ยอด 'โควิด-19' วันนี้ ยังเยอะ! พบติดเชื้อเพิ่ม 3,355 ราย เสียชีวิต 17 ราย

ยอด 'โควิด-19' วันนี้ ยังเยอะ! พบติดเชื้อเพิ่ม 3,355 ราย เสียชีวิต 17 ราย

ยอด "โควิด-19" วันนี้ ยังคงจับตาสถานการณ์อยู่ หลังพบติดเชื้อใหม่เพิ่ม 3,355 ราย เสียชีวิตเพิ่มอีก 17 ราย สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 ยังลุกลามต่อเนื่อง มีผู้ป่วยสะสมกว่า 1.7 แสนราย แล้ว และต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ประจำวัน ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์การระบาดของ ไวรัสโคโรนา 2019 ล่าสุด วันที่ 14 มิ.ย. 64 ภาพรวมของการระบาดยังต้องคอยเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด หลังพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่อีก 3,355 ราย แบ่งเป็น ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2,571 ราย และผู้ติดเชื้อในเรือนจำ 784 ราย ทำให้มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมแล้วจนถึงวันนี้ 199,264 ราย อีกทั้งยีงมียอดผู้เสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง

โดยวันนี้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 17 ราย ทำให้การระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 มียอดผู้เสียชีวิตสะสมสูงถึง 1,372 รายแล้ว ขณะที่ภาพรวมของการเสียชีวิตจากสถานการณ์โควิด-19 มีผู้เสียชีวิตรวม 1,466 ราย

นอกจากนี้ ยังมีรายงานถึงกลุ่มคนไข้อาการหนักที่มีมีอาการปอดอักเสบที่น่าวิตกอีกนับพันรายจากทั่วประเทศ

ยอด 'โควิด-19' วันนี้ ยังเยอะ! พบติดเชื้อเพิ่ม 3,355 ราย เสียชีวิต 17 ราย

 ยอด 'โควิด-19' วันนี้ ยังเยอะ! พบติดเชื้อเพิ่ม 3,355 ราย เสียชีวิต 17 ราย

ส่วนสถานการณ์การติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 64 ถึง 14 มิ.ย. 64 พบจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่เพิ่ม 3,355 ราย ทำให้การระบาดระลอกใหม่ มีผู้ติดเชื้อสะสมไปแล้ว 170,401 ราย

สำหรับสถานการณ์การฉีดวัคซีนโควิด-19 สามารถสรุปจำนวนการได้รับวัคซีนสะสม ตั้งแต่ 28 ก.พ. - 12 มิ.ย. 2564 รวม 6,081,242 โดส ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็น

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 : 4,456,786 ราย (จำนวนผู้ได้รับวัคซีนทั้งหมด)
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 : 1,624,456 ราย (จำนวนผู้ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์)

ตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย. 64 รวม 1,865,180 โดส
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 1,573,681 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 291,499 ราย

ยอด 'โควิด-19' วันนี้

โดยที่ผ่านมา ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ย้ำถึงความสำคัญของวัคซีนโควิด-19 ที่อนุมัติให้ใช้ในภาวะฉุกเฉิน พบอาการไม่พึงประสงค์รุนแรงน้อยกว่า 10 รายต่อ 1 ล้านเข็ม สามารถลดการเจ็บป่วยที่รุนแรง เพื่อนำไปสู่การเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ ที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือ วัคซีนโควิด-19 ที่ดีที่สุด คือวัคซีนที่ได้รับการฉีดเร็วที่สุด

ขณะนี้ วัคซีนโควิด-19 หลักที่มีอยู่ในปัจจุบันคือ ซิโนแวค และ แอสตร้าเซนเนก้า สำหรับวัคซีนหลัก หากไม่มีอะไรคลาดเคลื่อน ภายในสิ้นปีนี้ ไทยจะมีวัคซีนจาก 2 เจ้านี้รวมกันอย่างน้อย 70 ล้านโดส แบ่งเป็นซิโนแวคที่จะนำเข้าจากจีน 9 ล้านโดส และแอสตร้าเซนเนก้าที่ผลิตเองในประเทศอีก 61 ล้านโดส (ไม่รวมที่นำเข้าจากต่างประเทศ 117,000 โดสเมื่อต้นปี)

ขณะที่วัคซีนทางเลือกเพื่อรับมือการระบาดของ โควิด-19 จะแบ่งออกเป็น 2 ทาง

1. ดำเนินการโดยรัฐ ให้ประชาชนฉีดฟรี
2. จำหน่ายโดยเอกชน ประชาชนออกค่าใช้จ่ายเอง

วัคซีนทางเลือกที่ดำเนินการโดยรัฐขณะนี้มีอยู่ 4 ราย ได้แก่ ไฟเซอร์ ซึ่งมีแผนนำเข้า 20 ล้านโดสภายในสิ้นปี, จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (10 ล้านโดส) ที่ผ่านการรับรองจาก อย.ไปแล้ว และอีก 2 รายที่รอ อย. รับรองอยู่ อย่าง สปุตนิกวี ซึ่งมีแผนนำเข้า 20 ล้านโดส และรายล่าสุดคือ ซิโนฟาร์ม ซึ่งยังไม่สรุปตัวเลขนำเข้าอย่างเป็นทางการ เมื่อนับรวมวัคซีนทางเลือกเหล่านี้ ไทยจะมีวัคซีนเพิ่มอีกอย่างน้อย 55 ล้านโดส

นั่นหมายความว่า ภายในสิ้นปีนี้ คนไทยจะมีวัคซีนโควิด-19ทั้งตัวหลักและตัวเลือก รวมกันอย่างน้อย 125 ล้านโดส

"การประชุมคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ" เมื่อ วันที่ 12 พฤษภาคม 2564 ได้เห็นชอบใน 3 ประเด็นหลักเกี่ยวกับการจัดการวัคซีนโควิด-19 คือ 

  1. เพิ่มจำนวนวัคซีนจากเป้าหมายเดิมที่กำหนดไว้ 100 ล้านโดส เป็น 150 ล้านโดส ภายในปี 2565 
  2. เร่งทำงานเชิงรุกเพื่อให้การเจรจาจัดซื้อวัคซีนให้คืบหน้ารวดเร็ว ซื้อให้ได้มากที่สุด เพื่อเพิ่มโอกาสรับวัคซีนที่ครอบคลุมการกลายพันธุ์ของโควิด-19 หรือ สายพันธุ์อื่นๆ
  3. การปรับแนวทางการฉีดวัคซีนให้ปูพรมฉีดเข็มแรกให้เข้าถึงประชาชนให้ได้มากที่สุด