สมาพันธ์ SME จี้รัฐขอพักหนี้ 6 เดือน

(ชมคลิปข่าวด้านล่าง) สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย-ภาคีพันธมิตรเครือข่ายผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย วอนรัฐยืดเวลาพักหนี้ทั้งต้น-ดอกเบี้ยจาก 2 เดือน เป็น 6 เดือน ลดดอกเบี้ย ผ่อนเกณฑ์ปล่อยกู้ซอฟต์โลนให้รายย่อยเข้าถึงแหล่งทุน

แสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์ SME ไทย ระบุ สถานการณ์การระบาดโควิด-19 ที่ยังไม่มีแนวโน้มที่จะลดน้อยลง ประกอบกับมาตรการต่างๆของภาครัฐเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโดยกําหนดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด พื้นที่ควบคุม และพื้นที่เฝ้าระวังสูงสุด ส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการ mSMEs โดยตรงเป็นวงกว้างทัวประเทศ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาหนี้สิน การเลิกจ้างพนักงาน การปิดกิจการ การฟ้องร้องดําเนินคดี การถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดของผู้ประกอบการ mSMEs สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และภาคีพันธมิตรเครือข่าย ทั้ง 24 องค์กร จึงมีมติให้เสนอมาตรการเพื่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อรัฐบาล ประกอบด้วย

1. มาตรการพักต้น พักดอก ตลอดระยะเวลา 6 เดือน และไม่คิดดอกเบี้ยตลอดระยะเวลาการ พักต้น สําหรับกลุ่มลูกหนี้ mSMEs เดิม ทั้งที่ได้รับผลกระทบทางตรงหรือทางอ้อม ไม่ให้เป็นหนี้เสียหรือ NPLs และยืดระยะเวลาการชําระออกไป ช่วยให้ต่อลมหายใจให้ผู้ประกอบการ mSMEs ให้ดําเนินกิจการต่อไป
ได้ และเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตต่อไป

2. มาตรการลดอัตราดอกเบี้ย เงินกู้สําหรับ mSMEs ที่มีสินเชื่ออยู่ในระบบสถาบันการเงิน เป็นลูกหนี้เดิมมีการผ่อนชําระดีไม่เป็น NPLs มีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่อปีสูงกว่า 5% ให้ลดลงมาคงที่ในอัตรา 4% เป็นระยะเวลา 2 ปี สําหรับ mSMEs ที่มีสินเชื่ออยู่กับแหล่งเงินกู้ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ( Non Bank ) เป็นลูกหนี้เดิมมีการผ่อนชําระดีไม่เป็น NPLs มีอัตราดอกเบี้ยและค่าบริการที่สูงมาก จึงขอเสนอให้ลดอัตราดอกเบี้ยและค่าบริการลดลงมากึ่งหนึ่ง จนครบอายุสัญญา

3.มาตรการสินเชื่อ Soft Loan สําหรับวงเงินกู้ไม่เกิน 1 ล้านบาท พิจารณากําหนดวงเงินให้กู้จากกระแสเงินสดสุทธิจากบัญชีเงินฝากธนาคาร ไม่นํางบการเงิน มาเป็นเกณฑ์ในการวิเคราะห์การให้สินเชื่อเป็นระยะเวลา 2 ปี

4. มาตรการยกเว้นตรวจสอบข้อมูลเครดิตหรือเครดิตบูโร ซึ่งในสถานการณ์นี้มีผลกระทบที่ไม่ดีต่อข้อมูลเครดิตของผู้ประกอบการ mSME อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งไม่ใช่ความผิดของผู้ประกอบการ ดังนั้น จึงขอเสนอให้สถาบันการเงินไม่นําข้อมูลเครดิตหรือเครดิตบูโร ในช่วงการแพร่ระบาดมาพิจารณาการให้สินเชื่อกับผู้ประกอบการ mSMEs เป็นระยะเวลา 2 ปี

5. มาตรการกองทุนพัฒนาวิสาหกิจ ในปัจจุบันได้มีการยกร่าง พระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาวิสาหกิจ พ.ศ. .... เนื่องจากที่ผ่านมา mSMEsจํานวนมากไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนในระบบได้ ทําให้เกิดหนี้นอกระบบเติบโตขึ้นอย่างมากมาย การที่มีกองทุน นี้เป็นการเปิดโอกาสให้ mSMEs สามารถสร้างแต้ม
ต่อให้ mSMEs มีต้นทุนทางการเงินที่ตํ่า แข่งขันได้มากขึ้น และมีระบบบ่มเพาะสร้างการเติบโตในอนาคต รวมทั้งทําให้ mSMEs เข้าสู่ระบบฐานภาษีเพิ่มขึ้น

6. กองทุนฟื้นฟูNPLs เพื่อการพัฒนา mSMEs ไทย กองทุนนี้จะช่วยให้ mSMEs ที่เป็น NPLs จากผลกระทบโควิด 19 และก่อนหน้านี้ ได้รับการดูแล แก้ไข ปรับปรุงหนี้อย่างเป็นระบบ และสามารถถอดบทเรียน บ่มเพาะให้ mSMEs เหล่านี้กลับสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างมีคุณภาพ และอยู่ในระบบฐานภาษีของรัฐ จึงขอให้ทางรัฐบาลเร่งดําเนินการยกร่างพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูNPLs เพื่อการพัฒนา mSMEs ไทย เป็นการด่วนเพื่อให้ทันต่อสภาวการณ์ปัจจุบัน