KBANK - ซื้อ (21 มิ.ย.64)

KBANK - ซื้อ (21 มิ.ย.64)

รายได้ดอกเบี้ยเป็นตัวหลักที่ยังโตได้

Event

สรุปการจัดกิจกรรม, ประมาณการ 2Q64, และอัพเดตแนวโน้ม

lmpact

ได้ก้าวเป็นผู้นำตลาดด้านในการเป็นตัวกลางชำระเงินผ่านระบบดิจิทัล

เราจัดการประชุม on-line conference เกี่ยวกับ platform ดิจิทัลของ KBANK โดยสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ 1.) ช่องทางชำระเงินระบบดิจิตอลยังคงเป็นช่องทางคู่ขนาดกับช่องทางเดิม (omni-channel) 2.) ตั้งเป้าจะเป็นผู้นำตลาดด้านการชำระเงินผ่านระบบดิจิทัล 3.) จะใช้ประโยชน์จาก big data/การวิเคราะห์ข้อมูลจากธุรกรรมดิจิตอลเพื่อเจาะตลาดสินเชื่อผู้บริโภค ปรับปรุงบริการ SME และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำรายได้ และเพื่อสร้างการเติบโตตามตลาดทุน และประกัน ทั้งนี้ปัจจุบันธนาคารได้ก้าวเป็นผู้นำการชำระเงินผ่านระบบดิจิทัลที่มีผู้ใช้งานมากที่สุด (ธุรกรรมทางดิจิทัลคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 70% ของธุรกิจทั้งหมดในธนาคาร โดยมีส่วนแบ่งตลาด >40%)

ในก้าวต่อไป ธนาคารตั้งเป้าจะเป็นเจ้าตลาดสินเชื่อผู้บริโภคในอีกสามปี ข้างหน้า

ในฐานะผู้นำตลาดด้านการชำระเงินผ่านระบบดิจิทัล KBANK กำลังก้าวต่อไปสู่การหารายได้จาก big data ด้วยการทำ credit scoring และการกำหนดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่เหมาะสมความเสี่ยงเพื่อขยายสินเชื่อผู้บริโภคผ่าน platform LINE-BK ซึ่งธนาคาร และ Line Financial จับมือเป็นพันธมิตรกันและออกบริการในพฤศจิกายน 2563 ซึ่งปัจจุบันมียอดสินเชื่อคงค้าง 8.4 พันล้านบาท ซึ่งธนาคารตั้งเป้าจะขยายเพิ่มขึ้น และก้าวขึ้นเป็นผู้นำในตลาดสินเชื่อบน platform ดิจิทัลภายในอีกสามปี ทั้งนี้ platform ดิจิทัลจะ ทำให้พอร์ตสินเชื่อผู้บริโภคเปลี่ยนไปจากปัจจุบันซึ่งต่ำกว่า 10% ของพอร์ตสินเชื่อรวม และทำ
ให้โครงสร้างกำไร และความเสี่ยงของธนาคารเปลี่ยนไปจากปัจจุบันด้วย

รูปแบบของรายได้ค่าธรรมเนียมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

รายได้ค่าธรรมเนียม ของ KBANK ได้ปรับเปลี่ยนในช่วงปีที่ผ่านมา โดยรายได้ค่าธรรมเนียมจากตลาดทุนเป็นรายได้หลักคิดเป็นประมาณ 45% (เพิ่มจาก ~30-35% ก่อน COVID-19 ระบาด) เพิ่มขึ้นประมาณ 25-30% ในขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมหลักจากการโอน สินเชื่อค่อนข้างทรงตัวในช่วง 4 ไตรมาสที่ผ่านมา เราคาดว่าแนวโน้มดังกล่าวจะดำเนินต่อไปในปีนี้ ทั้งนี้เราคาดรายได้ค่าธรรมเนียม ปี 2564/65 เติบโตปีละ 5% (ไตรมาส 1/64 โต +7% YoY และ +13% QoQ)

คงคำแนะนำ ซื้อ และประเมินราคาเป้าหมายปี 2565F ที่ 182 บาท (P/BV ที่ 0.9x)

เราคาดว่ากำไรสุทธิใน 2Q64F จะอยู่ที่ 8.1 พันล้านบาท (-24% QoQ +272% YoY) เนื่องจาก FVTPL ลดลง และ LLP เพิ่มขึ้น QoQ ซึ่งหากไม่รวมค่าใช้จ่ายกันสำรอง และ FVTPL ของธนาคาร PPOP จะลดลง 2% QoQ และเพิ่มขึ้น 2% YoY ถึงแม้ว่าราคาหุ้นของ KBANK จะปรับลดลงมาจากความกังวล
เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจในประเทศ แต่การที่ ธปท. ขยายกรอบเวลาให้การช่วยเหลือออกไปจนถึงสิ้นปีจะส่งผลดีกับธนาคารในแง่ของการบริหารจัดการ NPL และ credit cost ทั้งนี้ เนื่องจากราคาหุ้นไม่แพง โดยคิดเป็น P/E เพียง 8x และ P/BV เพียง 0.6x เท่ากับเกือบ -2 S.D. ซึ่งเมื่อเราใช้สมมติฐาน ROE ที่ประมาณ 8% เราจึงประเมินว่า KBANK สมควรซื้อขายที่ระดับ P/BV ที่ 0.9x

Risks

NPL เพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาด, ผลขาดทุนจาก FVTPL, และอัตราการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียม