ค้นข้อเท็จจริงที่มา 'วัคซีนแอสตร้า' 3 ล้านโดส-10ล้านโดส

ค้นข้อเท็จจริงที่มา 'วัคซีนแอสตร้า' 3 ล้านโดส-10ล้านโดส

สธ.ยกไทม์ไลน์ แจงละเอียดกรณีจดหมายแอสตร้าฯ ระบุตัวเลข ย้ำกรมควบคุมโรคทำหนังสือทางการแจ้งบริษัทในไทยแล้วช่วง 24 เม.ย.มีศักยภาพฉีดได้ 10 ล้านโดส  เผยแอสตร้าฯไม่เคยระบุส่งมอบให้ไทย 61 ล้านโดสถึง พ.ค.65 

        จากกรณีที่มีการแผยแพร่เอกสารของบริษัทแอสตร้าเซนเนก้าส่งถึงนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(รมว.สธ.) โดยมีเนื้อหาส่วนหนึ่งระบุว่ากระทรวงสาธารณสุข(สธ.)ได้แจ้งบริษัทเมื่อปี 2563ว่ามีความต้องการใช้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเดือนละ 3 ล้านโดสและยังระบุด้วยว่าบริษัทแอสตร้าฯได้เคยแนะนำให้ประเทศไทย เข้าร่วมโครงการโคแวกซ์นั้น

     ล่าสุด เมื่อเวลา 11.00 น.วันที่ 18 ก.ค.2564  นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.) ตอบข้อซักถามกรณีในจดหมายของบริษัทแอสตร้าเซนเนก้าว่า จดหมายนั้นคงหมายถึงจดหมายถึงรองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข  ในเนื้อหาที่อ่านครบถ้วนในรายละเอียดจะเป็นหนังสือที่บริษัท ขอบคุณรองนายกฯและรมว.สาธารณสุข ที่สนับสนุนให้ประทศไทยเป็นฐานการผลิตวัคซีนของบริษัทแอสตร้าฯ ทำให้สามารถผลิตวัคซีนแอสตร้าฯขึ้นในภูมิภาคอาเซียนและประเทศอื่นๆนอกอาเซียน เช่น มัลดีฟ และไต้หวัน รวมมีประเทศที่ส่งออกวัคซีนออกไปรวมไทยด้วย  8 ประเทศ รวมทั้ง รายงานด้วยว่าสิ่งที่ทำมามีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง เช่น การส่งวัคซีนให้ประเทศไทยตั้งแต่ต้น ภาพรวมของสัญญากำหนดการส่งวัคซีนที่มีการเจาจรและทำข้อตกลงคือจะส่งมอบได้ในโรงงานที่ผลิตในประเทสไทย คือ มิ.ย. 2564 แต่ได้มีการหาวัคซีนล่วงหน้าให้ประเทศไทยตั้งแต่ก.พ.เป็นต้นมา

     ในหนังสือฉบับนั้นยังพูดถึงเรื่องจำนวนวัคซีนที่มีการสั่งจอง ซึ่งประเทศไทยมีการสั่งจองวัคซรีนแอสตร้าฯมากที่สุดในภูมิภาคอาเซียน คือ 61 ล้านโดสในจำนวน 8 ประเทศ คิดเป็นจำนวน 1 ใน 3 ของวัคซีนที่มีการจองวัคซีนแอสตร้าฯในอาเซียน ซึ่งบริษัทยืนยันว่าอย่างน้อยจะส่งให้ประเทศไทยประมาณ 1 ใน 3 ของกำลังการผลิตและจะส่งมอบให้ครบถ้วนตามสัญญา

     อย่างไรก็ตาม ถ้าสังเกตดูตอนทำสัญญาที่มีการจองลงนามเมื่อ 27 พ.ย. 2563 ตอนนั้นการผลิตยังไม่ได้แม้แต่ขวดเดียว เพราะฉะนั้น การทำสัญญาจองล่วงหน้าเป็นไปไม่ได้ที่จะระบุว่าเดือนไหนจะส่งวัคซีนจำนวนมากน้อยเท่าไหร่ หรือเมื่อไหร่ แต่สิ่งที่ในสัญญาจะระบุไว้ คือ การส่งแต่ละครั้งจะมีการเจรจาแจ้งเป็นรายเดือนว่าแต่ละเดือนต้องการเท่าไหร่

      ซึ่งกรมควบคุมโรคได้มีหนังสือแจ้งบริษัทแอสตร้าฯไปเมื่อ 24 เม.ย. 2564 เพราะกำหนดการที่วัคซีนจะผลิตเสร็จและกระจายออกไปคือต้องมิ.ย. 2564 ได้มีการแจ้งล่วงหน้าประมาณ 1 เดือนทุกเดือน  โดยในหนังสือระบุว่าต้องการวัคซีนเดือนมิ.ย. 6 ล้านโดส ก.ค.-พ.ย. เดือนละ 10 ล้านโดสและธ.ค. 5 ล้านโดส ครบ 61 ล้านโดส เป็นหนังสือทำถึงบริษัทว่าต้องการวัคซีนเท่าไหร่ แต่ในการส่งมอบขึ้นกับกำลังการผลิตว่าได้มากน้อยแค่ไหนและจัดส่งให้ไทย เพราะฉะนั้นสิ่งที่ขอไปไม่ได้แปลว่าจะได้ 100 % ตามที่ขอ การส่งมอบจะต้องเป็นการเจรจาส่งมอบทั้ง2 ฝ่าย

    

ที่มาของจดหมายระบุ 3 ล้านโดส

ต่อข้อถามในหนังสือบริษัทแอสตร้าฯบอกว่าจะจัดส่งวัคซีนให้ไทย 3 ล้านโดส นพ.โอภาส กล่าวว่า ที่ระบุในหนังสืออ้างอิงการประชุมไม่เป็นทางการเมื่อวันที่ 7 ก.ย. 2563  ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ในเดือนก.ย. 2563 มีการอสบถามว่าความสามารถการฉีดวัคซีนของประเทศไทยเป็นเท่าไหร่ ซึ่งขณะนั้นข้อมูลมีคือฉีดได้เดือนละ 3 ล้านโดส แต่จริงแล้วในกรมควบคุมโรคไม่ได้บอกทางการว่าฉีดได้แค่ 3 ล้านโดส และที่ผ่านมามีตัวเลขประมาณการอย่างที่ได้ทำหนังสือถึงบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย)ว่า ศักยภาพขีดความสามารถฉีดได้ถึงเดือนละ 10 ล้านโดสถ้ามีวัคซีนเพียงพอ เพราะฉะนั้นข้อมูลที่บอกว่าบริษัทแอสตร้าฯจะจัดส่งข้อมูลให้ประเทศไทยเท่าไหร่ มี 2 ส่วน คือ ความต้องการของประเทศไทยและกำลังการผลิตของบริษัทมาเชื่อมต่อและส่งวัคซีนจริง

       ถามต่อว่า ก่อนทำสัญญาแอสตร้าฯระบุหรือไม่ว่าจะส่งให้ประเทศไทยและส่งต่างประเทศเท่าไหร่ นพ.โอภาส กล่าวว่า ในชุดสัญญา 3 ฝ่าย คือ บริษัทแอสตร้าฯ กรมควบคุมโรคและสถาบันวัคซีนแห่งชาติ  เป็นการจองวัคซีนล่วงหน้าจะระบุไม่ได้ว่าจะผลิตได้เท่าไหร่ อย่างไร เพราะฉะนั้นการจะผลิตและส่งมอบจะต้องเจรจาเป็นรายเดือน ส่วนที่จะส่งออกต่างประเทศไทยเท่าไหร่ ไม่ได้แจ้งประเทศไทย ว่าจะส่งออกต่างประเทสเท่าไหร่ แต่สัญญาระบุว่าถ้าจะต้องส่งออกไปต่างประเทศขอให้ประเทศไทยสนับสนุนในการส่งออกไปต่างประเทศ ไม่ขัดขวางการส่งออกโดยไม่สมควร

162658883295

 ก.ค.แอสตร้าฯส่งแล้วกว่า 2 ล้านโดส

   นพ.โอภาส กล่าวอีกว่า แอสตร้าฯ ส่งมอบวัคซีนเรื่อยๆ บางสัปดาห์ก็ส่ง 2 ครั้ง  สรุปตัวเลขล่าสุดในเดือน ก.ค.มีการส่งมอบแล้ว 3 รอบ รวม 1,651,100 โดส  ภาพรวมตั้งแต่ก.พ.เป็นต้นมาประเทศไทยได้รับวัคซีนแอสตร้ามาแล้ว  8,193,500 โดส รวมที่ญี่ปุ่นบริจาคด้วย

