ส่องงบ 'วัคซีนโควิด' 2,800 ล้านบาท อยู่ที่ไหนบ้าง ในวิกฤติ 'โควิด-19'

ส่องงบ 'วัคซีนโควิด' 2,800 ล้านบาท อยู่ที่ไหนบ้าง ในวิกฤติ 'โควิด-19'

ส่องรายละเอียดงบ "วัคซีนโควิด" มูลค่ากว่า 2,800 ล้านบาท ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อวิจัยและพัฒนาวัคซีน รับมือกับสถานการณ์ระบาดของ "โควิด-19" จนถึงตอนนี้ เม็ดเงินเหล่านั้น หายไปอยู่ที่ไหนบ้าง?

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 5 มิ.ย.2564 เพจเฟซบุ๊ค ไทยคู่ฟ้า ได้เปิดเผยถึงงบประมาณกว่า 2,800 ล้านบาท ที่รัฐบาลได้แจกจ่ายเพื่อวิจัยและพัฒนา เพื่อให้ไทยผลิตวัคซีนโควิดใช้เองได้ในระยะยาวว่า เมื่อผู้เชี่ยวชาญพิจารณาว่า โรคโควิด-19 น่าจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต คล้ายกับไข้หวัดใหญ่ที่วนเวียนมาทุกปี รัฐบาลจึงทุ่มงบประมาณกว่า 2,800 ล้านบาท เพื่อวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ไทยผลิตวัคซีนใช้เองได้ในระยะยาว

ทั้งนี้ในงบประมาณ 2,800 ล้านบาท เพื่อวิจัยและพัฒนาวัคซีนโควิด สำหรับรับมือกับสถานการณ์ โควิด-19 สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ

  1. งบสนับสนุนการวิจัยมูลค่า 1,810.68 ล้านบาท
  2. งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น 995.03 ล้านบาท

  • งบสนับสนุนการวิจัย วัคซีนโควิด มูลค่า 1,810.68 ล้านบาท สำหรับรับมือกับสถานการณ์ โควิด-19

งบชุดแรก สนับสนุนการวิจัย วัคซีนโควิด มูลค่า 1,810.68 ล้านบาท สำหรับรับมือกับสถานการณ์ โควิด-19 ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 29 ..63 จัดสรรให้สถาบันวัคซีนแห่งชาติ นำไปสนับสนุนการวิจัยแก่หน่วยงานทั้งรัฐและเอกชน ได้แก่

1.พัฒนาและผลิตวัคซีนแบบ DNA โดย บริษัท ไบโอเนท-เอเชีย จำกัด 650 ล้านบาท

2.พัฒนาวัคซีนต้นแบบสำหรับเชื้อกลายพันธุ์ โดย สวทช. 200 ล้านบาท

3.ทดสอบวัคซีนที่ผลิตในประเทศ โดย บริษัท ใบยาไฟโตฟาร์ม จำกัด 160 ล้านบาท 

4.เตรียมโรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติเป็นสถานที่ผลิต และห้องปฏิบัติการเฉพาะทางด้านการวิเคราะห์และทดสอบคุณสมบัติ โดย .พระจอมเกล้าธนบุรี 562 ล้านบาท

5.เตรียมความพร้อมในการแบ่งบรรจุวัคซีน โดย องค์การเภสัชกรรม 156.8 ล้านบาท 

6.ขยายศักยภาพการผลิตระดับอุตสาหกรรม โดย .องค์การเภสัชกรรม-เมอร์ริเออร์ชีววัตถุ จำกัด 81.88 ล้านบาท

  • งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น 995.03 ล้านบาทสำหรับรับมือกับสถานการณ์ โควิด-19

ส่วนงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นฯ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประจำปีงบประมาณ 2563 อีก 995.03 ล้านบาท หน่วยงานผู้รับทุน ได้แก่

1.ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 365 ล้านบาท

2.บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด 596.24 ล้านบาท เพื่อผลิตและส่งมอบวัคซีนให้รัฐบาลในมูลค่าเท่ากับทุนที่ได้รับ

3.ศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 33.79 ล้านบาท

ทั้งนี้มุ่งหวังให้ประเทศไทยพึ่งพาตนเองด้านวัคซีนได้ มีความมั่นคงทางสุขภาพ ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถขึ้นเป็นศูนย์กลางในการวิจัย พัฒนา และผลิตวัคซีนของภูมิภาคได้ในอนาคต