'โออาร์' ปลุกสตาร์ทอัพ ปั้นธุรกิจรับเทรนด์อนาคต

'โออาร์' ปลุกสตาร์ทอัพ ปั้นธุรกิจรับเทรนด์อนาคต

"โออาร์" ปลุก "สตาร์ทอัพ" ดึงจุดแข็งร่วมสร้างสรรค์ธุรกิจใหม่ รับเทรนด์ Mobility & Lifestyle ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคยุคใหม่ ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว พร้อมขยายการเติบโตทางธุรกิจได้ร่วมดกัน

เทรนด์โลกในอนาคตกำลังจะเปลี่ยนแปลงไปภายใต้ปัจจัยความท้าทายต่างๆ เช่น การที่ประเทศจีนจะก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจใหม่ของโลก การมุ่งขยายตลาดไปยังประเทศที่มีศักยภาพในการเติบโต เช่น อินเดีย และอินโดนีเซีย การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีต่างๆ การให้ความสำคัญกับเรื่องของสุขภาพและความกินดีอยู่ดี Health & Wellness 

ตลอดจนกระแสของยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่ประเทศทั่วโลกมุ่งเป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net zero) ในปี ค.ศ.2050 เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ เป็นปัจจัยสำ   คัญที่ทำให้เกิด 2 เทรนด์หลักในอนาคต คือ Mobility & Lifestyle ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อการเคลื่อนที่ของคนและการขนส่งสิ่งของจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง

บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ซึ่งเป็นบริษัท Flagship ของกลุ่ม ปตท. ในธุรกิจการค้าน้ำมันและการค้าปลีก กำลังให้ความสำคัญเรื่องของ Mobility & Lifestyle และมองว่าทั้งสองเรื่องนี้สุดท้ายแล้วจะผสมผสานเป็นเรื่องเดียวกัน โดย OR มีความตั้งใจให้ธุรกิจก้าวสู่ Omni-Channel Retailing ซึ่งจะเป็นการสร้างประสบการณ์ไร้รอยต่อสู่โลกออนไลน์ และ OR จะก้าวสู่เทรนด์นี้ เพื่อต่อยอดไปสู่เทรนด์ Tourism และ Food,Health& Wellness ที่จะเชื่อมโยงเทรนด์ในอนาคตเข้ามากับธุรกิจในปัจจุบันเพื่อทำให้ทุกอย่างขับเคลื่อนไปด้วยกันอย่างไร้รอยต่อและสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับ OR เติบโตต่อไปได้

162324256969

ราชสุดา รังสิยากูล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลยุทธ์องค์กร นวัตกรรมและความยั่งยืน บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR กล่าวบรรยายหัวข้อ The Future of Mobility and Lifestyle ในการสัมมนาออนไลน์ โครงการ THE ENERGist 3 by EPPO จัดขึ้นเมื่อวันที่ 5 มิ.ย.2564 โดยระบุว่า OR อยู่ระหว่างติดตามพฤติกรรมการใช้ชีวิตของกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ กลุ่ม Active Xilver หรือกลุ่มคนเริ่มมีอายุแต่มีไลฟ์สไตล์อยากใช้ชีวิตนอกบ้าน ซึ่งจะมีกำลังซื้อมาก และกลุ่ม Gen ME (Y+Z) ซึ่งเป็กลุ่มคน Gen Y และ Gen Z ที่ใช้เทคโนโลยีในการหาข้อมูลต่างๆ เพื่อรีวิวสินค้าและบริการ ดังนั้น OR จะโฟกัสในอุตสาหกรรม Tourism และ Food,Health & Wellness ซึ่งเป็นเทรนด์ธุรกิจที่จะเข้ามาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว

162324197358

โดย OR มองภาพในอนาคตจะมีความท้าทายอะไรเกิดขึ้นบ้าง เริ่มจาก เรื่องของ Mobility ที่ต้องติดตามจะมีทั้งเรื่องของรถ EV ว่าระหว่างการใช้รถEV กับ สถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) อะไรจะเกิดก่อนกัน ฉะนั้นการที่จะเข้าไปลงทุนยังขึ้นอยู่กับจังหวะเวลาที่เหมาะสม และต้องคำนึกถึงโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ เช่น เรื่องของความพร้อมระบบสายส่งไฟฟ้าที่จะมารองรับการใช้งาน จะมีเรื่องของสมาร์ทกริดต่างๆเข้ามาเสริมอย่างไร เรื่องการปฏิวัติรูปแบบโลจิสติกส์ที่จะเปลี่ยนไป เช่น การ Swap Battery ที่จะเกิดการสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ รองรับการใช้งานของกลุ่มเดลิเวอรี่ และรถบรรทุกขนาดใหญ่ที่จะเปลี่ยนสู่ไฟฟ้า รวมถึง สังคมไทยที่จะก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ฉะนั้นจะมีเรื่องของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ซึ่งเป็นโจทย์สำคัญว่าจะก้าวผ่านความท้าทายนี้ได้อย่างไร

162324293221

และเรื่องของ Lifestyle ซึ่งกลยุทธ์คือจะต้องทำให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวยอมรับ ผลิตภัณฑ์หรือบริการของ OR เข้าเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตประจำวัน โดยจะต้องมองหาความคาดหมายของผู้บริโภค เพื่อนำไปสู่การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้ตอบโจทย์การใช้ชีวิต และหากผลิตภัณฑ์ใดที่ OR ยังไม่มี ก็จะต้องเข้าไปหาพันธมิตร เพื่อดึงเข้ามาร่วมพัฒนาให้อยู่บนแพลตฟอร์มเดียวกัน

“การอยู่บนนธุรกิจ Lifestyle หัวใจสำคัญคือต้องมีความหลากหลาย ปรับตัวเร็ว เพื่อเข้าไปตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว”

ดังนั้น เรื่องของแพลตฟอร์ม จะต้องพัฒนาขึ้นเพื่อให้ซัพพลายกับดีมานด์มาเจอกัน รวมถึงการก้าวไปสู่ความเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม(eco-friendly products) ความท้าทายเหล่านี้ OR จะหลอมรวมเข้ามาเป็นบริบทในการออกแบบธุรกิจในอนาคต

162324255316

ราชสุดา กล่าวอีกว่า ภาพในอนาคตของ OR (OR Next Move) นอกจากการทำปั๊มน้ำมันแล้วจะมุ่งสู่ Retailing Beyond Fuel คือมุ่งเน้นความเป็นรีเทลมากขึ้นปั๊มต่างๆในอนาคตจะไม่ได้ตั้งต้นที่จะขายน้ำมันชนิดใด แต่น้ำมันจะกลายเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่อยู่ในปั๊มเท่านั้น โดยจะเน้นเรื่อง non oil เข้ามาเป็นตัวชูโรงในการดำเนินธุรกิจและไม่ได้เน้นแค่ในปั๊มแต่จะขยายออกสู่นอกปั๊มมากขึ้น เช่น สแตนด์อโลน คาเฟ่อเมซอน และเท็กซัส ชิคเก้น ที่เห็นอยู่ในปัจจับัน ก็ด้วยความพร้อมจากการที่ OR มี Outlets กว่า 3,000 สาขา มีคนเข้ามาใช้บริการปั๊มน้ำมันต่อวันกว่า 2 ล้านคน มีสมาชิกบัตรบลูการ์ด กว่า 7 ล้านราย ซึ่งต่างๆเหล่านี้ คือ Traffic ที่ OR มีอยู่ และจะนำเข้ามาเสริมศักยภาพการเติบโตร่วมไปกับสตาร์ทอัพ

ฉะนั้น OR พร้อมเปิดกว้างให้สตาร์ทอัพเข้ามาร่วมผนึกกำลังธุรกิจร่วมกัน โดยจะต้องเป็นสตาร์ทอัพที่มีการดำเนินธุรกิจหลากหลาย มีการเปลี่ยนแปลงธุรกิจได้รวดเร็วทันกับเวลา เข้าใจบริบทของโลกและพฤติกรรมผู้บริโภคที่จะเปลี่ยนไป เพื่อผลักดันสินค้าและบริการออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว โดยสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพและมีทักษะ สามารถเข้ามาใช้ประโยชน์จากอีโคโนมี่ออฟสเกลที่ OR มีความพร้อมฐานข้อมูล มีประสบการณ์ มีความชำนาญทางธุรกิจที่ยาวนาน และมีความพร้อมการลงทุนร่วมกันได้

“OR เราไม่ได้โตคนเดียว แต่เราจะ JV และ M&A เพิ่มขึ้น เราเชื่อมั่นว่าสตาร์ทอัพ และ OR สามารถประสานจุดแข็งเข้าด้วยกันได้ จะสามารถสร้างสิ่งดีๆให้กับสังคมไทยได้อย่างไม่สิ้นสุด”

162324249191

อย่างไรก็ตาม OR มองว่า การจะเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้รถ EV ยังต้องใช้เวลาประมาณ 30 ปี ดังนั้น ในระหว่างนี้จะมีผู้บริโภคที่เป็นทั้งกลุ่มรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาป​ภายใน หรือ ICE และ รถEV ผสมผสานกัน แต่ รถEV จะเริ่มมากขึ้น ซึ่ง OR จะต้องหาผลิตภัณฑ์ที่รักษาฐานลูกค้าเดิม และดึงให้กลุ่มคนที่เปลี่ยนไปใช้รถEV ให้เข้ามาใช้บริการในปั๊มน้ำมัน เพื่อรักษารายได้จากยอดขายน้ำมันที่จะลดลงในอนาคต ด้วยการเสริมรายได้จากธุรกิจ non oil ภายใต้เทรนด์ธุรกิจดังกล่าวที่จะตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในอนาคต