ธปท.ขยายเวลาพักหนี้ SME ถึงสิ้นปี

(ชมคลิปข่าวด้านล่าง) ธปท.ขยายเวลาพักหนี้ SME ถึงสิ้นปี

นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า นับตั้งแต่
ต้นปี 2563 ที่การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ COVID-19 ส่งผลกระทบ
รุนแรงในวงกว้างต่อธุรกิจและประชาชน ธปท. ได้ออกมาตรการทางการเงินรูปแบบต่าง เพื่อช่วยเหลือ
ผู้ได้รับผลกระทบให้สอดคล้องกับลักษณะปัญหา รวมถึงสร้างกลไกให้สถาบันการเงิน (สง.) สามารถส่งผ่าน
ความช่วยเหลือไปยังลูกหนี้ ภายใต้สถานการณ์ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูงได้มากขึ้น เช่น การปรับปรุงหลักเกณฑ์
การจัดชั้นสินทรัพย์และกันเงินสำรอง และลดต้นทุนทางการเงินของ สง. ด้วยการปรับลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) เป็นต้น

จากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ ส่งผลซ้ำเติมต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ ขณะที่ระบบ สง. ยังมีความมั่นคง ด้วยระดับเงินกองทุน
เงินสำรอง และสภาพคล่องที่อยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ธปท. จึงได้ทบทวนแนวนโยบายในการส่งผ่านความช่วยเหลือเพิ่มเติมให้แก่ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ และกระตุ้นให้ สง. เร่งปรับโครงสร้างหนี้
โดยคำนึงถึงศักยภาพและโอกาสในการปรับตัวของลูกหนี้ในอนาคต ขณะที่ยังรักษาความมั่นคงและ
การบริหารความเสี่ยงที่ดีของระบบ สง. โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • ขยายมาตรการชะลอการชำระหนี้สำหรับลูกหนี้ SMEs ที่จะครบกำหนดวันที่ 30 มิ.. 2564 นี้ ออกไปจนถึงสิ้นปี 2564 สำหรับกลุ่มที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากการระบาดระลอกใหม่ เช่น กิจการ
    ทียังไม่เปิดทำการตามปกติ ทำให้ สง. ไม่สามารถประเมินกระแสเงินสดเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ได้
    มาตรการนี้จึงไม่ใช่การชะลอชำระหนี้เป็นวงกว้าง นอกจากนี้ ยังขยายขอบเขตถึงลูกหนี้ SMEs
    ที่ได้รับผลกระทบตามนิยามที่แต่ละสถาบันการเงินใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะครอบคลุมมากกว่า SMEs ที่มีวงเงินไม่เกิน 100 ล้านบาท ทำให้มีลูกหนี้ที่เข้าข่ายได้รับการให้ความช่วยเหลือได้เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังสอดคล้องกับกระบวนการปฏิบัติงานด้านสินเชื่อของ สง. ไม่ต้องปรับระบบงานในการส่งผ่านความช่วยเหลือให้กับลูกหนี้ เพิ่มความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน โดย สง. สามารถคงการจัดชั้นหนี้เดิมได้จนถึง 31 .. 2564 และ
    ในระหว่างนี้ ให้ สง. เข้าไปดูแลลูกหนี้เพื่อเร่งหาแนวทางการปรับโครงสร้างหนี้โดยเร็วต่อไป
  • กำหนดกลไกเพื่อจูงใจให้ สง. ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้กับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ โดยพิจารณา (1) ความสามารถในการชำระคืนหนี้ และ (2) ระยะเวลาการจ่ายคืนหนี้ ให้สอดคล้องกับประมาณการรายได้ที่ลูกหนี้จะได้รับในอนาคต โดย ธปท. จะยังคงความยืดหยุ่นของการบังคับใช้หลักเกณฑ์การจัดชั้นและ
    การกันเงินสำรอง หาก สง. ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้เพิ่มเติมนอกเหนือจากการขยายระยะเวลาการชำระหนี้เพียงอย่างเดียว เช่น การลดเงินต้นและ/หรือดอกเบี้ยค้างรับ การลดอัตราดอกเบี้ย การเปลี่ยนโครงสร้างสินเชื่อจากสินเชื่อระยะสั้นเป็นสินเชื่อระยะยาว รวมถึงการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีการให้สินเชื่อเพิ่มเพื่อเยียวยาและฟื้นฟูกิจการลูกหนี้
  • ให้ สง. สามารถจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลได้ไม่เกินอัตราจ่ายเงินปันผล (Dividend Payout Ratio) ของแต่ละ สง. ในปี 2563 และไม่เกินร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิครึ่งแรกของปี 2564 รวมถึง
    ให้งดซื้อหุ้นคืน และห้ามไถ่ถอนหรือซื้อคืนตราสารเงินกองทุนก่อนครบกำหนด เว้นแต่มีแผนการออกทดแทน เพื่อคงมาตรการเชิงป้องกันในการดูแลความมั่นคงของระบบ สง. รองรับสถานการณ์ความไม่แน่นอน
    ซึ่งจะช่วยให้ สง. สามารถปล่อยสินเชื่อเพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง และสอดคล้องกับแนวทางของผู้กำกับดูแลส่วนใหญ่ในต่างประเทศ เช่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์  และบางประเทศในกลุ่มยุโรป
    ที่ยังคงนโยบายจำกัดหรืองดการจ่ายเงินปันผลของ สง. ทั้งนี้ ธปท. จะประเมินสถานการณ์การระบาดและแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ รวมถึงติดตามความคืบหน้าการช่วยเหลือลูกหนี้ของ สง. แต่ละแห่งอย่างใกล้ชิด เพื่อใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายการจ่ายเงินปันผลประจำปี 2564 ในช่วงไตรมาส 4 ต่อไป

สำหรับการปรับลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุน FIDF เหลือร้อยละ 0.23 จากร้อยละ 0.46 ต่อปี
ที่จะสิ้นสุด สิ้นปี 2564 ธปท. อยู่ระหว่างการพิจารณาความจำเป็นในการขยายอายุ โดยคำนึงถึง
การส่งผ่านไปช่วยเหลือลูกหนี้เป็นสำคัญ

ธปท. เห็นว่าการดำเนินการตามมาตรการข้างต้นจะเป็นประโยชน์กับหลายภาคส่วน โดยเฉพาะลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสม ตรงจุด และทันการณ์ นอกจากนี้ ธปท. จะเร่งผลักดันมาตรการอื่น ในการเพิ่มสภาพคล่อง ภายใต้มาตรการสินเชื่อฟื้นฟูฯ ที่ปรับเงื่อนไขให้ธุรกิจ
ที่ได้รับผลกระทบเข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้น พร้อมปรับโครงสร้างหนี้เดิม เพื่อบรรเทาภาระของผู้ประกอบธุรกิจและประชาชน ผ่านมาตรการต่าง ได้แก่ การชะลอชำระหนี้ สำหรับลูกหนี้รายย่อยและ SMEs ที่รายได้หยุดชะงัก โครงการพักทรัพย์ พักหนี้ สำหรับลูกหนี้ธุรกิจที่ต้องใช้เวลาในการฟื้นตัว มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะ 3 และการจัดมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ ทั้งนี้ ธปท. จะติดตามความคืบหน้าและประสิทธิผลของมาตรการต่าง อย่างใกล้ชิด และพร้อมพิจารณาดำเนินการเพิ่มเติมหากมีความจำเป็นในระยะต่อไป