อ่อนตัว (20 ก.ค.64)

อ่อนตัว (20 ก.ค.64)

เก็งกำไร WIN RPH FN

คาดการณ์ตลาดหุ้นไทยวันนี้

คาดดัชนีฯ อ่อนตัว แนวรับ 1545 / 1535 จุด แนวต้าน 1566 / 1570 จุด แนะนำ เก็งกำไร WIN RPH FN ทางเทคนิคดัชนีฯ อยู่ในแนวโน้มขาลง โดยมีแนวรับลุ้นรีบาวด์ที่ 1535 / 1515 จุด ปัจจัยลบ คือ 1. ตัวเลขผู้ติดเชื้อ COVID-19 ทั่วโลกที่เร่งขึ้น จากการระบาดระลอกใหม่ ส่งผลให้ตลาดการเงินกลับมาสู่ภาวะปิดรับความเสี่ยง (Risk-off) โดยวานนี้ตลาดหุ้นโลกร่วงแรง นำโดยกลุ่ม Re-Opening Theme เพื่อหันไปถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยทดแทน (ซื้อ
พันธบัตรสหรัฐฯ และเงินสกุล USD) 2. ผลสำรวจผจก.กองทุนต่างชาติเดือน ก.ค. โดย Bank of America พบว่ามีมุมมองเชิงลบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจและผลกำไรบจ.ส่งผลต่อการหันไปถือครองเงินสด (Cash) เพิ่มขึ้น และปรับพอร์ตลงทุน Equities (ลดน้ำหนัก EM แต่เพิ่มสหรัฐฯ และยุโรป และขายกลุ่ม Cyclical (Bank Energy) เพื่อไปลงทุนกลุ่ม High Growth และเทคโนโลยี ทดแทน 3. มาตรการเข้มข้นที่กทม. ประกาศออกมาเพิ่มเติม โดยปิดทำการห้างสรรพสินค้า และจำกัดเวลาร้านค้าปลีก ส่งผลให้เกิดแรงกดดันเชิงลบต่อหุ้นที่รายได้พึ่งพิงการบริโภคภายในประเทศ

ประเด็นอื่นๆ ที่ต้องติดตาม

- จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกที่พุ่งขึ้นแรง จากการระบาดของไวรัสกลายพันธุ์เดลตา เพิ่มความเสี่ยงต่อทางการออกมาตรการควบคุมที่รุนแรงขึ้น (ล่าสุด เวียดนามและไทยออกมาตรการล็อกดาวน์พื้นที่เสี่ยงเป็นเวลา 2 สัปดาห์)

- กลุ่มธนาคารไทยทยอยประกาศงบวันนี้ จับตา TTB ส่วนพรุ่งนี้ BAY BBL KBANK KTB SCB CIMBT คาดดีขึ้น YoY และลดลง QoQ (วานนี้ KKP รายงานกำไรต่ำกว่าคาดจากการตั้งสำรองหนี้เสียสูงขึ้น)

- บจ.สหรัฐฯ ทยอยประกาศงบ จับตา Netflix, Travelers, United Airlines คาดออกมาดีกว่าคาด จากการเริ่มทยอยเปิดประเทศ

- จับตาสัญญาณดอกเบี้ยในจีน โดยจะมี Positive Surprise หากทางการจีนปรับลดดอกเบี้ย China Loan Prime Rate 1 ปี / 5 ปี ลงจากปัจจุบันที่ 3.85% / 4.65%

Global Market Summary: วันทำการที่ผ่านมา

- ตลาดหุ้นไทยปิดร่วงแรง: ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงตั้งแต่เปิดตลาด และเคลื่อนไหว Sideways Down กรอบ 1551.79-1563.88 จุด ก่อนมาปิดตลาดที่ 1556.01 จุด -18.36 จุด วอลุ่มซื้อขาย 6.7 หมื่นล้านบาท นำลงโดยกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอกนิกส์ -2.62% เหล็ก -2.61% ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ -2.59% เงินทุนและหลักทรัพย์ -2.17% บริการรับเหมาก่อสร้าง -2.02% หุ้นบวก >4% 7UP DTAC APURE INSET INET JTS UPA DIMET KKC RWI RPH WIN ARIN FN NDR TMI WIIK หุ้นลบ >4% RCL KTC IVL PTG FSS KASET AEC ERW UMI

- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และยุโรปดิ่งแรง: การวิตกต่อการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของ COVID-19 สายพันธุ์เดลตา อาจชะลอการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผลกระทบต่อแรงขายตลาดหุ้นโลก โดยตลาดหุ้นสหรัฐฯ DJ -2.09% ร่วงลงแรงสุดรอบ 9 เดือน (-725.81 จุด) Nasdaq -1.06% S&P500 -1.59% หุ้นทุกกลุ่มอุตสาหกรรมปรับร่วงลง นำโดยหุ้นกลุ่มพลังงาน -3.59% และหุ้นอิงการเปิดประเทศ เช่น กลุ่มสายการบินและกลุ่มธุรกิจเรือสำราญ หลังจำนวนผู้ติดเชื้อเฉลี่ย 7 วัน เพิ่มขึ้นเป็น 3 หมื่นรายสูงกว่ามากเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยเดือน มิ.ย. ที่ 1.1 หมื่นราย ส่วนตลาดหุ้นยุโรปร่วงแรงสุดรอบ 9 เดือน DAX -2.62% CAC40 -2.54% FTSE100 -2.34% นำลงโดยหุ้นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ ธนาคาร และกลุ่มการเดินทาง

- น้ำมันดิบและทองคำปิดร่วง: ราคาน้ำมันดิบปิดต่ำสุดตั้งแต่เดือน พ.ค. 2021 WTI -USD5.39 -7.5% ปิดที่ USD66.42/บาร์เรล Brent -USD4.97 -6.8% ปิดที่ USD68.62/บาร์เรล รับข่าวกลุ่มโอเปคและพันธมิตรมีมติเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันเดือนละ 4 แสนบาร์เรลต่อวัน ช่วงเดือน ส.ค. - ธ.ค. ปีนี้ และการแพร่ระบาดของ COVID-19 อาจส่งผลกระทบต่อกิจกรรมเศรษฐกิจและความต้องการใช้น้ำมันโลกลดลง ขณะที่ทองร่วงต่อ -USD5.80 ปิด USD1,809.20/ออนซ์ เนื่องจากค่าเงิน USD แข็งค่า +0.21% แตะ 92.8856

ประเด็นสำคัญ

- ผลสำรวจ ผจก.กองทุนต่างชาติเดือน ก.ค.: จำนวน 239 ราย NAV USD742bn โดย Bofam พบว่ามีมุมมองเชิงบวกที่ลดลงต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลกและผลกำไรบจ. ส่งผลต่อการปรับลดน้ำหนักลงทุนหุ้นกลุ่ม Cyclical, Value และหันไปเพิ่มกลุ่ม Technology, Growth ทดแทน(เดือนที่ผ่านมา หุ้นกลุ่ม Cyclical ให้ผลตอบแทนแย่กว่าหุ้นกลุ่ม Growth Stocks)

- New Zealand: ธนาคารกลาง Reserve Bank of New Zealand ประกาศยุติการทำ QE ในเดือน ก.ค. หลังแนวโน้มการจ้างงานเข้าสู่ระดับเต็มศักยภาพ และ Business Sentiment ที่ฟื้นตัวแข็งแกร่ง

-/+ KKP (IAA Consensus TP68.81 บาท): ประกาศงบ 2Q21 ต่ำกว่าคาด -7.4% เป็นผลจากการตั้งสำรองหนี้เสียสูงขึ้น แต่กำไรธุรกิจปกติดีขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มอิงธุรกิจตลาดทุน จุดเด่น คือ การจ่ายปันผลต่อเนื่องด้วยยิลด์ 4-6%

- เศรษฐกิจ: หอการค้าไทยประเมินความเสียหายเบื้องต้น คาดว่าจะเพิ่มจากเดิมที่ประมาณไว้ 2,000-3,000 ล้านบาทต่อวัน เป็นวันละ 3,000-4,000 ล้านบาทต่อวัน ถ้าคำนวณผลกระทบ 1 เดือน ก็จะประมาณ 90,000-120,000 ล้านบาท เพิ่มเติมจากผลกระทบเดิม

กลยุทธ์การลงทุน แนะนำ Trading Buy (โดยมีจุดขายตัดขาดทุน 3%)

หุ้นแนะนำรายสัปดาห์: SYNEX IMH TM

หุ้นแนะนำเก็งกำไร: WIN RPH FN

Derivatives: แนะเปิด Short S50U21 เก็งกำไร หลัง 10:30 น. (ติดตามรายละเอียดเพิ่มใน KTZ-D Report)