วิธีเตรียมพร้อม ’ก่อนฉีดวัคซีนโควิด’ เรื่องต้องห้าม และข้อปฎิบัติที่ควรรู้

วิธีเตรียมพร้อม ’ก่อนฉีดวัคซีนโควิด’ เรื่องต้องห้าม และข้อปฎิบัติที่ควรรู้

สรุปเรื่องต้องห้าม และข้อปฎิบัติที่ควรรู้ "ก่อนฉีดวัคซีนโควิด" เพื่อเตรียมพร้อมให้ร่างกายรับวัคซีนได้ดีที่สุด

เริ่มปูพรมสำหรับการฉีดวัคซีนกลุ่มคนทั่วไป นอกเหนือกลุ่มผู้สูงอายุ และ 7 กลุ่มโรคเสี่ยงอย่างเป็นทางการ โดยสรุปยอดฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วประเทศ จัดสรรวัคซีนทั้งหมด 6,756,493 โดส ข้อมูล 18.00 . วันที่ 8 มิ.. 64

โดยเมื่อวันที่ 8 มิ..ที่ผ่านมา มีผู้ฉีดเข้ารับวัคซีน 472,128 โดส

  • เข็มที่ 1 จำนวน 428,459 ราย
  • เข็มที่ 2 จำนวน 43,669 ราย

การวางเป้าหมายให้ครอบคลุม 70% ของประชากรนั้น อ้างอิงตามหลักวิชาการ หากประชากรได้รับวัคซีนราว 60% ก็จะสร้างภูมิคุ้มกันหมู่เกิดขึ้นได้ และจะทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อค่อยๆ ลดลง อย่างไรก็ตาม ประสิทธิผลของวัคซีนโควิด-19ขณะนี้เป็นไปเพื่อป้องกันโรคที่รุนแรงต้องเข้ารักษาในรพ.และป้องกันการเสียชีวิตจากโควิด-19 เป็นสำคัญ  

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ รวบรวมข้อมูลการเตรียมพร้อมร่างกายก่อนเข้ารับวัคซีน มีดังนี้ 

162323776983

  • วิธีเตรียมพร้อมร่างกายแบบพื้นฐาน

ดร.ชลลดา จงสมจิตต์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาฯ แนะนำขั้นตอนการเตรียมตัวสำหรับการเตรียมพร้อมในการฉีดวัคซีนโควิด-19 ซึ่งแบ่งเป็น 

ข้อแนะนำก่อนฉีดวัคซีน สำหรับบุคคลทั่วไป 

  • ดื่มน้ำมากๆ รวมถึงการพักผ่อนให้เพียงพอ 
  • งดเครื่องดื่มชูกำลัง และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 
  • ออกกำลังกายได้ปกติ แต่ไม่ควรออกกำลังกายหนักว่าที่เคยทำเป็นประจำ 
  • ไม่ต้องงดน้ำ งดอาหาร ดื่มชา และกาแฟได้ หากดื่มเป็นประจำอยู่แล้ว แต่ในกรณีที่ไม่ได้ดื่มประจำให้งด ชา และกาแฟ

ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่ทานยาบางชนิด 

กลุ่มยาไมเกรน 

  • cafergot avamigran Tofago งด 5 วันก่อนฉีด
  •  tripan เช่น relpax  งด 24 ชั่วโมงก่อนฉีด 

กลุ่มยาต้านอาการซึมเศร้า งด 24 ชั่วโมงก่อนฉีด 

  • SSRI เช่น fluoxetin sertraline escitalopram 
  • SNRI เช่น venlafaxine duloxetine
  • Tricyclic antidepressant 

กลุ่มยาลดน้ำมูก งด 24 ชั่วโมงก่อนฉีด

  • Pseudoephedrine 

กลุ่มยาอื่นๆ 

  • น้ำมันกัญชา แผ่นแปะนิโคติน อาหารเสริม และสมุนไพรต่างๆ งด 3-5 วันก่อนฉีด
  • ยาคุมกำเนิด ม่ต้องงด แค่ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ในส่วนของการซักประวัติก่อน 

  • บุคคลที่ควรเลื่อนฉีดวัคซีน 

 หญิงหลังคลอดที่ตั้งครรภ์ปกติน้อยกว่า 6 เดือน 

หญิงหลังคลอดที่เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างครรภ์โดยเฉพาะภาวะครรภ์เป็นพิษมากกว่า 6 สัปดาห์ 

ผู้ที่มีประวัติในช่วงเวลาน้อยกว่า 3 เดือน เช่น บาดเจ็บศีรษะ โรคหลอดเลือดสมอง 

ผู้ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบประสาท และสมอง อาการยังไม่คงที่อย่างน้อย 4 สัปดาห์ 

  • คำแนะนำสำหรับผู้เป็นโรคผิวหนัง 

นอกจากนี้ "สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย" ให้คำแนะนำเกี่ยวกับ วิธีเตรียมตัวและดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วย 4 "โรคผิวหนัง" ได้แก่ "ลมพิษ" "ตุ่มน้ำพองใส" หรือ "แพ้ภูมิตัวเอง" "ภูมิแพ้ผิวหนัง" และ "สะเก็ดเงิน" ก่อนและหลังฉีด "วัคซีนโควิด-19" ดังนี้

162323806969

162323807565

162323808371

162323808983

  • เรื่องสำคัญ ต้องแจ้งก่อนฉีด 

นอกจากนี้ ก่อนการเข้ารับวัคซีนในส่วนของการคัดกรอง ก็มีสิ่งที่ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนฉีดวัคซีนเช่นกัน โดยเรื่องสำคัญที่ต้องแจ้งคือ

  • เคยติดเชื้อโควิด (ต้องหายสนิท 3 เดือนค่อยฉีดวัคซีนได้)
  • เคยอยู่กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อ แต่กักตัวครบ 14 วัน ก่อนมาฉีดวัคซีน
  • เคยมีไข้ ไม่สบายในช่วง 2 สัปดาห์ 
  • มีประวัติทานยากลุ่มละลายลิ่มเลือด
  • มีประวัติแพ้ยาแพ้อาหาร หรือแพ้วัคซีนใดบ้าง 
  • ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ (เว้นประมาณ 1 เดือน ถึงจะฉีดวัคซีนโควิดได้)
  • โรคประจำตัว 
  • มีรอยช้ำ จ้ำเลือด เลือดออกผิดปกติ หรือใช้ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด
  • มีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือใช้ยากดภูมิคุ้มกันอยู่ เช่น สเตียรอยต์ขนาดสูง ยารักษาโรคมะเร็ง 
  • ตั้งครรภ์ หรือมีแผนจะตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร 

ที่มา สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย, คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย