กลยุทธ์การลงทุน (21 มิ.ย.63)

กลยุทธ์การลงทุน (21 มิ.ย.63)

ตลาดหุ้นเผชิญความท้าทายมากขึ้นในช่วงสั้น จากแนวนโยบายของสหรัฐฯ

ท่าทีที่เปลี่ยนไปของเฟด ส่งผลให้ดอลลาร์แข็งค่า และภาวะตลาดมีความเสี่ยงมากขึ้นในช่วงสั้นในการประกาศผลการประชุม FOMC เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน ธนาคารกลางสหรัฐได้แสดงท่าที hawkish สองสามประการ โดยในประการแรก Fed ได้ปรับเพิ่มประมาณการอัตราการขยายตัวของ GDP ปี 2564 เป็น 7.0% (จากเดิม 6.5%) และปรับเพิ่มประมาณการเงินเฟ้อ core PCE เป็น 3.0% (จากเดิม 2.1%) ประการที่สอง กราฟ dot-plot แสดงว่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ยสองรอบ รวม 50bps ในปี 2566 จากเดิมที่คาดว่าจะเริ่มขึ้นดอกเบี้ยในปี 2567 ประการที่สาม นาย Powell ประธาน Fed กล่าวในการแถลงข่าวว่า
ในการประชุมสัปดาห์ที่แล้ว คณะกรรมการ ‘มีการพูดคุยกันเรื่องการลดขนาด QE’ ด้วย ซึ่งส่งผลให้ดัชนี US dollar พุ่งขึ้นอย่างแรง และทำให้ภาวะตลาดหุ้นอ่อนแอลงอย่างมาก เรามองว่าประเด็นเหล่านี้จะทำให้กระแสเงินลงทุนในหุ้นจากต่างชาติในระยะสั้นอ่อนแอกว่าที่คาดไว้

Fed น่าจะประกาศเรื่องการลดขนาด QE อย่างเป็นทางการในเดือนกันยายน 2565 และน่าจะขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือนมีนาคม 2566

เรามองว่า Fed จะทยอยส่งสัญญาณการลดขนาด QE ชัดเจนมากขึ้นใน 2H64 และ 1H65 แต่คาดว่า Fed จะประกาศเรื่องนี้ออกมาอย่างเป็นทางการในเดือนกันยายน 2565 ซึ่งหากเป็นไปตามที่เราคาดไว้หมายความว่ามันเป็นกระบวนการส่งสัญญาณที่ยาวนานมากก่อนจะมีการลดขนาด QE จริง ดังนั้น จึงไม่น่าจะทำให้ตลาดตกหนัก นอกจากนี้ เรายังเชื่อว่า Fed จะเริ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในเดือนมีนาคม 2566 ตาม dot-plot ล่าสุดที่พยากรณ์ว่จะมีการขึ้นดอกเบี้ยสองครั้งในปี 2566

ตลาดมีแนวโน้มอ่อนตัวในระยะสั้น แต่เรามอง downside เพียง 4% จากปัจจุบัน (ไปถึงแค่ 1,550 จุด) ในช่วงปี 2556 ที่ 2013 ลดขนาด QE ลง P/E ของตลาดหุ้นทั่วโลก รวมถึงตลาดไทยถูกปรับลดลงหลังจากที่ Fed ส่งสัญญาณว่าจะพิจารณาปรับลดขนาด QE แต่จากนั้นตลาดหุ้นฟื้นตัวขึ้นอย่างชัดเจน
เมื่อ Fed ออกประกาศอย่างเป็นทางการ โดยในปี 2556 forward P/E ของตลาดหุ้นไทยลดลง 1.7x ในระยะเวลาเจ็ดเดือน จากการที่ Fed กลับทิศนโยบายกระทันหัน (Fed ประกาศ QE3 ในเดือนธันวาคม 2555 แต่ส่งสัญญาณว่าจะลดขนาด QE ในเดือนพฤษภาคม 2556) และการชุมนุมทางการเมืองใน
ประเทศไทย แต่รอบนี้ เราเชื่อว่า P/E ของตลาดหุ้นไทยจะถูกปรับลดอย่างมากที่สุดเพียง 1.0x ซึ่งหมายความว่าดัชนี SET จะลดลงประมาณ 90 จุดจากระดับสูงสุดที่ 1,640 จุด เหลือ 1,550 จุด ซึ่งต่ำกว่าระดับปัจจุบัน 4% นอกจากนี้ ดัชนีที่ 1,550 จุดยังเป็นระดับที่ earnings yield gap (EYG) 12 เดือนเท่ากับค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ 4.1% ทั้งนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังคงฟื้นตัวต่อเนื่อง และอัตราดอกเบี้ยยังจะอยู่ระดับต่ำต่อไปอีกอย่างน้อยหนึ่งปี เราเชื่อว่า EYG เฉลี่ยระยะยาวจะเป็นตัวช่วยจำกัดการ correction ของตลาด

