วัคซีนต้องเข้าไปหา 'กลุ่มติดเตียง' ไม่ใช่ให้กลุ่มเสี่ยงไปหาวัคซีน

วัคซีนต้องเข้าไปหา 'กลุ่มติดเตียง' ไม่ใช่ให้กลุ่มเสี่ยงไปหาวัคซีน

ในขณะที่ภาครัฐ เริ่มเปิดให้ กลุ่มผู้สูงอายุ และ กลุ่ม 7 โรคเรื้อรัง ลงทะเบียนรับวัคซีนโควิด 19 แต่กลุ่มผู้สูงอายุ ไม่ใช่แค่คนที่อายุ 60 ปีขึ้นไปเท่านั้น ยังรวมถึงกลุ่มติดบ้าน ติดเตียง ดังนั้นวัคซีนต้องเข้าไปหา'กลุ่มติดเตียง"เป้่าหมายถึงจะได้รับวัคซีน

โควิด 19 เป็นวิกฤติของสังคมไทย และเป็นโอกาสในการเปลี่ยนแปลงระบบสาธารณสุข ที่ผ่านมา มีการปรับเปลี่ยนการให้บริการของ รพ. ทั่วประเทศ ลดโอกาสแพร่เชื้อ ทั้งการแพทย์ทางไกล ส่งยาถึงบ้าน รับยาใกล้บ้านผ่านความร่วมมือของอสม. และ รพ.สต. กระทั่งเริ่มมีการปูพรมฉีดวัคซีน การใช้กลไกของชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมจึงถือเป็นอีกหนึ่งความท้าทายครั้งใหญ่

การเปิดลงทะเบียน "วัคซีนโควิด 19" ในกลุ่มผู้สูงอายุ และ 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง ผ่านระบบ “หมอพร้อม” ตั้งแต่วันที่ 1 – 18 พ.ค. 64 (เวลา 08.00 น.) มีผู้ลงทะเบียน 6.9 ล้านราย ขณะที่ จังหวัดลำปาง ถือเป็นต้นแบบที่เรียกว่าประสบความสำเร็จในการใช้พลังชุมชน รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการเคาะประตูบ้าน สร้างความเข้าใจให้กับคนในชุมชนเห็นถึงประโยชน์ในการฉีดวัคซีน จนมีการลงทะเบียนมากกว่า 2 แสนราย ติดอันดับ 2 รองจากกรุงเทพฯ

ความท้าทายในการระดมฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อโควิด 19 ในครั้งนี้ นอกจากการให้ความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพ ความปลอดภัย ของวัคซีนแล้ว การที่ทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ จึงเป็นอีกส่วนสำคัญที่จะนำไปสู่การสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้สำเร็จ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเปราะบาง ที่อาจเข้าไม่ถึงเทคโนโลยีที่ใช้ลงทะเบียน แต่กลับเป็นกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อแม้ไม่ได้ไปไหน และนอกจากนั้นยังรวมไปถึงการมองครอบคลุมด้านเศรษฐกิจ การดำรงชีวิตทั้งปัจจุบัน และหลังจากการระบาดจบลง

หากย้อนกลับไปในการระบาดระลอก 1 จะพบว่า "กลุ่มผู้สูงอายุ" โดยเฉพาะกลุ่มโรคเรื้อรัง และผู้ที่ต้องรับบริการฟื้นฟู ถือว่าได้รับผลกระทบอย่างมากจากการล็อคดาวน์ ลดการเดินทาง เคลื่อนย้ายข้ามจังหวัด งดเข้าพื้นที่เสี่ยง และการงดให้บริการทางการแพทย์ใน รพ. ยกเว้นกรณีฉุกเฉิน โดยนำการแพทย์ทางไกล ส่งยาถึงบ้าน รับยาใกล้บ้าน ผ่านรพสต. เข้ามาแทน

