โควิด-19 -แรงงานข้ามชาติ และการพัฒนาของเศรษฐกิจ

โควิด-19 -แรงงานข้ามชาติ  และการพัฒนาของเศรษฐกิจ

การระบาดของโควิด-19 ทั้งระลอกแรกและระลอกปัจจุบันทำให้ความท้าทายเกี่ยวกับการบริหารจัดการ“แรงงานข้ามชาติ” เวียนกลับมาชัดขึ้นอีกครั้ง และทำให้คิดถึง ผลกระทบต่างๆ

การระบาดของโควิด-19 ทั้งระลอกแรกและระลอกปัจจุบันทำให้ความท้าทายเกี่ยวกับการบริหารจัดการ“แรงงานข้ามชาติ” เวียนกลับมาชัดขึ้นอีกครั้ง และทำให้คิดถึง

ผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้นต่างแรงงานข้ามชาติทั้งในเชิงบวกและเชิงลบเราไม่สามารถมองข้ามบทบาทของ “แรงงานข้ามชาติ” ที่มีต่อความมั่งคงของประเทศ เพราะ“แรงงานข้ามชาติ” สามารถส่งผลได้ทั้งในเชิงบวกและเชิงลบในหลายมิติ 

มิติที่เป็นประเด็นเร่งด่วนในปัจจุบันต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทย คือ การระบาดของโควิดภายในกลุ่มแรงงานทั้งในและนอกระบบ และอีกประเด็นคือ การออกแบบนโยบายการสร้างแรงดึงดูดแรงงานคุณภาพข้ามชาติ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ เช่น โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ความท้าทายของประเด็นนี้ มีหลายมิติและความพยายามของรัฐบาล ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก็มีอย่างต่อเนื่องในการออกแบบและพัฒนานโยบายแรงงานข้ามชาติ แต่จะดูเหมือนว่ายุทธศาสตร์หรือมาตราฐานที่ชัดเจนแบบบูรณาการนั้นยังไม่ปรากฏเด่นชัด

เรามาดูกันก่อนว่าปัจจัยพื้นฐานใดทำให้เกิดแรงงานข้ามชาติซึ่งจะอธิยายด้วยหลักความคิดของ ปัจจัยดึง (Pull Factor) และ ปัจจัยผลัก (Push Factor) เมื่อทราบถึงปัจจัยพื้นฐานแล้วเรามาสังเกตกันว่า กรณีของกลุ่มคนงาน (Blue Collar Worker) และกลุ่มคนที่ทำงานในออฟฟิศ (White Collar Worker) จะส่งผลเหมือนและแตกต่างอย่างไรต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และการวัดผลกระทบจะมองในมุมของระหว่าง Host Country และ Home Country

จากนโยบายเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจที่มีโครงการใหญ่โดยเฉพาะโครงการโครงสร้างพื้นฐานออกมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นทำให้เกิดความต้องการของแรงงานเป็นจำนวนมาก หรือที่เรียกว่าปัจจัยดึง (Pull Factor) ที่สำคัญคือก่อให้เกิดการขาดแคลนแรงงานในประเทศเรา (Host Country) และอีกหนึ่งคือปัจจัยที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนแรงงานข้ามชาติ คือปัจจัยที่เรียกว่า ปัจจัยผลัก(Push Factor) คือ การขาดแคลนงานที่ประเทศต้นทาง (Home Factor) โดยส่วนใหญ่แล้วการเกิดการไหลของแรงงานข้ามชาติจะสรุปผลไปในทิศทางบวกโดยภาพรวม แต่ระดับผลที่จะเป็นบวกหรือลบนั้นก็ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการของประเทศรับ (Host Country)มากกว่า 

ประเด็นสำคัญในปัจจุบัน คือ การควบคุมการแพร่ระบาดของการติดต่อของโควิด-19 ในกลุ่มแรงงานส่งผลต่อเศรษฐกิจในทุกภาคส่วนทั้งผู้ประกอบการรายย่อยจนถึงรายใหญ่ และนี้ก็เป็นอีกหนึ่งโอกาสที่รัฐสามารถออกมาตรฐานแรงงานที่ชัดเจนต่อการบริหารจัดการแรงงานต่างชาติ

อีกหนึ่งกรณีคือ การออกแบบนโยบายการสร้างแรงดึงดูดแรงงานคุณภาพข้ามชาติเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ เช่น โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ดูเหมือนว่าการออกสิทธิพิเศษต่างๆ มาในหลายรูปแบบไม่ว่า จะเป็นนโยบายทางด้านภาษี ด้านที่อยู่อาศัย แต่ประเด็นที่สำคัญคือ การไหลเข้าระยะสั้นมายัง Host Country ส่งผลกระทบต่อการไหลออกของเงินในระยะยาวไปยัง Home Country สุดท้ายแล้ว Host Country อย่างเราจะเหลือประโยชน์เชิงบวกต่อการพัฒนาเศรษฐกิจมากน้อยเพียงก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบนโยบายของทางภาครัฐ

ด้วยที่เราอยู่ในยุคที่เรียกว่า Global Value Chains ดังนั้น ยุทธศาสตร์ในการวางตำแหน่งว่าประเทศของเรานั้นอยู่ตรงไหนของห่วงโซ่นี้ที่ชัดเจน เพราะจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อการพัฒนาและเศรษฐกิของประเทศระยะยาว ประเด็นแรงงานข้ามชาติถึงจะไม่ใช่ประเด็นหลักต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่ด้วยการเกิดการค้าขายระหว่างประเทศและการพัฒนาประเทศนั้น ก็คงมียังมีการเคลือนไหลของแรงงานอย่างที่หลีกเหลี่ยงไม่ได้ การบริหารจัดการผลกระทบของเคลือนไหลของแรงงานต่างชาติไม่ว่าจะเป็นแรงงาน Blue Collar หรือ White Collar นั้น ขึ้นอยู่กับการที่เรามียุทธศาสตร์และมาตราการแรงที่ชัดเจนและเป็นแบบบูรณาการ