การค้า“เมียนมา”โตเด่น แนะบริหารการเงินอย่างเข้าใจ

การค้า“เมียนมา”โตเด่น  แนะบริหารการเงินอย่างเข้าใจ

สถานการณ์การค้าชายแดนซึ่งเป็นภาคส่วนหนึ่งของการค้าระหว่างประเทศที่กำลังเป็นเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญในช่วงเวลาแห่งความยากลำบากจากภาวะโควิด-19 ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้

กีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่าการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา มีมูลค่าสูงถึง 150,858 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 38.38% และเมื่อแยกการค้าในแต่ละด่านที่ติดต่อกับแต่ละประเทศก็พบว่า อันดับหนึ่งคือมาเลเซียมูลค่า 134,474 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 53.00% สปป.ลาว 87,369 ล้านบาท เพิ่มขึ้น13.30% แต่ที่น่าจับตาคือเมียนมา 78,833 ล้านบาท เพิ่มขึ้น6.9% ซึ่งยังมีมูลค่าการค้าที่สูงและมีอัตราขยายตัวที่ดี

162635246113

กริช อึ้งฑูรสถิตย์ ประธานสภาธุรกิจไทย-เมียนมาร์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) กล่าวว่า สถานการณ์การค้าและเศรษฐกิจในเมียนมายังลำบากมาก ประชาชนไม่มีเงินจับจ่ายใช้สอย ภาคการธนาคารเผชิญการแห่ถอนเงินอย่างต่อเนื่อง ทำให้ไม่มีเงินสดในการทำการค้า

“เมื่อส่งของไทยไปให้เมียนมาพ่อค้าที่โน่นก็โอนเงินมาให้ ซึ่งก็จะโอนเงินต่อไปให้ซับพลายเออร์ ก็ดูเหมือนการค้าจะไปได้แต่ในทางปฎฺิบัติไม่สามารถนำเงินออกมาได้ เพราะเงินจ๊าดของเมียนมา นอกจากจะถอนเป็นเงินสดจากธนาคารยากแล้วยังมีค่าเงินที่ลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง"

หากจะใช้เงินสกุลอื่นมาค้าขายก็ต้องเผชิญความสูญเสีย โดยค่าเงินจ๊าด ปีที่ผ่านมาเฉลี่ยที่ 1,350 จ๊าดต่อดอลลาร์ แต่ปัจจุบันอยู่ที่ 1,650 จ๊าดต่อดอลลาร์ ซึ่งถ้าไม่จำเป็นต้องโอนให้ซับพลายเออร์ต่างประเทศก็จะไม่ใช้เงินสกุลอื่นเพราะเสี่ยงที่จะขาดทุน

ทั้งนี้ เพื่อให้ธุรกิจสามารถเดินต่อไปได้จนกว่าจะผ่านสถานการณ์ ทั้งการระบาดโควิด-19 ที่หากควบคุมการระบาดได้กิจกรรมทางเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนน่าจะดีขึ้นบ้าง และสถานการณ์การเมืองในเมียนมาซึ่งยอมรับว่ายังไม่สามารถคาดการณ์ได้นั้น 

จากมูลค่าและอัตราขยายตัวของการค้าชายแดนไทยเมียนมาก็จะพบว่า มีทิศทางที่มีศักยภาพต่อเนื่องซึ่งภาคธุรกิจต้องประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและประคองธุรกิจให้อยู่ต่อไปได้

ล่าสุดหลังได้เข้าไปคุยกักระทรวงพาณิชย์ ก็เกิดโครงการที่ร่วมมือกับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย  (ธสน.) หรือ EXIM BANKในการกำหนดเงินกู้เงื่อนไขพิเศษที่เหมาะกับผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) ซึ่งรวมถึงกลุ่มผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจกับตลาดเป้าหมายอย่าง ซีแอลเอ็มวี (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม)  

อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าผู้ประกอบการไม่ค่อยให้ความสนใจโครงการนี้เท่าที่ควรทั้งที่มีเงื่อนไงที่สามารถประคองธุรกิจผ่านพ้นวิกฤติไปได้  แม้ขณะนี้บรรยากาศการค้าและการลงทุนจะถือว่าย้ำแย่มากก็ตาม

สาเหตุสำคัญเบื้องต้นที่ผู้ประกอบการไม่เข้าไปร่วมโครงการเงินกู้ดังกล่าวก็เพราะไม่เข้าใจเงื่อนไข และอีกอย่างคือคิดไปเองว่า คงไม่เข้าเงื่อนไข ทั้งที่กำหนดใช้หลักทรัพย์ไม่เกิน 28% ของยอดกู้ ทั้งที่เงื่อนไขกู้ปกติ จะเฉลี่ยที่ต้อง 80%และกำหนดพิจารณาให้คำตอบภายใน 7 วันเท่านั้น

"น่าจะลองไปคุยก่อน ถ้าไม่ได้ก็ไม่เสียอะไร แต่ถ้าไม่เข้าไปก็เท่ากับเสียโอกาสและอาจเสียธุรกิจในอนาคต แต่ผมก็เห็นใจคนทำธุรกิจเพราะตอนนี้บรรยากาศมันไม่ดีแต่ตัวเลขมันกำลังบอกเราว่า มันยังดีอยู่น่าจะลองดูกัน”

สำหรับเงื่อนไข อัตราดอกเบี้ย สำหรับกลุ่มทำธุรกิจ ซีแอลเอ็มวี เฉลี่ย 2 ปีแรก อัตรา 2% ปีที่ 3 อัตรา 4% ปีที่4อัตรา 5% ปีที่ 5 อัตรา6%หรือเฉลี่ยที่ 3.9% ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำ และหากสาถานการณ์ดีขึ้นภายใน 2 ปี ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้ ก็เท่ากับว่าธุรกิจมีภาระดอกเบี้ยแค่ 2% เท่านั้น