GUNKUL ทุ่ม1.9 พันล้าน ปั้นธุรกิจกัญชงเต็มกำลัง หนุนรายได้โต

GUNKUL ทุ่ม1.9 พันล้าน ปั้นธุรกิจกัญชงเต็มกำลัง หนุนรายได้โต

"กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง" ทุ่มงบลงทุนธุรกิจ 1,900 ล้านบาทใน 3 ปี ลุยธุรกิจกัญชง เริ่มปลูกได้ต.ค.นี้และออกผลิตผลิตช่วงปลายปีเริ่มรับรู้รายได้ พร้อมผลิตเต็มกำลังคาดในไตรมาส 3 ปี 65 ครบ 1,100 กิโลกรัมต่อวัน หนุนรายได้เป็นหลักพันล้านในอนาคต

นายพงษ์สกร ดำเนิน ประธานเจ้าหน้าที่ปฎิบัติการ สายงานธุรกิจพลังงาน บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ GUNKUL เปิดเผยว่า สำหรับความคืบหน้าการดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับการปลูกและโรงสกัดกัญชง คาดว่าจะเริ่มปลูกได้ต้นเดือนต.ค.นี้และเริ่มออกผลิตในช่วงปลายปีนี้ พร้อมสกัดและเริ่มออกจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ได้ในช่วงเดือนก.พ.ปี2565 ซึ่งมีโอกาสทำได้เร็วกว่าแผนที่วางไว้

ส่วนงบลงทุนนั้น เบื้องต้นคาดว่าจะมีมูลค่า 1,900 ล้านบาท  ในช่วง3 ปีแรก (ปี2564-2566)  แบ่งเป็นงบลงทุนโรงเรือน 1,500 ล้านบาท ลงทุนโรงสกัด 300 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีก 100 ล้านบาท  ทั้งนี้ โรงสกัดจะมีผลผลิตในไตรมาส 4 ปี 25664 เริ่มต้น 100 กิโลกรัมต่อวัน และเพิ่มเป็น 500  กิโลกรัมต่อวันในช่วงไตรมาส 2 ปี 2565 โดยจะผลิตเต็มกำลังในไตรมาส 3 ปี 2565 ครบ 1,100 กิโลกรัมต่อวัน หลังจากนั้นขึ้นอยู่กับการนำไปจำหน่ายทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ต่อไป

นอกจากนี้ คาดว่าบริษัทจะเริ่มรับรู้รายได้จากธุรกิจกัญชงเข้ามาในช่วงปลายปีนี้ พร้อมคาดหวังว่าธุรกิจนี้จะสร้างรายได้กลับเข้ามาเป็นหลักพันล้านบาทได้ในอนาคต เนื่องจากตลาดค่อนข้างมีความต้องการสารสกัดจากกัญชงค่อนข้างมาก

 

นายสมบูรณ์ เอื้ออัชฌาสัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ GUNKULเปิดเผยว่า บริษัทคาดการณ์การเติบโตระยะปี 2565-2567 ซึ่งยังไม่รวมธุรกิจใหม่ (ธุรกิจกัญชง) มีรายได้ เติบโตไม่ต่ำกว่า 15-20% ต่อปี และ      อิบิด้าจะเติบโตไม่ต่ำกว่า 15-20% ต่อปี หรือในปี 2567จะมีรายได้รวมราว 15,000ล้านบาทและอิบิด้าทะลุ7,000 ล้านบาท   โดยในปี 2564 ตั้งเป้าหมาย รายได้รวมและอิบิด้าเติบโต 15-20%  จากปีก่อน2563 มีรายได้รวมที่10,975ล้านบาท และอิบิด้าที่ 5,809 ล้านบาท

ทั้งนี้บริษัทมีความพร้อมลงทุนใหม่ ในปี 2564-2566 ด้วยงบลงทุนทั้งสิ้น 20,000 ล้านบาทหรือใช้งบลงทุนเฉลี่ยต่อปีที่ 7,000 ล้านบาท แบ่งเป็นลงทุนในธุรกิจโรงไฟฟ้า 17,000 ล้านบาท  สำหรับการเพิ่มกำลังผลิตได้ 400-500 เมกะวัตต์ และอีก 3,000ล้านบาท ธุรกิจ Built2Suit จำนวน 10 สาขา   

