สธ.เผยลักษณะเด่น 4 กัญชาพันธุ์ไทย

สธ.เผยลักษณะเด่น 4 กัญชาพันธุ์ไทย

กรมวิทย์เผยลักษณะเด่น 4 กัญชาพันธุ์ไทย เตรียมจดทะเบียนรับรองสายพันธุ์ไทยเพื่อใช้อ้างอิงของประเทศไทย แย้ม “รากกัญชา”อาจช่วยรักษาเนื้อเยื่อปอด รองานวิจัยชัดเจน “อนุทิน”มอบอย.-กรมแพทย์ไทยหาช่องตอบแทนรัฐวิสาหกิจนำช่อดอกมาคืนภาครัฐ

เมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 2564 ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ได้มีการเก็บรวบรวมกัญชา ตามนโยบายกัญชาเสรีทางการแพทย์ถึง 4 สายพันธุ์ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์มาเป็นเวลานาน ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้นำมาวิจัยพัฒนาทดลองปลูกในโรงเรือนให้ได้กัญชามีคุณภาพ และสารสำคัญที่สูงและจดทะเบียนรับรองสายพันธุ์ว่ากัญชาสายพันธุ์ไทยมีคุณภาพดี เป็นมรดกของชาติ เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานภาครัฐและวิสาหกิจชุมชนในการเลือกนำไปใช้งานที่เป็นประโยชน์ทางการแพทย์ต่อไป ปัจจุบันมี 4 สายพันธุ์ที่มีประโยชน์และคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป แต่ล้วนเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้และผู้ที่จะนำไปเสริมสร้างรากฐานทางเศรษฐกิจให้เข้มแข็ง หากพัฒนาอย่างจริงจังจะสามารถต่อยอด ขยายการผลิตไปเป็นผลิตภันฑ์ได้จำนวนมาก


"การพัฒนากัญชาพันธุ์ไทยของกรมวิทยฯ จะนำพันธุ์ที่ได้ไปขยายให้กับเครือข่ายวิจัยร่วมกัน ได้แก่ มทร.อีสาน วิทยาเขตสกลนคร และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สกลนคร เพื่อเป็นแหล่งเมล็ดพันธุ์ให้เกษตรกร นำไปใช้ต่อยอดทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ สร้างประโยชน์ให้กับประเทศ พัฒนาส่งเสริมเกษตรกรให้มีศักยภาพในการพัฒนากัญชาสายพันธุ์ไทยแข่งขันในตลาดโลก ลดการขาดดุลการค้ากับต่างประเทศ ขณะนี้อยู่ในระหว่างการขอหนังสือรับรองพันธุ์พืชกับกรมวิชาการเกษตร เพื่อขึ้นทะเบียนของกัญชาพันธุ์ไทยทั้ง 4 พันธุ์ คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือนส.ค. นี้ เพื่อให้เกิดเป็นมรดกของชาติ และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ สร้างประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของนโยบายกัญชาเสรีทางการแพทย์”นายอนุทิน กล่าว


นายอนุทิน กล่าวด้วยว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กำลังมีการสกัด รากกัญชา ซึ่งอาจจะพบว่ามีผลในการช่วยรักษาเนื้อเยื่อของปอด ตรงกับเวลาพอดี ผู้ที่ป่วยเป็นโควิด แม้หายโควิดแล้วก็อาจจะสูญเสียเนื้อเยื่อปอดที่ถูกทำลายไปขณะที่ติดเชื้อ ถ้ากรมสามารถพัฒนาวิจัยศึกษาว่าส่วนใดของกัญชาสามารถไปรักษาความเสียหายหรือฟื้นฟู ชิ้นส่วนหรืออวัยวะต่างๆของมนุษย์ได้ก็น่าจะเป็นประโยชน์มหาศาลในวงการแพทย์ ย้ำให้กรมได้ทำการทดลองวิจัยตัวรากกัญชาให้จริงจังและเร็วที่สุด


