‘IMD’ ประกาศขีดสามารถแข่งขัน ไทยได้ที่ 28 ขยับขึ้น 1 อันดับ

‘IMD’ ประกาศขีดสามารถแข่งขัน ไทยได้ที่ 28 ขยับขึ้น 1 อันดับ

TMA เผยผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันโดย IMD ประจาปี 2564 ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 28ของโลกขยับดีขึ้นจากปีก่อน 1 อันดับ คะแนนรวมได้72.52 ลดลงจากปีก่อนแต่สูงกว่าค่าเฉลี่ย แนะแก้ปัญหาทุจริต-ความเท่าเทียม การกระจายโอกาส เพิ่มคุณภาพการศึกษาพัฒนาคน

18 มิถุนายน 2564 กรุงเทพฯ สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย หรือ ทีเอ็มเอ (TMA) เผยผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดย World Competitiveness Center ของ International Institute for Management Development หรือ IMD สวิตเซอร์แลนด์ ประจาปี 2564 โดยประเทศไทยมีอันดับที่ดีขึ้น 1 อันดับจากปี 2563 มาอยู่ในอันดับที่ 28 จาก 64 เขตเศรษฐกิจในปีนี้ ทั้งนี้ ผลจากวิกฤตการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่ต่อเนื่องมาถึงปีนี้ ทำให้คะแนนสุทธิเฉลี่ยของทั้ง 64 เขตเศรษฐกิจลดลงจาก 71.82 ในปี 2563 เหลือเพียง 63.99 จากคะแนนเต็ม 100 ในปี 2564 ในขณะที่ประเทศไทยยังคงมีคะแนนสุทธิในปีนี้สูงกว่าค่าเฉลี่ยโดยอยู่ที่ 72.52 โดยลดลงเล็กน้อยจาก 75.39 ในปี 2563

เมื่อพิจารณาผลการจัดอันดับของไทยในปัจจัยหลัก 4 ด้าน พบว่ามีผลการจัดอันดับดีขึ้น 3 ด้านเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2563 ประกอบด้วยด้านประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency) ซึ่งดีขึ้น 3 อันดับ จากอันดับที่ 23 มาอยู่ที่อันดับ 20 ด้านประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency) ที่ดีขึ้น 2 อันดับ จากอันดับที่ 23 มาอยู่ที่อันดับ 21 และด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ซึ่งดีขึ้น 1 อันดับ จากอันดับที่ 44 มาอยู่ที่อันดับ 43 ในขณะที่ด้านสมรรถนะทางเศรษฐกิจ (Economic Performance) มีอันดับลดลงถึง 7 อันดับ มาอยู่ที่อันดับ 21 โดยประเด็นสำคัญมาจากด้านการค้าระหว่างประเทศที่มีอันดับลดลงจากอันดับที่ 5 เป็นอันดับที่ 21 ซึ่งเป็นผลมาจากการส่งออกภาคบริการที่พึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นหลักมีอันดับลดลงค่อนข้างมากจากผลกระทบของสถานการณ์โควิด-19

ในระดับอาเซียน IMD มีการจัดอันดับเขตเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้รวม 5 เขตเศรษฐกิจ โดยสิงคโปร์ยังคงเป็นผู้นาถึงแม้จะมีอันดับลดลงจากอันดับที่ 1 ในปีที่แล้วมาอยู่ในอันดับที่ 5 ในปีนี้ ในขณะที่มาเลเซีย และอินโดนีเซีย มีอันดับดีขึ้นโดยอยู่ในอันดับที่ 25 และ 37 ตามลาดับ ส่วนฟิลิปปินส์มีอันดับลดลงจากอันดับที่ 45 ไปอยู่ในอันดับที่ 52 ในปีนี้

เมื่อมองภาพรวมในระดับโลก เขตเศรษฐกิจที่มีอันดับความสามารถในการแข่งขันสูงที่สุด 5 อันดับแรกในปี 2564 ได้แก่ อันดับ 1 สวิตเซอร์แลนด์ อันดับ 2 สวีเดน อันดับ 3 เดนมาร์ก อันดับ 4 เนเธอร์แลนด์ และอันดับ 5 สิงคโปร์ โดย 4 ปัจจัยสนับสนุนที่ทำให้เขตเศรษฐกิจทั้ง 5 ข้างต้น มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงในปีนี้ ได้แก่ การ ลงทุนในนวัตกรรม (Innovation) การนำเทคโนโลยีมาใช้ (Digitalization) ระบบสวัสดิการที่ดี (Welfare benefits) และความสมานฉันท์ในสังคม (Social cohesion) 162398870330

นายธีรนันท์ ศรีหงส์ ประธานสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) กล่าวว่า “ในปีนี้ถึงแม้ไทยจะยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่ก็ถือว่ายังคงรักษาสถานการณ์ได้ดีในระดับหนึ่ง ทำให้อันดับความสามารถในการแข่งขันในปีนี้ดีขึ้น 1 อันดับหลังจากที่ลดลงไป 5 อันดับในปีที่แล้ว ทั้งนี้ เห็นได้ชัดว่าปัจจัยหลักที่ได้รับผลกระทบคือด้านเศรษฐกิจที่มีความอ่อนไหวกว่าด้านอื่นๆ อยู่แล้วเป็นปรกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทยที่พึ่งพารายได้จากการส่งออกทั้งสินค้าและบริการที่มีการท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในรายได้หลัก ซึ่งทำให้เราต้องมาคิดทบทวนการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของประเทศหลังผ่านวิกฤตินี้ไปว่า นอกเหนือจากการเร่งฟื้นฟูภาคธุรกิจอุตสาหกรรมที่ทำรายได้หลักแบบดั้งเดิม เราควรจะเร่งพัฒนาธุรกิจภาคบริการสมัยใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีโดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัลที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้สูงและมีความสอดคล้องกับแนวโน้มในอนาคตเช่น ธุรกิจด้านการเงิน ธุรกิจที่สร้างทรัพย์สินทางปัญญา ฯลฯ”

นอกเหนือจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ประเทศไทยยังคงต้องให้ความสำคัญกับปัจจัยอื่นๆ ที่ถึงแม้จะเริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้นแต่ก็ยังคงมีหลายปัจจัยย่อยที่ยังอยู่ในอันดับต่ำ ได้แก่ ด้านประสิทธิภาพของภาครัฐ ที่ต้องให้ความสำคัญกับปัจจัยย่อยทางสถาบัน (Institutional Framework) และทางด้านสังคม (Societal Framework) ที่มีประเด็นที่สะท้อนผ่านการสำรวจความคิดเห็น ได้แก่ การติดสินบนและการคอร์รัปชั่น การบังคับใช้กฎหมาย ความเสี่ยงจากความขาดเสถียรภาพทางการเมือง การมีโอกาสที่เท่าเทียม นอกจากนั้นยังมีประเด็นเกี่ยวกับอัตราการเกิดอาชญากรรม ความเท่าเทียมระหว่างเพศและบทบาทสตรีในทางการเมือง การกระจายรายได้ และเสรีภาพของสื่อมวลชน เป็นต้น 162398875761


ในขณะที่ด้านประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ เรื่องผลิตภาพ (Productivity) ยังคงเป็นประเด็นที่ไทยมีอันดับต่ำทั้งในภาพรวมและทุกภาคอุตสาหกรรม ทั้งภาคการเกษตร อุตสาหกรรมการผลิต และภาคบริการ ส่วนในด้านโครงสร้างพื้นฐานมีประเด็นสำคัญด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และด้านการศึกษาที่ประเทศไทยยังคงอยู่ในอันดับต่ำมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีประเด็นสำคัญในด้านสุขภาพได้แก่ ด้านค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ อัตราส่วนของบุคลากรทางการแพทย์ต่อประชากร ด้านสิ่งแวดล้อมได้แก่ ความสิ้นเปลืองของการใช้พลังงาน อัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ มลพิษทางอากาศ และการบาบัดน้ำเสียและประสิทธิภาพการใช้น้ำ เป็นของการพัฒนาในด้านอื่นๆ มีประเด็นที่ต้องให้ความสนใจตั้งแต่ในเรื่องของงบประมาณด้านการศึกษา อัตราส่วนครูต่อนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา ไปจนถึงผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่วัดโดยสถาบันต่างๆ อาทิ ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และการอ่านจากการวัดผล PISA ภาษาอังกฤษจากคะแนนเฉลี่ย TOEFL และการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยใช้ข้อมูลจาก Time Higher Education เป็น ต้น ทั้งนี้ ในด้านการศึกษาซึ่งนับเป็นพื้นฐานสำคัญ

“เรื่องการศึกษาหรือการพัฒนาคนควรเป็นวาระเร่งด่วนที่ทั้งภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษาต้องให้ความสำคัญและร่วมมือการขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาเพื่อเตรียมคนของเราให้พร้อมสำหรับสภาวะแวดล้อมใหม่ของโลกที่นับวันจะเปลี่ยนแปลงเร็วและแรงยิ่งขึ้น ผมคิดว่าเราตระหนักและมีการพูดถึงเรื่องนี้กันมามากแล้ว ถึงเวลาที่เราต้องลงมือทำโดยจัดลำดับความสำคัญ เราต้องปลดล็อกข้อจำกัดเพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีบทบาทในการสร้างระบบการศึกษาที่มีความคล่องตัวสามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับบริบทใหม่ของโลกได้อย่างทันสถานการณ์มากยิ่งขึ้น” นายธีรนันท์ กล่าวเพิ่มเติม 162398879670