อาการเจ็บเท้า ชาเท้า อาจเป็นสัญญาณหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

อาการเจ็บเท้า ชาเท้า อาจเป็นสัญญาณหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

ในการวินิจฉัยอาการและรักษาผู้ป่วยแต่ละราย ทีมแพทย์โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ จะร่วมมือกับทีมแพทย์จาก ‘บำรุงราษฎร์ เฮลท์ เน็ตเวิร์ก’ เพื่อหารือกับทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกว่า 20 - 30 ท่าน

หากคุณมีอาการปวดหลัง ปวดร้าวลงขา อาจมีความเสี่ยงโรคทางกระดูกสันหลังและประสาท ทำแบบทดสอบนี้เพื่อประเมินความเสี่ยงสุขภาพกระดูกสันหลังคุณของคุณ เช็คเบื้องต้นด้วยตัวเองได้ที่: https://rebrand.ly/princ-form-ntw ซึ่งอาการปวดหลังเกิดได้หลายสาเหตุ รวมทั้งเมื่อปวดแล้วท่านจะทำความเข้าใจอย่างไรว่า อาการเหล่านี้จะนำไปสู่ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือไม่ และแนวทางการรักษาควรเป็นอย่างไร ?

  162480048272

นายแพทย์ปวินท์ เกษมพิพัฒน์ชัย

ทำความเข้าใจภาวะอาการจากโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

นายแพทย์ปวินท์ เกษมพิพัฒน์ชัย แพทย์ประจำศูนย์กระดูกสันหลังและข้อ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ด้วยความร่วมมือกับ ‘บำรุงราษฎร์ เฮลท์ เน็ตเวิร์ก’ (Bumrungrad Health Network) กล่าวว่า ในกระดูกสันหลังของเราจะมีส่วนของไขประสาทอยู่ด้านใน ซึ่งจะแตกออกมาเป็นสาย ๆ ไปตามบริเวณขา ไม่ว่าจะเป็นหน้าขา ข้างขา ฝ่าเท้า หรือส้นเท้า ด้วยเหตุนี้ เราจึงสามารถอธิบายได้ว่า หากหมอนรองกระดูกเคลื่อนไปทับเส้นประสาทจะทำให้เกิดอาการปวดที่ต้นทางบริเวณหลัง และอาการปวดจะถูกส่งต่อไปตามเส้นประสาทนั่นเอง ขณะผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดเฉพาะบริเวณขาเท่านั้น ไม่มีอาการปวดหลังเลย จะอาจทำให้เกิดการวินิจฉัยอาการผิดได้ง่าย ดังนั้นจำเป็นต้องให้แพทย์เฉพาะทางวินิจฉัยเพื่อให้คนไข้เข้าถึงการรักษาที่ถูกต้องได้อย่างรวดเร็ว

กระบวนการที่แพทย์วินิจฉัยอาการ เป็นอย่างไร?

นายแพทย์ปวินท์ เล่าถึงอาการส่วนใหญ่ที่ผู้ป่วยแต่ละรายพบ ได้แก่ อาการปวดหลัง หรือปวดขาที่น่ารำคาญและค่อนข้างที่จะรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน แนะนำให้ผู้ป่วยควรเข้ามาพบแพทย์ที่โรงพยาบาล เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยว่า อาการปวดดังกล่าวเกิดมาจากสาเหตุใด เช่น หากปัญหาอยู่ที่กล้ามเนื้อ เราก็จะแก้ปัญหาที่กล้ามเนื้อ โดยการจ่ายยาโดยแพทย์ หรือการทำกายภาพบำบัดจะแตกต่างกันไปตามอาการและสาเหตุของคนไข้แต่ละราย พร้อมย้ำว่าไม่ใช่ทุกกรณีที่ต้องผ่าตัด หากเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโรคแต่ต้น มีทางเลือกการรักษาหลากหลายแบบที่ทำให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยดีขึ้น

