาคการค้าโลกฟื้นตัวและรับกระแส WFH, คลังห้องเย็นใหม่รับรู้รายได้เต็มไตรมาส

บทวิเคราะห์วันนี้

AOT, SCB, SPALI, TWPC

ประเด็นสำคัญวันนี้

  • (+) ECB คงดอกเบี้ยและวงเงิน QE ตามเดิมและส่งสัญญาณคงดอกเบี้ยไปอีก 2 ปี: ECB มีมติคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 0%  และคงวงเงินในการซื้อพันธบัตรตามโครงการ Pandemic Emergency Purchase Programme (PEPP) ที่ระดับ 1.85 ล้านล้านยูโรไปจนถึงเดือน มี.ค. 65 และส่งสัญญาณจะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำไปอย่างน้อยอีก 2 ปี
  • (-) ผู้ติดเชื้อโควิด -19 ในไทยยังเร่งตัวขึ้นกดดันภาครัฐเพิ่มระดับควบคุม: ล่าสุดจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด -19 ของไทยเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 14,575 ราย สูงสุดเป็นประวัติการณ์ และมีผู้เสียชีวิต 114 ราย สะท้อนมาตรการที่ดำเนินการในปัจจุบันยังไม่เพียงพอ ทำให้มีโอกาสสูงที่ภาครัฐอาจจะออกมาตรการควบคุมที่เข้มงวดขึ้นเป็น Sentiment ลบและ Overhang ต่อตลาด
  • (+) ติดตามยอดส่งออกของไทยเดือน มิ.ย. คาด โตแรงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4: Bloomberg Consensus คาดขยายตัว 38%yoy เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 โดยมีแรงหนุนสำคัญมาจากการฟื้นตัวทาง ศก.ของประเทศคู่ค้า อาทิ จีนและสหรัฐ ภาคส่งออกที่ขยายตัวจะช่วยชดเชยลดผลกระทบจากโควิด 19 รอบ 3 และช่วยประคอง GDP ไม่ให้ติดลบ