นายอนุทิน กล่าวอีกว่า ได้หารือกับกรมแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกร่วมมือกับกรมวิท ยาศาสตร์การแพทย์ทำให้ความหวังของประชาชนท่ามกลางเศรษฐกิจเช่นนี้มีเพิ่มขึ้นฃจากทางเลือกใหม่ๆ ซึ่งกัญชาน่าจะเป็นพืชเศรษฐกิจที่ช่วยประชาชนมีทางเลือกในการเสริมสร้างรายได้ ในช่วงเผชิญผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์โควิด อย่างไรก็ตาม วิสาหกิจชุมชนที่มีการปลูกกัญชาตอนนี้ ในส่วนของราก ใบ ลำต้นเอาไปทำรายได้ แต่ช่อดอกต้องเอาให้ทางราชการเหมือนเป็นการแลกเปลี่ยนจากการได้ปลูก เพื่อใช้ประโยชน์จากใบ ต้น ราก แต่ได้ให้แนวทางนโยบายกับสำนักงานคณะกรรมกามรอาหารและยา(อย.) และกรมแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก ในการหาวิธีที่สามารถมีผลตอบแทน ซึ่งไม่ใช่เงิน ไม่ใช่ให้ชาวบ้านไปขายอย่างอิสระเสรี แต่ถ้าผู้ซื้อ เช่น หน่วยงานราชการที่รัฐวิสาหิกจชุมชนนำช่อดอกมาขาย ส่วนที่มาสกัดสารสำคัยได้ ทำอย่างไรที่จะมีผลตอบแทนให้เขา อาจจะเป็นผลิตภัณฑ์หรือสารสกัดเพื่อให้นำไปต่อยอดต่อไป จะทำให้เพิ่มช่องทางในการเสริมสร้างรายได้ รัฐจะไปเอาช่อดอกซึ่งเป็นส่วนที่มีคุณค่าที่สุดและนำส่วนที่เหลือให้ชาวบ้าน ก็ดูจะไม่ค่อยแฟร์ ก็จะหาวิธีการเพื่อให้เกิดเมรรคผลโดยเร็ว

162425247589
ด้านนพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ดำเนินการนโยบายกัญชาเสรีทางการแพทย์ โดยดำเนินการตั้งแต่การปลูก การสกัด การวิเคราะห์และการวิจัย ซึ่งการวิจัยเพื่อจำแนกสายพันธุ์เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญ ที่ร่วมกับทีมวิจัยพัฒนา 4 สายพันธุ์ไทยดั้งเดิม ได้แก่ หางกระรอก หางเสือ ตะนาวศรีก้านขาว ตะนาวศรีก้านแดง โดยศึกษาทางพันธุศาสตร์ พันธุกรรมและด้านเคมีของกัญชาแต่ละพันธุ์

จากการศึกษาพบว่ากัญชาพันธุ์ไทยนั้น มีลักษณะเด่น 3 แบบ คือ แบบที่ 1 กัญชาที่ให้สารที่ให้สารทีเอชซี(THC)สูง ได้แก่ พันธุ์หางเสือสกลนครทีที1 พันธุ์ตะนาวศรีก้านขาวดับเบิ้ลยูเอ 1 แบบที่2 ให้สารทีเอชซีและซีบีดี(CBD)ในสัดส่วนที่เท่ากัน ได้แก่ พันธุ์หางกระรอกภูพานเอสที 1 และแบบที่ 3 ใหัสารซีบีดีสูง ได้แก่ พันธุ์ตะนาวศรีก้านแดงอาร์ดี 1 ทั้งนี้ กัญชาแต่ละสายพันธุ์ให้สารสำคัญในสัดส่วนที่ต่างกัน ก็จะมีการบ่งใช้เหมาะกับการักษาโรคที่ต่างกันด้วย ในขณะนี้ได้ทำการศึกษาเทคนิคการปลูกกัญชาให้มีคุณภาพดีและสารสำคัญสูงในโรงเรือนแบบกรีนเฮาส์และอยู่ระหว่างการจดททะเบียนรับรองสายพัยธฺเพื่อเป็นสายพันธุ์ไทยอ้างอิงของประเทศไทย
"กัญชาไทยแต่ละพันธุ์มีลักษณะของต้น ใบ ช่อดอกและกลิ่นต่างกัน นอกจากนี้การถอดรหัสพันธุกรรมเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่าง พบว่าทั้ง 4 สายพันธุ์ พบได้เฉพาะถิ่นเท่านั้นไม่ได้พบได้ทั่วไป จึงเป็นพันธุ์ที่หายาก ซึ่งกัญชาพันธุ์ไทยมีสารสำคัญในสัดส่วนที่ต่างกัน จึงมีการนำไปใช้ประโยชน์ข้อบ่งชี้ของโรคที่ต่างกัน รวมถึงการได้สารสำคัญคงที่ในการปลูก ทำให้ง่ายต่อการนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ด้วย”นพ.ศุภกิจกล่าว