ประมง.. ออกประกาศฯ" ห้ามเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต่างถิ่น"13 ชนิด

ประมง.. ออกประกาศฯ" ห้ามเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต่างถิ่น"13 ชนิด

กรมประมงออกประกาศฯคุมเข้ม ชนิดพันธุ์สัตว์น้ำต่างถิ่นที่ขึ้นบัญชีเพิ่มอีกจำนวน 13 ชนิดหวังตัดวงจรการแพร่พันธุ์และคุ้มครองพันธุ์สัตว์น้ำพื้นถิ่น พร้อมป้องกันผลกระทบต่อระบบนิเวศแหล่งน้ำของไทยไม่ให้เกิดความเสียหาย

นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ รองอธิบดีกรมประมง กล่าวว่า ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่พันธุ์ ของสัตว์น้ำต่างถิ่น หรือ เอเลียนสปีชีส์  ยังคงเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศแหล่งน้ำของประเทศไทยเป็นอย่างมาก  เช่น กรณีปลาหมอสีคางดำที่หลุดรอดเข้าบ่อเลี้ยงกุ้งของเกษตรกร เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา  ได้สร้างความเสียหายและส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำพื้นถิ่นเป็นอย่างมาก

            ในครั้งนั้นกรมประมง ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยการออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามนำเข้า ส่งออก นำผ่าน หรือเพาะเลี้ยงพ.ศ.2561 สำหรับสัตว์น้ำ 3 ชนิด ได้แก่ ปลาหมอสีคางดำ ปลาหมอมายัน และปลาหมอบัตเตอร์ ซึ่งมีผลบังคับใช้ไปเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2561

  162521029829

 อีกทั้ง ยังมีมาตรการจับสัตว์น้ำเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ด้วยการทำปุ๋ยหมักชีวภาพหรือการฝังกลบ หลังจากนั้นกรมประมงได้มีการติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการป้องกันการรุกรานของสัตว์น้ำต่างถิ่นในชนิดพันธุ์อื่นๆ และได้มีการประชุมเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การเพาะเลี้ยงในประเทศ การรุกราน ที่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกร

162521043611

1625210466100

ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและผู้ประกอบการประกอบกับการพิจารณาสัตว์น้ำในทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ควรป้องกันควบคุมและกำจัดของประเทศไทยตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 (สำนักงานนโยบายและแผนงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)โดยพิจารณาควบคู่กับทะเบียนชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ
ต่างถิ่นที่รุกราน 100 อันดับโลก
(GISD; Global Invasive Species Database,IUCN) จึงเห็นควรที่จะเพิ่มชนิดพันธุ์สัตว์น้ำต่างถิ่นที่ขึ้นบัญชีห้ามเพาะเลี้ยงเพื่อให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

ล่าสุดกรมประมงจึงได้อาศัยความตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. 2560 ออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามเลี้ยงในราชอาณาจักร พ.ศ. 2564 ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2564ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 16 สิงหาคม 2564 นี้


เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองพันธุ์สัตว์น้ำพื้นถิ่นหายาก หรือป้องกันอันตรายมิให้เกิดแก่สัตว์น้ำและระบบนิเวศ ซึ่งประกอบสัตว์น้ำด้วย 13 ชนิดตามชื่อไทย(Thai name) ชื่อสามัญ (Common name) และชื่อ วิทยาศาสตร์(Scientific name) ได้แก่

 

ปลา 10 ชนิด ประกอบด้วย

 1 .ปลาหมอสีคางดำ หรือ  Blackchin tilapia  หรือSarotherodonmelanotheron

2.ปลาหมอมายัน หรือ      Mayan cichlid หรือ         Mayaherosurophthalmus

3.ปลาหมอบัตเตอร์ หรือ Zebra cichlid หรือ Heterotilapiabuttikoferi

  162521034012

4.ปลาทุกชนิดในสกุล Cichlaและปลาลูกผสม หรือ Peacock cichlid, Butterfly peacock bass หรือ  Cichlaspp.

