'วรเจตน์' ฟังคำพิพากษา คดีฝ่าฝืนคำสั่ง คสช.ไม่ไปรายงานตัว

'วรเจตน์' ฟังคำพิพากษา คดีฝ่าฝืนคำสั่ง คสช.ไม่ไปรายงานตัว

ศาลนัดฟังคำพิพากษา 'วรเจตน์ ภาคีรัตน์' คดีฝ่าฝืนคำสั่งคสช. ไม่ไปรายงานตัวที่ค่ายทหาร

8 มิ.ย. 64 ที่ศาลแขวงดุสิต ซอยสีคาม ถ.นครไชยศรี  ศาลนัดฟังคำพิพากษาในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นาย วรเจตน์ ภาคีรัตน์ นักวิชาการกฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ถูกฟ้องเป็นจำเลยในความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 5/2557 และ 57/2557 ไม่ไปรายงานตัวที่ค่ายทหาร 

ซึ่งต่อมาคดีถูกโอนมายังศาลเเขวงดุสิต ซึ่งฝ่ายจำเลยได้ยื่น คำร้องขอให้ศาลส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าบทกฎหมายที่ใช้บังคับแก่คดีขัดหรือแย้งต่อรัฐมนูญ” ฉบับลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2563 เเละต่อมา ศาล รธน. มีคำวินิจฉัย ประกาศ คสช. ดังกล่าวกำหนดโทษคนไม่รายงานตัวขัดรัฐธรรมนูญ

นายวรเจตน์ กล่าวว่า คดีนี้ตนมายื่นคำร้องหน้าศาลรัฐธรรมนูญในช่วงท้ายๆคดีของการสืบพยานที่ศาลแขวงดุสิต ตนได้ยื่นคำร้องต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดใหม่ว่า ประกาศของ คสช.ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ตามช่องทางมาตรา 212 เพราะถ้าตนไปยื่นเร็ว ก็ต้องไปพบกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดก่อน  ก็ไม่แน่ว่าจะมีคำวินิจฉัยออกมาอย่างไร เพราะที่ผ่านมามีความพยายามที่นำคดีเข้าสูการวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในประเด็นคล้ายๆกันตลอดมา ซึ่งแนวเดิมนั้นยังไม่เคยมีการตรวจสอบคำสั่งต่างๆของ คสช.เลย เพราะศาลธรรมนูญชุดก่อนๆจะบอกว่าคำสั่งของคสช.ไม่ขัดรัฐธรรมนูญเพราะมีการรับรองไว้แล้วหรือมีการรับรองความชอบของคำสั่งนั้นๆไว้แล้ว

แต่ครั้งหลังนี้ศาลรัฐธรรมนูญได้มีการตรวจสอบคำสั่งแล้ว  แม้ว่าผลจะออกมาตรงกับที่ตนขอไปก็จริง แต่ว่าก็ยังไม่ครบเพราะมีบางประเด็นที่ตนได้ร้องเข้าไปแต่ศาลก็ยังไม่มีคำพูดออกมาว่าคำสั่งของคสช.ออกมาโดยชอบหรือไม่ เเละมีวิธีการจะเข้าไปตรวจสอบอำนาจของคสช.ในการออกคำสั่งได้อย่างไร ซึ่งหากมีคำวินิจฉัยออกมาชัดเจนในคราวเดียวทั้งหมดก็จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นๆด้วย

สำหรับคดีของตนที่ร้องต่อศาลนั้นมีการวินิจฉัยว่าประกาศของคสช.ขัดรัฐธรรมนูญ เพราะมีการกำหนดโทษเกินกว่าเหตุและประกาศของคสช.มีผลย้อนหลังจึงขัดต่อรัฐธรรมนูญเนื่องจากคสช. เรียกตนเข้าไปรายงานตัวตอนเช้าตอนบ่ายก็จะสั่งกำหนดโทษ และในวันนี้จะรอฟังคำวินิจฉัยคำพิพากษาของศาลแขวงดุสิตว่าจะมีการวินิจฉัยข้อกฎหมายอย่างไร