BANKING SECTOR (16 มิ.ย.64)

BANKING SECTOR (16 มิ.ย.64)

นายกฯขอให้ธปท.ทบทวนดอกเบี้ยสินเชื่อรายย่อย

  • What’s new

ราคาหุ้นในกลุ่มธนาคารปรับตัวลงเมือวานจากความกังวลข่าวที่ว่า นายกฯ พล.อ. ประยุทธ์ จันโอชา ขอให้ธปท.ทบทวนอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อรายย่อย ได้แก่ บัตรเครดิต, สินเชื่อส่วนบุคคล, สินเชื่อการศึกษาและสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากหนี้ครัวเรือนที่สูงเกือบ 90% ทำให้วานนี้ KBANK ปรับตัวลง -3.8%, SCB ลง -2.8%, BBL ลง -1.6% และ KTB ลง -0.9% ตามลำดับ

 

  • Analysis

ชัดเจนว่าหลังจากที่ข้อมูลออกมาสะท้อนว่ามีลูกหนี้เพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่ได้เข้ามีส่วนร่วมในโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (soft loan) และโครงการพักทรัพย์พักหนี้ (asset warehousing) ได้สร้างความกังวลให้นายกฯ เนื่องจากนายกฯหวังที่จะเห็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขสถานการณ์เศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้อาจทำให้ธปท. อยู่ในสถานการณ์กลืนไม่เข้าคายไม่ออก เพราะธปท.เพิ่งจะประกาศมาตรการบรรเทาผลกระทบรอบใหม่ไปไม่นานนี้เพื่อช่วยทั้งลูกหนี้รายย่อยและ SME โดยเฉพาะตอนนี้ยังมีการพักชำระหนี้ถึง 6 เดือนไปจนถึงสิ้นปี อีกทั้ง ธปท. ยังร้องขอให้ทางธนาคารเห็นใจและช่วยเจรจากับลูกหนี้ในการปรับโครงสร้างหนี้ โดยเพื่อจูงใจให้ธนาคารช่วยเหลือลูกหนี้ ธปท.ยอมผ่อนปรนเกณฑ์การตั้งสำรองและการจัดชั้นหนี้ ซึ่งหมายถึงด้านธนาคารเองก็ได้ยอมถอยยอมช่วยทั้งลูกหนี้และฝั่งภาครัฐแล้ว ดังนั้นเราไม่คิดว่าธนาคารจะถอยอีกก้าวหากไม่มีการต่างแทนเชิงนโยบายเพิ่มเติมที่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝั่ง โดยเฉพาะเมื่อปัจจุบันลูกหนี้รายย่อยเองก็ยังมีมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้เป็นช่องทางในการปรับโครงสร้างหนี้

 

อย่างไรก็ตามหาก ธปท. ตัดสินใจที่จะออกนโยบายเพิ่มเติม เราเชื่อว่าธปท.อาจพิจารณาการลดเพดานดอกเบี้ยของเครดิตการ์ดและสินเชื่อส่วนบุคคลลงราว 2% คล้ายกับในปีที่ผ่านมาที่ ธปท. ลดเพดานอัตราดอกเบี้ย (มาตรการบรรเทาผลกระทบระยะที่ 2) บัตรเครดิตสู่ 16% จาก 18% และสินเชื่อส่วนบุคคลเป็น 25% จาก 28% เราประเมินว่า KTB จะได้รับผลกระทบมากที่สุดเนื่องจากมีสัดส่วนของสินเชื่อส่วนบุคคลมากที่สุด หากดูข้อมูล SCB อาจมีสินเชื่อรายย่อยมากถึง 46% ของพอร์ตสินเชื่อ แต่ราว 70% ของสินเชื่อจำนวนนี้เป็นสินเชื่อที่อยู่อาศัย ขณะที่ KTB มีสัดส่วน 43% ของสินเชื่อที่มาจากรายย่อย แต่ในจำนวนนี้มีถึง 60% มาจากสินเชื่อลีสซิ่ง, บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ขณะที่ด้าน KBANK และ BBL มีสินเชื่อรายย่อยเพียง 28% และ 13% ตามลำดับ

 

  • Action/ Recommendation

KTB มีสัดส่วนสินเชื่อส่วนบุคคลสูงที่สุด แต่ราคาหุ้น KBANK ปรับตัวลงมากที่สุดวานนี้ สะท้อนว่าข่าวความกังวลอาจเป็นเพียงข้ออ้างในการขายทำกำไร โดยเฉพาะเมื่อมีความเสี่ยงจากการประชุม FOMC ในสัปดาห์นี้ เรามองเป็นโอกาสในการซื่อสะสม จากการมุมมองว่าเศรษฐกิจจะค่อยๆฟื้นตัว และคุณภาพสินทรัพย์จะค่อยๆกลับมาหลังรัฐบาลทยอยผ่อนคลายมาตรการเพื่อควบคุมการะบาดของ Covid-19 เราคงให้น้ำหนัก มากกว่าตลาด สำหรับกลุ่มธนาคาร และเลือก KBANK เป็นหุ้นเด่น