ศบค.เผยข้อมูลเบื้องต้นโควิด-19 คลัสเตอร์บริษัทสื่อ

ศบค.เผยข้อมูลเบื้องต้นโควิด-19 คลัสเตอร์บริษัทสื่อ

ศบค.เผยข้อมูลเบื้องต้นโควิด-19 คลัสเตอร์บริษัทสื่อ ไทยฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว 6.7 ล้านโดส เผย 6 ปัจจัยเสี่ยงสำคัญ หวั่นคลัสเตอร์โรงงานเจอแล้วใน 27 จ. แนวโน้มเพิ่ม ขณะที่ประเมินเกณฑ์ป้องกันโรคแค่ 13% เล็งกลุ่มจ.เปิดท่องเที่ยวเพิ่มเติมตามภูเก็ต

เมื่อเวลา 12.30 น. วันที่ 16 มิ.ย.ที่ทำเนียบรัฐบาล ในการแถลงสถานการณ์โควิด-19 พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงาน ประเทศไทยจัดสรรวัคซีนโควิด-19สะสมตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ. - 15 มิ.ย.2564ไปแล้ว 7,111,968 โดส ฉีดแล้ว จำนวน 6,780,816 โดส เป็นเข็มที่ 1 จำนวน 4,948,227 ราย ครบ 2 เข็ม จำนสนท1,832,589 ราย เมื่อแยกตามกลุ่มเป้าหมายที่ฉีดครบ 2 เข็ม พบว่า บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข 88.3 % เจ้าหน้าที่ด่านหน้า 14.6 % อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 12.1 % ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค 1.7 %ประชาชนทั่วไป 2.4% และผู้อายุ 60 ปีขึ้นไป 0.3%


ติดเชื้อใหม่ 2,331 ราย
พญ.อภิสมัย กล่าวอีกว่า รายงานติดเชื้อใหม่ 2,331 ราย ติดเชื้อในประเทศ 2,276 ราย ติดเชื้อจากต่างประเทศ 29 ราย และจากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 26 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 40 คน ผู้ป่วยยืนยันสะสม 204,595 ราย เสียชีวิตสะสม 1,525 ราย รักษาหายเพิ่ม 4,947 ราย ยังรักษาตัว 35,405 ราย อาการหนัก 1,306 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 364 ราย
สำหรับผู้เสียชีวิต 40 ราย พบว่า อายุค่อนข้างน้อย คือ 34 ปี มากสุด 90 ปี เฉลี่ยค่ากลาง 63 ปี โดยจำนวนวันนอนเตียงในรพ.นานสุด 44 วัน โดยแบ่งเป็นชาย 24 ราย และหญิง 16 ราย มาจากกรุงเทพฯ 20 ราย นครปฐม 5 ราย พระนครศรีอยุธยา 4 ราย และชลบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ จังหวัดละ 2 ราย ส่วนที่เหลือจังหวัดละ 1 ราย มีเพชรบุรี ราชบุรี นครสวรรค์ พัทลุง สุราษฎร์ธานี ทั้งนี้ ปัจจัยเสี่ยงติดเชื้อยังพบว่ามาจากคนในครอบครัว คนอื่นๆ เช่น เพื่อนร่วมงาน เพื่อนบ้าน ผู้ป่วยที่ รพ. ผู้ดูแล ร่วมรับประทานอาหาร เป็นต้น


ข้อมูลเบื้องต้นคลัสเตอร์บริษัทผลิตสื่อ
10 จังหวัดที่มีรายงานผู้ติดเชื้อใหม่สูงสุด คือ กทม.807 ราย นนทบุรี 204 รายมี 2 คลัสเตอร์ใหม่ บริษัทกระจกและอะลูมเนียม 19 ราย บริษัทอะลูมิเนียม 6 ราย สมุทรปราการ 161 รายมี 3 คลัสเตอร์ใหม่ บริษัทไม้แขวนเสื้อพชาสติกติดเชื้อ 26 ราย บริษัทผลิตผ้า 8 ราย บริษัทผลิตซอสปรุงรส 8 ราย ชลบุรี 108 าาย สมุทรสาคร 101 ราย มีคลัสเตอร์ใหม่ โรงงานอาหารทะเลแช่เข็ง 23 ราย ฉะเชิงเทรา 96 ราย ปทุมธานี89 ราย คลัสเตอร์ใหม่ บริษัทนำเข้าเครื่องจักร 78 ราย โดยยังไม่รวมกรณีบริษัทผลิตสื่อ อยู่ระหว่างสอบสวนโรค โดยเบื้องต้นพบว่า มีการติดเชื้อประปรายในฝ่ายข่าว แต่ไม่เป็นคลัสเตอร์ตั้งแต่พ.ค. และสัปดาห์ที่ 2 และ 3 ของเดือน พ.ค. บริษัทยังมีการดำเนินการปกติ และเริ่มมีรายงานติดเชื้อพบบุคลากรจากฝ่ายถ่ายทอดสด ฝ่ายสถานี ฝ่ายถ่ายทำรายการ เป็นต้น กระทั่งวันที่ 5 มิ.ย. เริ่มพบติดเชื้อหลายราย ทั้งพิธีกร ฝ่ายคอสตูม รวมทั้งช่างเทคนิค ตัดต่อ ฝ่ายเสียง ในรายละเอียดขอให้รอกรมควบคุมโรคสอบสวนให้ครบถ้วนจะนำเสนอรายละเอียดสงขลา 60 ราย นครปฐม 52 ราย อยุธยา 50 ราย มีคลัสเตอร์ใหม่ โรงงานอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ 7 รายและนครศรีธรรมราช 50 ราย

