'พฤกษาเน็กซ์' จิ๊กซอว์โต้คลื่นดิจิทัล - นิวนอร์มอล

'พฤกษาเน็กซ์' จิ๊กซอว์โต้คลื่นดิจิทัล - นิวนอร์มอล

พฤกษา ดิสรัปองค์กรรับมือโลกดิจิทัล-นิวนอร์มอลนำร่องตั้งทีมพฤกษาเน็กซ์ ดึงแนวคิดสตาร์ทอัพมาพัฒนานวัตกรรม -บริการ รองรับพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนไปหลัง “โควิด ดิสรัปชัน”พร้อมสื่อสารแนวคิด“Tomorrow Reimagined”จาก3 เมกะเทรนด์เพื่อสร้างการเติบโตยั่งยืน

ปิยะ ประยงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หลังจากได้ปรับองค์กรจาก Operating Company เป็น Thinking Company ในช่วงที่ผ่านมา สเต็ปต่อจากนี้ไปคือการดิสรัปตัวเอง ให้ทันโลกดิจิทัลและนิว นอร์มอล ด้วยการนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ มาตอบรับไลฟ์สไตล์การอยู่อาศัยในยุคดิจิทัล รวมถึงการพัฒนายกระดับการดำเนินงานภายในองค์กรพฤกษาให้ก้าวสู่การเป็น Thinking Company เต็มรูปแบบ โดยการนำข้อมูลพฤติกรรมของผู้บริโภคมาวิเคราะห์เจาะลึกเพื่อให้รู้ถึงความต้องการของลูกค้าเพื่อพัฒนาตัวสินค้าแลบริการที่เข้ามาแก้ปัญหาของลูกค้าได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

" ผลพวงจากวิกฤติโควิดเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญสำหรับการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่ต้องการความรวดเร็วในการดำเนินงาน กล้าที่ลงมือทำจึงเป็นที่มาของพฤกษาเน็กซ์ ที่มีวิธีการทำงานแบบสตาร์ทอัพเข้ามาพัฒนาสร้างนวัตกรรม หรือโซลูชั่นใหม่ โดยยังก์ เจนของพฤกษา เพื่อนำไปต่อยอดการทำงานในทุกส่วนขององค์กรเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด "

สมภพ สันติวัฒนกุล ผู้อำนวยการฝ่ายยุทธศาสตร์นวัตกรรมพฤกษาเน็กซ์ กล่าวว่า พฤกษาเน็กซ์ เหมือนกับการสร้าง พื้นที่ทดลองในองค์กร( Sanbox) ขึ้นมาพนักงานที่เข้าร่วมมาจากหลากหลายฟังก์ชั่นไม่จำเป็นฝั่งธุรกิจ บางคนเป็นไอที บางคนเป็นจัดซื้อ สิ่งที่เหมือนกันคือทุกคนเป็น ยังก์เจนเนอร์เรชั่นของพฤกษา ที่สัมผัสลูกค้าและรู้ว่าปัญหาของลูกค้าคืออะไรและมีไอเดียที่จะแก้ปัญหาให้กับลูกค้าจากเดิมไม่มีเวทีให้ทดลอง แต่พอมีเวที จะมีการทดลองทำให้เห็นถึง ปัญหาของลูกค้า(Pain Point)และพัฒนาไอเดียในการแก้ปัญหาให้ตรงใจและแก้ปัญหาให้กับลูกค้าได้จริง โดยสามารถรายงานตรงกับซีอีโอได้

"แนวทางการทำงานจะเป็นรูปAgile ,Design Thinking ,Start Upที่ไม่ยึดติดกับกรอบการทำงานเดิมๆ โดยมี Whatnot Innovation Studioจากประเทศอังกฤษเข้ามาเป็นพี่เลี้ยง ซึ่งพนักงานกลุ่มนี้นำวัฒนธรรมการทำงานใหม่นี้ไปผสมผสานคนในองค์กร เพื่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างยั่งยืน และนำไปสู่การพัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่ๆ "


สำหรับ 2ผลงานที่พัฒนาขึ้นที่สามารถนำมาใช้งานจริง ได้แก่ 1. พฤกษา เฟล็กซ์(Pruksa Flex) นวัตกรรมผนังแบบใหม่ที่สามารถปรับเปลี่ยนพื้นที่ใช้สอยในบ้านได้ตามความต้องการ เริ่มทดลองใช้ใน 2 โครงการ คือบ้านพฤกษา ประชาอุทิศ และบ้านพฤกษา รังสิต-ธัญบุรี และ2.แอสครัป(ASKURP) บริการเพื่อช่วยให้การแลกเปลี่ยน ซื้อขายบ้านเป็นเรื่องที่ง่าย และรวดเร็ว เป็นเสมือนที่ปรึกษาส่วนตัว จนกว่าลูกค้าจะสามารถขายบ้านหลังเก่าและมาซื้อโครงการของพฤกษาได้ ปัจจุบัน มีผู้ใช้บริการในการขายอสังหาริมทรัพย์แล้วกว่า 100 ราย

ขณะเดียวกัน พฤกษาได้มีแนวคิดใหม่ในการพัฒนาสินค้าและบริการ “พฤกษา ใส่ใจเพื่อทั้งชีวิต Tomorrow Reimagined” ที่สอดคล้องกับ3 เมกะเทรนด์ คือ 1.สุขภาพและเวลเนส เน้นเวชศาสตร์เชิงป้องกัน ไม่รอให้เจ็บป่วย 2. ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลง จากสังคมผู้สูงอายุและการทำงานที่บ้าน(Work from Home)และ3.ความยั่งยืน ที่เกี่ยวข้องกับโลกร้อน ฝุ่น PM2.5 ซึ่งเป็นประเด็นคนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญ โดยเฉพาะกลุ่มเจนวายหรือมิลเลนเนียลส์ ซึ่งเป็นกลุ่มหลักในการซื้ออสังหาฯ ถือเป็นความเคลื่อนไหวที่สะท้อนเห็นถึงการเปลี่ยนพฤกษาในการขับเคลื่อนองค์กรเพื่อรองรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปในโลกวิถีใหม่