ผอ.ศบค. เน้นย้ำ ต้องไม่มีคน 'เสียชีวิตที่บ้าน' จากโควิด-19

ผอ.ศบค. เน้นย้ำ ต้องไม่มีคน 'เสียชีวิตที่บ้าน' จากโควิด-19

'ผอ.ศบค.' เน้นย้ำว่า จะต้องไม่มีคน 'เสียชีวิตที่บ้าน' จากโรคโควิด เร่งนำผู้ป่วยเข้าสู่ระบบ กทม. ส่งทีม 'CCRT' เคาะประตูบ้าน ตรวจ Antigen Test Kit ฉีดวัคซีน ให้ครอบคลุม

วันนี้ (21 ก.ค. 64) แพทย์หญิงอภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 โดยใจความหนึ่งระบุว่า ผอ.ศบค. ติดตามรับฟังข่าวสารข้อมูลและเน้นย้ำว่า จะต้องไม่มีคน 'เสียชีวิตที่บ้าน' จากโรคโควิด ดังนั้น เมื่อมีการเจ็บป่วยจะนำสู่ระบบให้เร็วที่สุด จึงมีการตรวจ Antigen Test Kit ให้ครอบคลุมที่สุด ช่วยลดปัญหาการเข้าถึง ขณะนี้ มีทั้ง รพ.รัฐเอกชน จุดตรวจ กทม. รถตรวจพระราชทาน แล็บเอกชน ประกันสังคม และศูนบริการสาธารณสุข กทม. 69 แห่ง โดยจุดไหนที่รับตรวจ ดูแล Home Isolation จะนำมารายงานให้รับทราบเป็นระยะ

  • ส่งทีม 'CCRT' ลงพื้นที่เชิงรุก

จากการลงพื้นที่ของทีม Comprehensive Covid-19 Response Team (CCRT) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร วันที่ 15-20 ก.ค. 64 จำนวน 138 ทีม ลงพื้นที่ 639 ชุมชน โดยการเดินเท้าเคาะประตูบ้าน พบว่า มีผู้ได้รับบริการทั้งหมด 24,382 ราย มีผู้ได้รับการตรวจ Antigen Test Kit 1,874 ราย พบเชื้อ 176 ราย ไม่พบเชื้อ 1,698 ราย ฉีดวัคซีน 17,523 ราย

162685384174

162685384189

 

  • ตั้งเป้า จัดสถานที่กักตัวในชุมชน 50 เขต

โฆษก ศบค. กล่าวต่อไปว่า วันนี้ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เสนอความคืบหน้าการจัดสรรเตียง ซึ่งตอนนี้ศักยภาพเตียงมีจำกัด อย่างไรก็ตาม ต้องเน้นย้ำว่า การตอบโจทย์จะไปอยู่ที่การแยกกักที่บ้านและชุมชน ซึ่งการแยกกักในชุมชนตอนนี้ กทม. รายงานว่ามีการเพิ่มจำนวนต่อเนื่องโดยนโยบาย ผอ.ศบค. จะต้อมีการจัด Community Isolation อย่างน้อย 50 เขต เขตละ 1 แห่ง

และหากเป็นไปได้บางเขตอาจะทำได้ 2 แห่ง หากแต่ละศูนย์รับได้ 100 เตียง ก็จะรับได้รวมกว่า 5,000 เตียง หากทำได้เขตละ 2 ศูนย์ ก็จะได้ 10,000 เตียง  อย่างไรก็ตาม รองอธิบดีกรมการแพทย์ เน้นย้ำว่า การจัดตั้งศูนย์แยกกักในชุมชน สำหรับผู้ติดเชื้อระดับสีเขียวไม่มีอาการหรืออาการเล็กน้อยเท่านั้น

ขณะเดียวกัน กทม. มีจัดตั้งศูนย์พักคอย 49 แห่ง ในพื้นที่ 47 เขต เปิดดำเนินการแล้ว 19 แห่ง รองรับได้ 5,365 เตียง ตั้งเป้า 1 เขต 1 ศูนย์พักคอย และในส่วนของนิมิบุตร ที่เมื่อก่อนมีเจตนารมณ์ให้เป็นศูนย์พักคอย แต่ปัจจุบัน ด้วยความที่จำนวนผู้ติดเชื้อค่อนข้างสูง ตอนนี้นิมิบุตร จึงรับผู้ป่วยสีเหลืองและพยายามส่งต่อให้ปลอดภัย

           

 

  • เพิ่มหญิงตั้งครรภ์เป็นกลุ่มเสี่ยง ฉีดวัคซีน

โฆษก ศบค. กล่าวต่อไปว่า ที่ประชุม มีการพูดถึงการให้วัคซีน กรมควบคุมโรค มีข้อสรุปว่า เพิ่มหญิงตั้งครรภ์ ให้ฉีดวัคซีนด้วยแต่ต้องหลังจากตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์ และมีข้อแนะนำว่า หญิงที่ไม่แน่ว่าตั้งครรภ์ ขอให้ตรวจก่อน

ขณะที่ การให้วัคซีนกับต่างชาติ ผู้ที่อาศัยในแผ่นดินไทย กลุ่มต่างชาติอาจเป็นคู่สมรส หรือทำอาชีพในไทย หรือทำงานในส่วนของบริษัทต่างๆ ที่อยู่กับคนไทย มีถิ่นพำนักในไทย จะมีโอกาสเข้าไปลงทะเบียนการฉีดวัคซีน เบื้องต้นอาจให้บริการที่ เอสซีจี ขอให้ติดตามรายละเอียดต่อไป ส่วนนักเรียนไทย ที่มีกำหนดเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศ ที่ประชุมมีการหารือและจะมานำเรียนต่อไป