6 ปัจจัยเสี่ยงสำคัญ
กรมควบคุมโรค มีการรายงานปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่พบในจังหวัดต่างๆ ยกเว้น 4 จังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด(กทม. สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี) พบว่า มี 6 ปัจจัยเสี่ยงสำคัญ คือ 1. โรงงาน สถานประกอบการที่มีแรงงานต่างด้าวจำนวนมาก 2.ตลาดค้าส่ง/ตลาดที่มีผู้ค้าจากหลายจังหวัด หรือมีผู้เดินทางข้ามจังหวัดจำนวนมาก 3.ชุมชนแออัด ชุมชนต่างชาติ หรือพบผู้ติดเชื้อในชุมชน 4.พบผู้ติดเชื้อเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงต่อเนื่อง 5.ชายแดนที่พบต่างด้าวติดเชื้อลักลอบเข้าประเทศต่อเนื่อง และ6.ชายแดนที่มีโอกาสเสี่ยงที่แรงงานต่างด้าวลักลอบเข้าประเทศได้

18 มิ.ย.ศบค.เคาะเข้ม-ผ่อนมาตรการ

"ศบค.ชุดเล็กมีการหารือเบื้องต้นในการปรับมาตรการ ผ่นปรน ผ่อนคลาย โดยจะเสนอศบค.ชุดใหญ่ในวันที 18 มิ.ย.นี้ โดยบางจังหวัดอาจจะเข้มขึ้น หรือบางจังหวัดอาจจะผ่อนคลาย"พญ.อภิสมัยกล่าว

โรงงานเข้าระบบประเมินเกณฑ์คุมโรคแค่ 13%
พญ.อภิสมัย กล่าวด้วยว่า ศบค.มีความเป็นห่วงกลุ่มก้อนคลัสเตอร์ ซึ่งตั้งแต่ 1 เม.ย.-16 มิ.ย.2564 เจอใน 27 จังหวัด ในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น น้ำแข็ง ซอส ขนมกรุบกรอบ แปรรูปไก่ ชิ้นส่วนรถยนต์ ถุงมือ กระจก อุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น และเห็นภาพแพร่ไม่หยุด โดยกระทรวงอุตสาหกรรม รายงงานว่า ทั่วประเทศมี 64,0048 โรงงาน มีการประเมินตนเองในThai stop covid plus 8,123 แห่ง คิดเป็ร 13% ในส่วนของโรงงานที่มีพนักงานเกิน 200 คน 3,304 แห่ง เข้าสู่ระบบประเมินตนเองแล้ว 2,241 แห่ง ผ่านเกณฑ์ประเมิน 1,583 แห่ง ไม่ผ่าน 656 แห่ง และมีแผนจะตรวจสอบในช่วง 16-30มิ.ย.ให้ครบ100% เน้นอุตสาหกรรมอาหารและโรงงานที่ไม่ผ่านเกณฑ์
"ขอย้ำถึงโรงงานที่ยังไม่เข้าระบบประเมินตนเองว่า จำเป็นต้องเข้า ถ้าไม่ผ่านจะมีการเข้าไปช่วนเหลือ และจะมีการตรวจสอบทุก 2 สัปดาห์ ขณะที่พนักงานทุกคนจะต้องประเมินตนเองผ่าน ไทยเซฟไทยทุกวันก่อนเข้าทำงาน ส่วนท้องถิ่น ผู้ว่าฯจะต้องติดตามโรงงานในพื้นที่อย่างเข้มงวด"พญ.อภิสมัยกล่าว

เล็งเพิ่มพื้นที่เดินตามภูเก็ตแซนด์บอกซ์
พญ.อภิสมัย กล่าวอีกว่า ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับโปรแกรมภูเก็ตแซนด์บอกซ์ ซึ่งพื้นที่กลุ่มจังหวัดอื่นกำลังพิจารณา กลุ่มเกาะ เช่น สมุย พีพี กลุ่มแผ่นดิน เช่น กระบี่ พังงา ชลบุรี กรุงเทพฯ ชะอำ หัวหิน บุรีรัมย์ และเชียงใหม่ เป็นต้น โดยมีการกำชับแผนมาตรการต่างๆของภูเก็ตแซนด์บอกซ์ และให้สื่อสารทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที้ได้เข้าใจและร่วมมือด้วย โดยจะนำเสนอแผนภูเก็ตแซนด์บอกซ์เข้าสู่ศบค.พิจารณาใน 18 มิ.ย.นี้