ขณะเดียวกัน รพ.มีการปรับเปลี่ยนพื้นที่รองรับผู้ป่วยโควิด โดยเฉพาะระลอก 3 “ดร.ภญ.พัทธรา ลีฬหวรงค์” คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุในงานแถลงข่าว “COVID-19 : การเข้าถึงบริการทางสังคมและสุขภาพของผู้สูงอายุ” โดย มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ร่วมกับ ไทยพีบีเอส ผ่านระบบ Zoom ว่า จากการสำรวจ รพ. ส่วนใหญ่ในระดับระดับตติยภูมิหรือรับส่งต่อผู้ป่วยอาการหนัก มีการปรับเปลี่ยนห้องไอซียู และบุคลากรมาช่วยงานด้านโควิดมากขึ้น สิ่งกังวล คือ “คนไข้อาการรุนแรง” หากมีเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงสูงอายุ ที่มีโอกาสรุนแรงกว่ากลุ่มอื่น หากระบบสาธารณสุขไทย ต้องรับผู้ป่วยอาการรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่อัตราการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์ที่กว่า 65% ติดเชื้อจากการปฏิบัติหน้าที่ หมายความว่าจะขาดบุคลากรในการดูแลผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุติดเตียง ที่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

ทั้งนี้ แนวทางการบริหารจัดการ ด้านการวัคซีนในกลุ่มผู้สูงอายุ ของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้แบ่งกลุ่มผู้สูงอายุเป็น 3 กลุ่ม โดยต้องอาศัย อสม. หรือ อสส. ในการสำรวจ สื่อสาร ประชาสัมพันธ์ ประเมิน จองคิวในระบบ ได้แก่ “กลุ่มแอคทีฟ” ซึ่งอาจอยู่ในวัยเกษียณ หรือยังสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนในระบบปกติ “กลุ่มติดบ้าน” มีการจัดรถรับส่ง โดยร่วมกับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มูลนิธิ หรือเอกชน และเข้ารับการฉีด วัคซีนในระบบปกติ จัดทำ Fast Track ในระบบฉีด และ สุดท้าย คือ “กลุ่มติดเตียง” มีการวางแผนจัดรถพยาบาลพร้อมทีมแพทย์ และ พยาบาล ไปฉีดให้ที่บ้าน มีกล่องเก็บวัคซีน รวมถึงรอสังเกตอาการอย่างน้อย 30 นาทีจึงกลับ โดยทั้ง 3 กลุ่มต้องมี อสม. เยี่ยมติดตามอาการในวันที่ 1 , 7 และ 30

“ผศ.พญ.สิรินทร ฉันศิริกาญจน” คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความเห็นว่า กลุ่มติดเตียง หากอยู่ในชุมชนหรือต่างจังหวัดไม่ค่อยเป็นห่วงเพราะมี อสส. หรือ อสม. แต่คนที่อยู่ในบ้านเดี่ยว บ้านจัดสรร อาคารพาณิชย์ ต้องมีการจัดการร่วมกันภายในชุมชน

“สธ. เตรียมส่งวัคซีนไปที่บ้านให้กับผู้ป่วยติดเตียง สิ่งที่กังวล คือ คือการสังเกตอาการ เรามีการวางแผนแล้วว่าคนที่ไปฉีดวัคซีนที่บ้านต้องเฝ้าดูอาการ 30 นาที แต่อาจจะต้องบวกเวลาเพิ่มให้มากกว่านั้น รวมถึงบุคลากรที่เดินทางลงไปฉีดต้องคิดเผื่อว่า หากแพ้รุนแรงต้องสามารถกู้ฟื้นคืนชีพได้หากจำเป็น ต้องมีความพร้อม ต้องคิดสิ่งที่เลวร้ายที่สุดที่จะเกิดขึ้น แม้จะไม่อยากให้เกิด”

ในกลุ่มผู้สูงอายุติดเตียง ควรอย่างยิ่งที่จะฉีดวัคซีน เพราะปัจจุบันติดเชื้อกันเยอะโดยเฉพาะในครอบครัว แม้จะไม่ได้ออกไปข้างนอก แต่หากคนในบ้านยังออกไปทำงาน พบปะคนอื่นถือว่าอันตราย เพราะฉะนั้น ขอให้ฉีดทุกคน”