สำหรับแผนธุรกิจในปีนี้ ทำให้รายได้เติบโตตามเป้าหมายทะลุ 10,00 0ล้านบาท  ภายใต้ 4 กลยุทธ์หลัก คือธุรกิจ High Voltage Equipment คาดว่าจะมีรายได้ 1,500 ล้านบาทในปีนี้ มาจากอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ   ขณะที่ ธุรกิจ รับเหมาก่อสร้าง (Construction and Turnkey)  มาจากงานแบล็คล็อคปีก่อน 8,000-9,000ล้านบาท จะรับรู้เป็นรายได้ในปีนี้อย่างน้อย 2,800-3,000 ล้านบาท และตั้งเป้าหมายสร้างแบล็คล็อคในปีนี้อีกไม่ต่ำกว่า 10,000ล้านบาท   

และธุรกิจโรงไฟฟ้า (ลมและโซลาร์)   ในปีนี้จะเพิ่มกำลังการผลิตอย่างน้อย 100-150 เมกะวัตต์ ผ่านทั้งการซื้อกิจการและโซลาร์ลูฟท็อป PPA ทั้งในไทยและต่างประเทศ  โดยเฉพาะในเวียดนาม อยู่ระหว่างการทำดิลดิลิเจนท์ 400-500 เมกะวัตต์ และในไทยอีกก 100 เมกกะวัตต์ ทั้งพลังงานลมและโซลาร์  ตั้งเป้าหมายภายในปี 2566 จะมีกำลังการผลิตที่ 1,000 เมกะวัตต์ จากปัจจุบันอยู่ที่ 629 เมกะวัตต์

 นอกจากนี้ยังมีงธุรกิจที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ที่บริษัทสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ อีก 2 โครงการ  เช่น การศึกษานวัตกรรมแบตเตอร์รี่

นายสมบูรณ์ กล่าวว่า  สำหรับแนวโน้มผลการดำเนินงานในช่วง 2 ไตรมาสแรกปีนี้ ดีกว่าช่วงเดียวกันปีก่อ แน่นอน จากไตรมาส 1 ปีนี้ กำไร 608.59ล้านบาท เติบโต 38% และรายได้ 2,323 ล้านบาท เติบโต เพิ่ม 31% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน

และในช่วงครึ่งปีหลังปีนี้ ยังเติบโตจากดีขึ้นต่อเนื่อง เนื่องจากกระแสลมโดยปกติจะดีขึ้นในช่วงไตรมาส 3 ปีนี้ ต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาส 1 ปีหน้า แต่ต้องยอมรับว่า ในช่วงไตรมาส 2 นี้อาจได้รับผลกระทบจากโครงสร้างรายได้บริษัทในปัจจุบันยังได้รับผลกระทบจากธุรกิจพลังงานลม ที่คิดเป็นสัดส่วนรายได้ถึง 50%ของรายได้รวมซึ่ง

ทางด้านการเข้าประมูลงานก่อสร้าง ในช่วง 5 เดือนแรกปีนี้  สามารถประมูลงานได้แล้ว 1.700 ล้านบาท และในช่วงที่เหลือของปีนี้ ยังมีวงเงินต้องเข้าประมูลอีกราว  20,000 ล้านบาท  คาดหวังได้งานส่วนนี้อย่างน้อย 15% โดยปัจจุบันมีงานแบล็คล็อคในมือราว 9,600 ล้านบาท ซึ่งอาจมีความล่าช้าบางโครงการในการได้รับอนุญาตและการส่งมอบที่ดิน  ทำให้ปัจจุบันมีงานแบล็คล็อคในมือต้องดำเนินการ 5,700 ล้านบาท ทำให้คาดว่ารายได้จากธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในปีนี้เติบโตปีก่อน ไม่น้อยกว่า 70%

นอกจากนี้บริษัทมีฐานะการเงินแข็งแกร่ง มีกระแสเงินสดเพียงพอสนับสนุนการลงทุนใหม่และธุรกิจเดิมตามแผน ด้วยหนี้สินต่อทุนหรือดีอียังอยู่ระดับต่ำที่ 1.6 เท่าหรือไม่เกิน1.8 เท่าตามเป้าหมาย  อีกทั้งยังมีเงินทุนหมุนเวียนที่เป็นสภาพคล่องในมืออีกราว 6,000-7,000ล้านบาท เพียงพอสนับสนุนการลงทุนต่างๆ ตามแผน