สำหรับกระบวนการวินิจฉัยอาการ นายแพทย์ปวินท์กล่าวว่า แตกต่างกันออกไป เช่น ถ้าหากเป็นอาการปวดบริเวณหลัง แพทย์ผู้วินิจฉัยอาการสงสัยว่าอาจเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาจแนะนำให้ทำการเอกซเรย์เพื่อดูกระดูก ร่วมกับการทำ MRI (Magnetic Resonance Imaging) ซึ่งเป็นการใช้เครื่องมือสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อดูเส้นประสาทและหมอนรองกระดูกที่ถูกกด จากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการรักษาขั้นต่อไป ว่ามีความจำเป็นที่จะต้องผ่าตัดหรือไม่

แนวทางการรักษาทีมแพทย์เฉพาะทาง ที่ดูแลคนไข้โรคกระดูกสันหลัง ในแบบฉบับโรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ เป็นอย่างไร ?

นายแพทย์ปวินท์ เกษมพิพัฒน์ชัย แพทย์ประจำศูนย์กระดูกสันหลังและข้อ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ด้วยความร่วมมือกับ ‘บำรุงราษฎร์ เฮลท์ เน็ตเวิร์ก’ กล่าวว่า ในการวินิจฉัยอาการและรักษาผู้ป่วยแต่ละราย ทีมแพทย์โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ จะร่วมมือกับทีมแพทย์จาก ‘บำรุงราษฎร์ เฮลท์ เน็ตเวิร์ก’ โดยเริ่มจากที่คนไข้เข้ารับการเอกซเรย์ และทำ MRI หลังจากนั้นข้อมูลของคนไข้รายดังกล่าวจะถูกส่งเข้าที่ประชุม เพื่อให้ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกว่า 20 - 30 ท่าน แสดงความเห็นว่า ควรรักษาอาการดังกล่าวอย่างไรให้ได้ผลต่อคนไข้มากที่สุด ควรรักษาด้วยการกายภาพก่อนหรือไม่ หรือว่าควรทำการฉีดยาเข้าโพรงประสาทเพื่อบรรเทาอาการปวดก่อนในเบื้องต้น หลังจากนั้นจะมีการอธิบายข้อดี-ข้อเสียของแต่ละวิธีการรักษาให้คนไข้ทราบ และตัดสินใจ

162480067587

สำหรับภาวะอาการความเจ็บปวดบริเวณหลัง ถือเป็นเรื่องที่ซับซ้อนในระดับหนึ่ง ทางทีมแพทย์จึงมีการอธิบายคนไข้ถึงอาการต่าง ๆ ผ่านผลที่ได้จากการทำ MRI แล้วจึงมีการอธิบายให้คนไข้ทราบว่า ปัญหาอยู่ที่จุดไหน ทางการแพทย์แนะนำให้จัดการส่วนไหน รวมถึงอธิบายภาพรวมของกระบวนการอีกด้วย การเข้าใจผู้ป่วยนําไปสู่การสื่อสารให้คนไข้เข้าใจ จึงเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะนำมาสู่การรักษาที่ตรงจุดและทําไห้คนไข้สามารถกลับไปใช้ชีวีตไดิอย่างมีความสุขอืกครั้งหนึ่ง, นายแพทย์ปวินท์ กล่าวทิ้งท้าย

สำหรับท่านที่มีปัญหากระดูกสันหลังและข้อ สามารถติดต่อสอบถามและนัดปรึกษาแพทย์เฉพาะทางได้ที่ ศูนย์กระดูกสันหลังและข้อ (Absolute Spine Care) โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ด้วยความร่วมมือกับ ‘บำรุงราษฎร์ เฮลท์ เน็ตเวิร์ก’ ติดต่อผ่านทาง Line OA: https://rebrand.ly/princnetwork หรือที่ website: https://www.princsuvarnabhumi.com/absolute-spine-care/