162135144792

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

สำหรับข้อสงสัยว่า วัคซีนโควิด 19 มีข้อพึงระวังหรือไม่ และกลุ่มใดที่ควรหรือไม่ควรฉีดวัคซีนบ้าง “ผศ.พญ.สิรินทร” อธิบายว่า คนไม่ควรได้วัคซีนเลย คือ คนที่คาดว่าจะ อยู่ได้ไม่เกิน 6 เดือนข้างหน้า เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย เช่น มะเร็ง เพราะหากเจ็บป่วยในโรคระยะท้าย ร่างกายสร้างภูมิไม่ได้อยู่ดี รวมถึง มีประวัติแพ้ยา หรือ วัคซีนอย่างรุนแรง

แต่ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า สิ่งเกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีน แบ่งเป็น “ผลข้างเคียงของวัคซีน” เช่น มีไข้ ปวดบริเวณที่ฉีด ปวดเมื่อยเนื้อตัว ส่วนคำว่า “แพ้วัคซีน” คือ ฉีดแล้วน็อคไปเลย ผื่นขึ้นรุนแรง เป็นหอบ หืด หากมีอาการแพ้รุนแรง อย่าเพิ่งฉีด นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงกลุ่มคนที่ได้รับพลาสม่า ในการรักษาโควิด ใน 3 เดือนที่ผ่านมา และคนที่ตรวจเจอเชื้อโควิด 19 ใน 10 วันที่ผานมา ยังไม่ควรได้รับวัคซีน และพิจารณาในภายหลัง

ดังนั้น ผู้สูงอายุทุกคนที่คิดว่ายังไม่เสียชีวิตภายใน 6 เดือน หรือไม่ได้แพ้วัคซีน หรือเพิ่งรักษาโควิด ทุกคนควรได้วัคซีน อย่ากลัววัคซีน ให้กลัวโควิด แม้ในตอนนี้ผู้ป่วยหนักเรายังจัดการได้เพราะมีเตียง มีบุคลากร แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ติดกันเยอะแยะมากมาย ในที่สุดอัตราตายจะสูงเพราะเราจะไม่ไหว

ทั้งนี้ จากข้อสงสัยที่ว่า เคยมีประวัติแพ้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ผืนขึ้นทั้งตัว ควรฉีดวัคซีนโควิด 19 ตัวไหน “ผศ.พญ.สิรินทร” อธิบายว่า หากมีลักษณะดังกล่าว ต้องคุยกับแพทย์ด้านภูมิแพ้ดูว่า แพ้วัคซีนอะไร เพราะแพ้ได้หลายแบบ เนื่องจากการทำวัคซีน มีทั้งวัคซีนเชื้อตาย และวัคซีนเชื้อเป็นไปทำให้อ่อนแรงลง จนทำให้ติดเชื้อไม่ได้ และฉีดเข้าไป หรือ ตัวอื่นที่ใส่เข้าไปพร้อมเชื้อโรค เพื่อกระตุ้นภูมิฯ ดังนั้น ต้องวิเคราะห์ว่าแพ้อะไร ทางแพทย์ภูมิแพ้และเภสัชกรต้องหาวัคซีนที่มีโอกาสแพ้น้อยที่สุดมาฉีดให้

ส่วนผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้แอสไพริน ร่วมกับ โรคความดัน เบาหวาน หัวใจ สามารถฉีดวัคซีนได้ การแพ้ยาแอสไพรินไม่เกี่ยวข้องกับการแพ้วัคซีน ส่วนผู้ป่วยที่เป็นเกล็ดเลือดต่ำ ความดันต่ำ สามารถฉีดได้เช่นกัน เกล็ดเลือดต่ำ สิ่งที่เป็นห่วง คือกลัวว่ามีเลือดออก กลุ่มที่ใช้ยาต้านการละลายลิ่มเลือด จะต้องบอกเจ้าหน้าที่ เพราะจะได้ใช้เข็มเล็กลง และกดนานขึ้น

“ผู้ป่วยที่มีอาการทางโรคประสาท โรคประจำตัวที่ควบคุมไม่ได้ หรืออยู่ระหว่างเจ็บไข้ได้ป่วย อาจต้องรอให้การรักษาผ่านไปก่อน หากไม่มั่นใจ สามารถถามแพทย์ที่ดูแล อย่าไปกลัววัคซีน ให้กลัวโควิด 19” ผศ.พญ.สิรินทร กล่าว