5.ปลาเทราท์สายรุ้ง หรือ Rainbow trout หรือ Oncorhynchusmykiss

  162521036110

  162521039232

6.ปลาเทราท์สีน้ำตาล       หรือ Sea trout    หรือ Salmotrutta

7.ปลากะพงปากกว้าง       หรือ Largemouth black bassหรือ Micropterussalmoides

8.ปลาโกไลแอทไทเกอร์ฟิช หรือ     Goliath tigerfish, Giant tigerfish หรือ        Hydrocynus  goliath

9.ปลาเก๋าหยก หรือ          Jade perch หรือ   Scortumbarcoo

10.ปลาที่มีการดัดแปลงหรือตัดแต่งพันธุกรรม GMO LMO

162521049549

162521052597

ชนิดสัตว์น้ำอื่น  ประกอบด้วย

1.ปูขนจีน หรือ Chinese mitten crab หรือ   Eriocheirsinensis

162521079691

2.หอยมุกน้ำจืด  หรือTriangle shell mussel            หรือ Hyriopsiscumingii

162521082561

3.หมึกสายวงน้ำเงินทุกชนิดในสกุล  Hapalochlaena หรือ      Blue-ringed octopus หรือ  Hapalochlaena spp.

162521085661

 

 

ทั้งนี้ ประกาศฉบับดังกล่าวฯ มีแนวทางการปฏิบัติที่สำคัญดังนี้ 

  1. กรณีที่เกษตรกรที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกลุ่มเหล่านี้ ต้องดำเนินการขอใบอนุญาตตามประกาศกรมประมง ภายใน 30 วันหลังจากประกาศฯ มีผลบังคับใช้และเมื่อไม่ต้องการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต่างถิ่นกลุ่มดังกล่าวแล้วให้รีบนำสัตว์น้ำส่งมอบให้สำนักงานประมงจังหวัด หรือ หน่วยงานกรมประมงอื่นๆในพื้นที่โดยด่วน
  2.  กรณีที่ประชาชนทำการประมงแล้วได้สัตว์น้ำทั้ง 13 ชนิดนี้ในแหล่งน้ำธรรมชาติ ประชาชนสามารถนำไปบริโภคหรือจำหน่ายได้ แต่ต้องทำให้สัตว์น้ำตายก่อนนำไปจำหน่าย

  162521067385

  162521070118

3. กรณีที่สัตว์น้ำทั้ง 13 ชนิดนี้จากธรรมชาติได้หลุดรอดเข้าในบ่อเพาะเลี้ยงของเกษตรกรโดย
ไม่เจตนาเกษตรกรสามารถนำไปบริโภคหรือจำหน่ายได้ แต่ต้องทำให้ปลาตายก่อนนำไปจำหน่าย

4. กรณีส่วนราชการ สถาบันการศึกษา หรือกรณีจำเป็นอื่นใดที่ต้องการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั้ง 13 ชนิดไว้เพื่อศึกษาวิจัยและประโยชน์ทางราชการให้แจ้งขออนุญาตกรมประมงก่อน

5. ห้ามผู้ใดปล่อยสัตว์น้ำทั้ง 13 ชนิด ลงในแหล่งน้ำธรรมชาติโดยเด็ดขาด เนื่องจากมีความผิดตามมาตรา 144 แห่ง พรก.การประมง 2558

 

  162521075294

บทลงโทษหากพบผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 64 หรือมาตรา 65 วรรคสอง ต้องระวางโทษตามมาตรา 144 จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง นำสัตว์น้ำไปปล่อยในที่จับสัตว์น้ำ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

“ การออกประกาศฉบับดังกล่าวโดยห้ามทำการเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำทั้ง 13 สายพันธุ์นี้ ถือเป็นอีกแนวทางที่จะช่วยลดปัญหาสัตว์น้ำต่างถิ่นที่หลุดรอดเข้ามาแพร่พันธุ์และสร้างความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรไทย  “

ดังนั้นจึงขอความร่วมมือพี่น้องประชาชน หากท่านเลี้ยงสัตว์น้ำต่างถิ่น (สัตว์น้ำจากต่างประเทศ) และไม่ต้องการที่จะเลี้ยงอีกต่อไปแล้ว อย่านำไปปล่อยลงในแหล่งน้ำสาธารณะ ขอให้ท่านนำสัตว์น้ำเหล่านั้นมามอบให้กับทางกรมประมง หรือสำนักงานประมงจังหวัดในพื้นที่ใกล้บ้านท่าน ให้รับไปดูแล
เพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์น้ำต่างถิ่นเกิดการหลุดรอดลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ อันจะสร้างความเสียหายให้กับระบบนิเวศแหล่งน้ำของประเทศในระยะยาว