กยท. ร่วมเอกชนซื้อยางปีนี้ 2 แสนตัน รับมือความผันผวนตลาด

กยท. ร่วมเอกชนซื้อยางปีนี้ 2 แสนตัน รับมือความผันผวนตลาด

กยท.ออก4 มาตรการ ร่วม เอกชน รับซื้อยาง ปี64 กว่า 2 แสนตัน รับมือความผันผวนตลาดหลังโควิด ทำความต้องการเพิ่ม พร้อมขยายเวลาการชำระหนี้ ให้เกษตรกรสถาบันเกษตรกร ผู้ประกอบกิจการยาง 7,000 ราย เริ่ม 1 มี.ค. – 31 ส.ค. นี้

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นปัจจัยสำคัญที่กระทบต่อห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรมยางพาราและอุตสาหกรรมอื่นทั่วโลก เพื่อเป็นการรองรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น กยท. ได้ออก 4 มาตรการ เพื่อชี้นำราคายางในตลาดให้เกิดเสถียรภาพ ลดความผันผวนของราคา ซึ่งเป็นมาตรการที่ กยท. ดำเนินงานเอง และร่วมกับผู้ประกอบการ  คาดว่าจะสามารถดูดซับยาง หรือซื้อขายยางได้ว่า 2 แสนตัน ประกอบด้วย 1.มาตรการเพิ่มปริมาณการรับซื้อยางจากสถาบันเกษตรกรฯ เข้าสู่โรงงานของ กยท.”เพื่อนำมาแปรรูป โดยมีเป้าหมายรับซื้อและดูดซับน้ำยางในปี 2564 ไม่ต่ำกว่า 20,000 ตัน

162460204721

2.โครงการชะลอการขายยาง” โดยสนับสนุนเงินทุนเพิ่มสภาพคล่องให้กับสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง โดยมีเป้าหมายปริมาณยางที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 50,000 ตัน 3.มาตรการตลาดนำการผลิต ผ่านการซื้อขายล่วงหน้า” กยท. ร่วมกับผู้ประกอบการเอกชนที่มีความเข้มแข็งด้านการผลิตและการตลาดซื้อขายล่วงหน้าเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการชี้นำราคา กำหนดเป้าหมาย จำนวน 35,000 ตัน/ปี และ4.มาตรการ กยท. ดีลตรงผู้ใช้ยางขั้นปลายเพื่อลดช่องว่างราคา” โดยตั้งเป้าสามารถขายยางได้กว่า 20,000 ตัน/ปี

          กยท. ดำเนินโครงการข้างต้นคู่ขนานกับโครงการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง วงเงินสินเชื่อ 25,000 ล้านบาท เพิ่มปริมาณการใช้ยางในระบบไม่ต่ำกว่า 100,000 ตัน/ปี และโครงการส่งเสริมการใช้ยางพาราในหน่วยงานภาครัฐ โดยส่งเสริมความรู้และสนับสนุนเงินทุนให้กับกลุ่มเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรที่มีศักยภาพ นำผลผลิตยางมาแปรรูปในกิจกรรมต่างๆ ของหน่วย เป็นการเพิ่มมูลค่ายางพารา

เช่น อุปกรณ์เพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน กระทรวงคมนาคม อุปกรณ์ทางการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข รวมถึงบ่อยางเก็บน้ำแก้ปัญหาภัยแล้ง ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งนี้ มาตรการทั้งหมดจะสามารถดึงปริมาณผลผลิตยางส่วนเกินออกจากระบบในปี 2564  ได้ถึง 200,000 ตันต่อปี เป็นอีกหนึ่งปัจจัยให้ราคายางอยู่ในระดับที่เหมาะสม

162460212242

นายสุขทัศน์ ต่างวิริยกุล รองผู้ว่าการด้านปฏิบัติการ กล่าวว่า ในด้านเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด19  กยท. ได้มีแนวทางช่วยเหลือด้านหนี้สินแก่ผู้ที่กู้ยืมเงินกับ กยท. ผ่านกองทุนพัฒนายางพารา มาตรา 49(3) สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการสนับสนุน ส่งเสริม และให้ความช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ผู้ประกอบกิจการยาง จำนวน 1,468 ราย และผู้ที่กู้ยืมเงินผ่านกองทุนพัฒนายางพารา มาตรา 49(5) เงินกู้ยืมเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวสวนยาง จำนวน 5,585 ราย

โดยขยายเวลาของสัญญาเงินกู้ยืม หรือผ่อนผันการชำระหนี้ในแต่ละงวดตามที่กำหนดไว้ ให้สามารถผ่อนผันการชำระหนี้ได้เป็นเวลา 6 เดือน คือ ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. -  31 ส.ค. 2564 โดยงดการคิดดอกเบี้ย ค่าปรับ ในการขยายระยะเวลาสัญญาเงินกู้ในแต่ละงวด 

 

สำหรับผู้กู้ที่มีความประสงค์ขยายระยะเวลาของสัญญาเงินกู้ยืม จะต้องยื่นคำร้องและเอกสารหลักฐานเพื่อประกอบการพิจารณา ที่การยางแห่งประเทศไทยจังหวัดหรือสาขาที่ผู้กู้ได้ยื่นกู้ยืมไว้ ทั้งนี้ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ค้ำประกันและผู้จำนองด้วย