เปิด วิชั่น ‘ชไนเดอร์ อิเล็คทริค’ ‘โลกพลังงานใหม่’ แห่งยุคดิจิทัล

เปิด วิชั่น ‘ชไนเดอร์ อิเล็คทริค’ ‘โลกพลังงานใหม่’ แห่งยุคดิจิทัล

เป็นที่น่าจับตามองว่า “ทิศทางของโลกพลังงานในอนาคต” จะเป็นอย่างไร เมื่อมีการรวมกันของ “ดิจิทัล + ไฟฟ้า” ภายใต้โจทย์ใหญ่ ลดใช้พลังงาน และสร้างความยั่งยืนไปพร้อมกัน

ก้าวสู่ ‘โลกไฟฟ้าใหม่’

สำหรับ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เป็นองค์กรระดับโลกด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นในการบริหารจัดการพลังงานและระบบออโตเมชั่น มีพันธกิจสำคัญในการช่วยภาครัฐและเอกชนลดการใช้พลังงาน ด้วยสถาปัตยกรรมและแพลตฟอร์มระบบเปิด “EcoStruxure” และการทำงานร่วมกับพันธมิตรที่แข็งแกร่งที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรม

พร้อมนำศักยภาพเทคโนโลยีไอโอทีมายกระดับการดำเนินงานต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ สร้างความยั่งยืน ยืดหยุ่น ปัจจุบันชไนเดอร์ได้คิดค้นเทคโนโลยีสำหรับโลกไฟฟ้าใหม่ ซึ่งเป็นโลกที่รวมไฟฟ้าเข้ากับระบบอัตโนมัติในรูปแบบดิจิทัล ทำให้การใช้พลังงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดการสิ้นเปลือง และควบคุมปริมาณความต้องการ

หลังจากนี้ มีแผนขับเคลื่อนโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับโลกพลังงานใหม่ออกมาอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นถึงความเป็นไปได้ในการพัฒนา โดยมีดิจิทัลเป็นตัวจักรขับเคลื่อนที่สำคัญ

เดอลอร์มบอกว่า โอกาสทางการตลาดในเอเชียแปซิฟิกมีอยู่สูงมาก เบื้องต้นงานหลักๆ จะเป็นเรื่องของการออกแบบและพัฒนาเครื่องมือทางดิจิทัลที่จะเข้ามาช่วยยกระดับการบริหารจัดการพลังงาน มีบริการ “Simulation tools” ที่ช่วยจำลองความเป็นไปได้ในมิติต่างๆ นอกจากโจทย์ด้านศักยภาพ ให้ความสำคัญกับการสร้างมูลค่าเพิ่มที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนในอนาคตด้วย

’ไทย’ ประเทศผู้นำระดับอาเซียน

สเตฟาน นูสส์ ประธานกลุ่มคลัสเตอร์ ดูแลประเทศไทย ลาว และเมียนมา ชไนเดอร์ อิเล็คทริค กล่าวเสริมว่า แม้ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศไทยจะมีการชะลอ ทว่าธุรกิจองค์กรหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านความยั่งยืน ภายใต้แผนดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นที่เป็นรูปธรรม แม้โควิดจะส่งผลกระทบต่อแผนงานบางส่วน แต่หลายองค์กรยังเดินหน้าจัดทำโครงการต้นแบบและมีความคิดริเริ่มที่มุ่งไปทางดิจิทัลแบบเต็มตัว

สำหรับไทย นับเป็นประเทศผู้นำที่มีความตื่นตัวอย่างมากและเดินหน้าไปได้เร็ว ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นรองเพียงสิงคโปร์เท่านั้น กล่าวได้ว่าขณะนี้ การรวมกันของระบบไฟฟ้าและเทคโนโลยีดิจิทัลได้เกิดขึ้นแล้วในประเทศไทย

ทั้งนี้ สอดคล้องไปกับนโยบายของภาครัฐที่มุ่งใช้พลังงานหมุนเวียนให้ได้ 40% ของพลังงานรวมภายในปี 2030 จำนวน 60 กิกะวัตต์ พร้อมสร้างความสมดุลย์ในระบบพลังงานรวม เช่น พลังงานน้ำ แสงอาทิตย์ และพลังงานลม รวมถึงการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าและโครงสร้างพื้นฐานด้านการชาร์จกับรถยนต์มากกว่า 1 ล้านคัน

นอกจากนี้ แผนอนุรักษ์พลังงานระบุว่าภายในปีเดียวกันจะลดการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย 20% มีการริเริ่มโครงการนำร่องไมโครกริดและระบบกริดดิจิทัล การปรับใช้ 5G ซึ่งไทยเป็นพื้นที่อันดับหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สามารถติดตั้งโครงข่าย 5G ได้ครอบคลุมพื้นที่มากที่สุด

ขณะที่ การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ครอบคลุม 5 อุตสาหกรรมแห่งอนาคต ได้แก่ อุตสาหกรรมดิจิทัล หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ โลจิสติกส์ เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ การแพทย์ครบวงจร มีการขับเคลื่อนโครงการสมาร์ทซิตี้โดย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า), การลงทุนด้านไอทีเพื่อรองรับบิ๊กดาต้า เอไอ การลงทุนด้านดาต้าเซ็นเตอร์

ด้านผู้ใช้งานนับว่าก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ด้วยการเกิดขึ้นของอุตสาหกรรม 4.0 สมาร์ท ดิสทริค โครงการคมนาคมต่างๆ และโครงการดาต้าเซ็นเตอร์ ประเมินขณะนี้องค์กรเอกชนรายใหญ่ในประเทศได้เริ่มดำเนินการแล้ว ความท้าทายคือการสนับสนุนให้เอสเอ็มอีเติบโตไปด้วยกัน

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ประเทศไทย วางจุดยืนเป็นที่ปรึกษาที่เชื่อถือได้ด้านโซลูชั่นดิจิทัลสำหรับบริหารจัดการพลังงานและระบบออโตเมชั่นที่ให้ความยั่งยืนและประสิทธิภาพ