'นักวิชาการ-เอกชน' เตือนตั้งรับเศรษฐกิจสหรัฐ หลังหมดแรงกระตุ้น

'นักวิชาการ-เอกชน' เตือนตั้งรับเศรษฐกิจสหรัฐ หลังหมดแรงกระตุ้น

'นักวิชาการ-เอกชน' ออกโรงไทยเตือนตั้งรับเศรษฐกิจสหรัฐ หลังหมดมาตรการกระตุ้นของ "โจ ไบเดน" ด้านหอการค้าห่วงสงครามการค้ากลับมาประทุแรงขึ้น

เครือเนชั่นจัดสัมมนา Nation TV Virtual Forum Thailand Survival Post Covid-19 : ครั้งที่ 1 “สหรัฐเดินหน้าพลิกฟื้นเศรษฐกิจ มองโอกาสการค้าไทยสหรัฐ” ผ่านระบบ Zoom เมื่อวันที่ 23 มิ.ย.2564 เพื่อระดมสมองทุกภาคส่วน เปิดมุมมอง พาประเทศไทยก้าวไปข้างหน้าหลังจากเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย จากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19

นางสาวกิริฎา เภาพิจิตร ผู้อำนวยการวิจัย นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศและการพัฒนา และผู้อำนวยการโครงการวิเคราะห์เศรษฐกิจเชิงลึก สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า สหรัฐเกี่ยวพันกับเศรษฐกิจโลกและไทยด้านการค้าและการลงทุน ดังนั้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอย่างเร็วในปี 2564 จะทำให้การส่งออกไทยไปสหรัฐดีขึ้น ซึ่งมีสัญญาณในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

สำหรับเศรษฐกิจสหรัฐที่โตขึ้นมากเมื่อเทียบกับปี 2563 ที่หดตัว มาจากนโยบายการเงินและการคลังของ "โจ ไบเดน" ประธานาธิบดีสหรัฐที่กดดันให้อัตราดอกเบี้ยต่ำ เกิดสภาพคล่องสูงขึ้น และที่สำคัญช่วงที่ประเทศล็อกดาวน์ทำให้ประชาชนใช้เงินน้อย ทำให้การออมพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ เมื่อคลายล็อกทำให้การจับจ่ายมากขึ้น ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยต่ำทำให้ส่งเสริมการใช้ไปมากขึ้นไปอีก

ส่วนโยบายการคลังมีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ แต่ใช้ปีนี้ 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ เน้นการแจกเงินให้นำไปจ่ายอุปโภคบริโภค ซึ่งดีกับไทยที่ส่งสินค้าค้าบริโภค รถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ถุงมือยาง สินค้าที่น่าสนใจ คือ ฮาร์ดดิส ไดรฟ์ ที่สหรัฐหันมานำเข้าจากไทยแทนจีนเพราะสงครามการค้า อีกทั้งผู้ผลิตรายใหญ่ 2 บริษัทอยู่ในไทย

“ดังนั้นการส่งออกที่จะดีแล้ว แต่การที่สหรัฐกดดอกเบี้ยต่ำ ดอกเบี้ยโลกต่ำไปด้วย และกินใช้มากขึ้น เงินเฟ้อมากขึ้น แต่เมื่อทุกอย่างดีแล้ว รัฐบาลสหรัฐก็ต้องชะลอนโยบาย ดังนั้นธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟด กำลังคิดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งคาดว่าจะมีผลใน 2 ปีข้างหน้า ทำให้ทั่วโลกขานรับแต่การปรับขึ้นต้องหันมาดูเศรษฐกิจของประเทศตัวเองด้วย อย่างไทยตอนนี้ก็ยังไม่เหมาะ “

ฉัตรชัย ทิศาดลดิลก ผู้อานวยการอาวุโส สายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ กว่า 40% ที่เชื่อมโยงกับตลาดสหรัฐ เมื่อสหรัฐปั๊มเงินมาในระบบ ทำให้ตลาดทุนฟื้นตัวได้เร็ว แต่พอตัวเลขเศรษฐกิจดีขึ้น นโยบายการเงินก็จะถอดคันเร่ง ลดสภาพคล่องลง โดยเห็นสัญญาณแล้วในสัปดาห์นี้ ตลาดเอเชีย และ ญี่ปุ่นลงตาม

“ตั้งแต่ที่มีโควิด ตลาดหุ้น สหรัฐปีที่แล้วหลายตลาดนิวไฮมาก มีผู้ลงทุนเข้ามาเยอะมาก ตลาดทุนไทยปีที่แล้วผันผันต่ำสุด 1,000 จุด สูงสุด 1,600 เพราะโควิด ปีนี้ ขึ้นได้ 1,600จุด ก็เริ่มปกติ ความผันผวนเริ่มลดลง และต้องดูความเปลี่ยนแปลง“

พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการสภาหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  กล่าวว่า โควิดระบาดในปีที่ผ่าน เป็นเรื่องใหม่ ทำให้เรายังตั้งรับไม่ค่อยได้ แต่ปีนี้เราต้องอยู่กับมัน หลายประเทศคลายกลยุทธ์ ทำให้ไทยส่งออกได้มากขึ้น การส่งออกของไทยในตลาดสหรัฐ 4 เดือนแรก 382,608 ล้านบาท 8.21 % ซึ่งตลาดสหรัฐฯมีโอกาสจะ โตยังมีอีกมาก เพราะธุรกิจในประเทศ โรงงานได้ปรับระบบการผลิตเพื่อลดการสัมผัส หลายเทคโนโลยีต้องใช้จากไทย

สำหรับการค้าในอนาคตห่วงมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี(เอ็นทีบี)ที่มากขึ้นโดยดีมานเทียม สงครามทางการค้าและตัวเลขเศรษฐกิจจะเห็นชัดในปีต่อไป หลังจากที่ไทยและสหรัฐหยุดแจกเงินไปแล้ว รวมทั้งการเคลื่อนย้ายการลงทุน ดังนั้นไทยต้องตั้งรับความเสี่ยงทีจะเกิดขึ้น แก้กฎหมายให้สอดรับกับระเบียบทางการค้าที่เปลี่ยนแปลงไป

สินค้าที่รัฐบาลควรสนับสนุนด้านการส่งออก คือ สินค้าเกษตร อาหาร ที่มีวัตถุดิบในประเทศ จะสร้างประโยชน์กับไทยมากกว่าสินค้าที่นำเข้าผลิตส่งออก แต่ที่น่าเป็นห่วง คือ การนำเข้าที่มีน้อยกว่า อาจเป็นข้ออ้างที่สหรัฐนำมาเพ่งเล็งการตัดจีเอสพีเพิ่ม ดังนั้นจึงอยากให้ดูภาษีให้เอื้อต่อการนำเข้าด้วย

อรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิมดีกรมเจรจาการค้าการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า ประธานาธิบดีสหรัฐต้องการสร้างความแข็งแกร่งให้สหรัฐฯ พร้อมเป็นผู้นำโลก พยายามเข้ามามีบทบาทในข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ เน้นสร้างแรงงานในประเทศเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำและเก็บภาษีผู้มีรายได้สูง กลับเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) เอเปค และความตกลงปารีส ให้ความสำคัญด้าน สิ่งแวดล้อม ใช้เชื้อเพลิง พลังงานสะอาด

ทั้งนี้ ยังมีสงครามทางการค้ากับจีนที่ยังรุนแรง และต้องการแยกจีนออกห่วงโซ่ตลาดโลก ไทยจะได้รับแรงกดดันการตอบโต้ดังกล่าว แม้ระยะสั้นจะประโยชน์จากการการส่งออกไปสหรัฐ

“สิ่งที่สำคัญคือทำอย่างไรจะให้สหรัฐหันมาลงทุนในไทยมากขึ้น รวมทั้งต้องระวังเรื่อง ทรัพย์สินทางปัญหาที่สหรัฐให้ความสำคัญ ไทยอยู่ในวอตช์ลิสต์ การแทรกแซงทางการเงินที่สหรัฐเพ่งเรื่องค่าเงิน เรื่องนี้ต้องติดตามเพื่อไม่ให้สหรัฐตอบโต้ไทย”

นายปิยศักดิ์ มานะสันต์ บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด กล่าวว่า ภาพรวมของเศรษฐกิจ ครึ่งปีหลังจะเปลี่ยนไป จากครึ่งแรกดีเกินจริงที่ควรจะเป็น เพราะนโยบายโจ ไบเดน ทำให้ความเสี่ยงรวมการเก็งกำไร ราคาน้ำมันจะขึ้น 100 ดอลลาร์ต่อบาเรล ยังดีที่มีโควิด ขวางอยู่ แต่ควรหาทางลดการเก็งกำไร ส่วนภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้นนั้น ทำให้ เฟด มีแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า เงินเฟ้อเพิ่ม 2 เป็น 3% เพราะความต้องการสินค้าอุปโภค บริโภค และอัตราจ้างงาน ราคาขายปลีกจะสูงขึ้น เฟดจึงต้องคุมเงินเฟ้อไม่ให้สูง