บริษัทแอสตร้าฯ ไม่เคยระบุว่าส่งถึงพ.ค.2565

     ต่อข้อถามก่อนหน้านี้มีข่าวว่าจะจัดส่งให้ถึงพ.ค. 2565 ข้อเท็จจริงแปลว่าอะไร นพ.โอภาส กล่าวว่า ข้อเท็จจริงคือ ขณะนี้การผลิตของแอสตร้าฯในโรงงานประเทศไทย พยายามผลิตให้ได้ประสิทธิภาพมากขึ้น กำลังผลิตเท่าที่คำนวณ 15 ล้านโดสต่อเดือน ถ้าคิด 1 ใน 3  ก็ส่งมอบให้ได้ 5 ล้านโดส เป็นอย่างต่ำ แต่อย่างไรก็ตามการผลิตขึ้นกับหลายปัจจัยรวมทั้งชีววัตถุ จะให้บริษัทชัดๆว่าเท่าไหร่ คงยากจะรับปากได้ครบถ้วน 100 % อย่างไรก็ตาม ในสัญญากับความต้องการของประเทศไทยยังยืนยันว่า 61 ล้านโดสถ้าเป็นไปได้อย่างจะให้ได้ในเดือนธ.ค. 2564 แต่ต้องมีการเจรจากันเป็นรายเดือน ส่วนก่อนหน้าที่มีข่าวว่าจะส่งให้ถึงพ.ค.2565 ก็ต้องมีการเจรจากันต่อไป แต่บริษัทแอสตร้าฯ ไม่เคยระบุว่าส่งให้ประเทศไทยถึงพ.ค.2565 คงเป็นแค่การประมาณการเอา
     ส่วนคำถามที่ว่าบริษัทแอสตร้าฯได้เคยแนะนำให้ประเทศไทยเข้าร่วมโครงการโคแวกซ์ นพ.โอภาส กล่าวว่า  เรื่องนี้มีคณะกรรมการระดับกระทรวงพิจารณา จะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาตอบในคราวหน้า

     

ไทม์ไลน์การจัดหาวัคซีนแอสตร้าฯ
นพ.โอภาส กล่าวด้วยว่า สำหรับไทม์ไลน์การจัดหาวัคซีนแอสตร้าฯ นั้น เริ่มตั้งแต่พบโควิด-19 ในจีน โดยไทยพบนักท่องเที่ยวชาวจีนจากอู่ฮั่นในเดือน ม.ค.2563 ต่อมาการระบาดเพิ่มขึ้นจึงมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในวันที่ 25 มี.ค.2563  จากนั้นคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติเห็นชอบแผน blueprint การเข้าถึงวัคซีนในวันที่ 22 เม.ย.63 เห็นได้ว่าเราดำเนินการเรื่องนี้มาปีก่อน ตั้งแต่การระบาดแรกๆตอนเม.ย.2563 ที่ผ่านมา   ต่อมาวันที่ 24 ส.ค. กระทรวงสาธารณสุขลงนามสนับสนุนถ่ายทอดเทคโนโลยีจากบริษัท AZ ให้ผู้ผลิตในประเทศไทย ทำให้เรามีแหล่งผลิตในประเทศไทย  จากนั้นวันที่ 23 ก.ย. คณะกรรมการการขับเคลื่อนการจัดหาวัคซีนฯ เห็นชอบแผนจัดหาวัคซีนเบื้องต้น

162658880518

วันที่ 9 ต.ค.2563 รมว.สธ.ได้ออกประกาศเรื่องการจัดหาวัคซีนในกรณีมีเหตุฉุกเฉินฯ  วันที่ 17 พ.ย.2563 ครม.เห็นชอบการจองวัคซีนล่วงหน้า(AZ)  26 ล้านโดส  จากนั้น 27 พ.ย. 2563 ลงนามในสัญญา 3 ฝ่าย ที่ทำเนียบรัฐบาล คือ แอสตร้าฯ ประเทศไทย  สถาบันวัคซีนแห่งชาติ และกรมควบคุมโรค   และวันที่ 5 ม.ค. 2564 ครม.เห็นชอบสั่งเพิ่มอีก 35 ล้านโดส รวมเป็น 61 ล้านโดส  กระทั่งวันที่  20 ม.ค. อย.ขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิดของแอสตร้าฯ  ใช้ได้ในภาวะฉุกเฉิน วันที่ 23 ก.พ. ครม.เห็นชอบแก้ไขสัญญาจองซื้อวัคซีนจากเดิม 26 ล้านโดส เพิ่ม 35 ล้านโดส เป็น 61 ล้านโดส ต่อมาวันที่ 2 มี.ค. ครม.เห็นชอบกรอบวงเงิน ซึ่งกรมควบคุมโรคก็มีการเจรจาแก้ไขสัญญาเพิ่มเติมจาก 26 ล้านโดส เพิ่มอีก 35 ล้านโดส โดยประสานกับแอสตร้าฯประเทศไทย จากนั้นวันที่ 25 มี.ค.2564 ส่งสัญญาที่ลงนามโดยกรมควบคุมโรค ให้บริษัทแอสตร้าฯ ประเทศไทย    

“สังเกตได้ว่าเวลาเราส่งสัญญาไป ทางแอสตร้าฯลงนามสัญญากลับมาจะใช้เวลา 2 เดือน ซึ่ง คร.ได้รับสัญญาวันที่ 4 พ.ค. เห็นได้ว่าเรามีการดำเนินการต่อเนื่อง และใช้เวลาพอสมควร ต่อมาวันที่ 1 มิ.ย.2564 ครม.เห็นชอบให้ดำเนินการจัดหาวัคซีนแอสตร้าฯ กรอบ 61 ล้านโดสตั้งแต่มิ.ย.-ธ.ค.64”นพ.โอภาสกล่าว

162659546417

  162659547956

  162659549530