หนทางใน 3Q64 ไม่ราบรื่นเท่าเดิม แต่แนวโน้มหลักยังเป็นขาขึ้น แนะนำซื้อสะสมช่วงตลาดผันผวนความกังวลว่า Fed จะลดขนาด QE เร็วกว่าที่คาดจะทำให้หนทางใน 3Q64 ไม่ราบรื่นเท่าเดิม แต่เรายังคงมองว่าแนวโน้มหลักของตลาดยังเป็นขาขึ้นอยู่ จากความคืบหน้าในการกระจายวัคซีนป้องกัน COVID-19 ของประเทศไทย, การกลับมาเปิดเศรษฐกิจอีกครั้ง และแนวโน้มการฟื้นตัวของ GDP ในปี 2565 นอกจากนี้ เรามองว่าเงินเฟ้อของสหรัฐกำลังจะถึงจุดสูงสุด และการประชุม Jackson Hole symposium ในเดือนสิงหาคมยังเร็วเกินไปที่ Fed จะประกาศการลดขนาด QE ดังนั้น เราจึงแนะนำให้ ซื้อสะสมในช่วงที่ตลาดผันผวนในระยะต่อไปเนื่องจากแรงกดดันจากความกังวลเรื่องการลดขนาด QEน่าจะคลี่คลายลงไปใน 3Q64 เรายังคงเป้าดัชนีปี 2564 เอาไว้เท่าเดิมที่ 1,770 จุด อิงจาก fwd P/E ที่ 19.3x และ EPS กลางปี 2565F ที่ 92.0 ในขณะเดียวกัน เราประเมินเป้าดัชนีในกรณีเลวร้ายที่สุดไว้ที่ 1,690 จุด อิงจาก fwd PE ที่ 18.4x โดยให้ discount 10% จากการคำนวณตามแบบจำลองอย่างเต็มที่ทั้งนี้ เรายังคงเลือกหุ้นในธีมการท่องเที่ยว และ reopening เป็นกลุ่มหลักใน 3Q64 ซึ่งได้แก่ KBANK*,AOT*, CPALL*, MINT*, BEM*, MAJOR* และ SPA

ยังเร็วไปที่จะปรับนโยบายการเงินตอนนี้ เพราะภาวะเศรษฐกิจในปีนี้และต้นปีหน้ายังอ่อนแอเกินไปเศรษฐกิจสหรัฐยังอ่อนแอเกินไป แม้ว่า Fed จะปรับเพิ่มประมาณการอัตราการขยายตัวของ GDP ปี 2564 ขึ้นเป็น 7% แต่ดัชนีเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างเช่น อัตราการว่างงานยังสูงเกินไป และห่างไกลจากระดับที่ถือว่ามีเสถียรภาพอย่างเหมาะสม ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน และได้รับผลกระทบจากฐานที่ต่ำผิดปกติในปีก่อน นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงที่ยอดผู้ติดเชื้อรายวันจะกลับมาสูงขึ้นอีกครั้งแม้จะมีการฉีดวัคซีนให้กับประชากรเป็นจำนวนมากแล้วก็คาม ดังนั้น เราจึงคิดว่า Fed ไม่น่าจะรีบปรับนโยบายการเงินในปีนี้ หรือแม้แต่ในครึ่งแรกของปีหน้า เพราะ Fed ต้องเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าการปรับนโยบายการเงินจะไม่ทำร้ายตลาดการเงิน และเศรษฐกิจซึ่งจะทำให้ต้องกลับลำนโยบายการลดQE แบบกะทันหันอีกครั้งเนื่องจากผู้เล่นในตลาดยังอยู่ในภาวะที่เรียกว่าติด QE อย่างหนัก

เราคิดว่าวิกฤติ COVID-19 น่าจะคลี่คลายลงไปในปีหน้าจากความคืบหน้าในการพัฒนาวัคซีน และยาต้านไวรัสในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้วิกฤติโรคระบาดของโลกเข้าใกล้จุดสิ้นสุดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นเมื่อรัฐบาลลดการสนับสนุน โดยการขาดดุลงบประมาณลดลงเหลือเพียง 7.8% ของ GDP และไม่มีกองทุนช่วยเหลือขนาดใหญ่อีก ทั้งนี้ ถ้าหากเศรษฐกิจโตได้ตามคาดและเงินเฟ้อเข้าใกล้ 2% จะทำให้ Fed รู้สึกเป็นอิสระมากขึ้นในการที่จะลดการซื้อสินทรัพย์ลง นอกจากนี้ เราคาดว่าเศรษฐกิจโลกโดยรวมน่าจะฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่งจากวิกฤติโรคระบาดในปี 2565 เมื่อยอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เราเชื่อว่า Fed จะประกาศรายละเอียดของแผนหยุดซื้อสินทรัพย์ในการประชุม FOMC ในวันที่ 20-21 กันยายน 2565 โดยจะมีผลตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ดังนั้น เราจึงคาดว่า Fed จะส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ย และการลดขนาด QE ลงไปพร้อม ๆ กัน

เราคาดว่า Fed จะเริ่มขึ้นดอกเบี้ยในการประชุม FOMC วันที่ 14-15 มีนาคม 2566 และจะขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งในการประชุม FOMC วันที่ 13-14 มิถุนายน 2566

สภาพคล่องที่ท้วมท้นถึง 3.8 ล้านล้านดอลลาร์ฯ ในเดือนพฤษภาคม 2564 และอาจจะมากถึง 4.4 ล้านล้านดอลลาร์ในกลางปี 2565 อาจจะทำให้มีการปรับลดขนาด QE เร็วขึ้น และการขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกเร็วขึ้นจากหนึ่งปีเป็นแค่หกเดือน

เรายังมองบวกกับโอกาสที่เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวได้เร็วเกินคาด เราคาดว่า กนง. จะพิจารณาขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงกลางปี 2566 เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทยคิดว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวอย่างเต็มที่จน GDP กลับมาอยู่ระดับเท่ากับปี 2562