ดีแทค เปิดปฏิบัติการ ‘เปลี่ยนผ่านดิจิทัล’ ภายใต้วิถี ‘โค ครีเอชั่น’

ดีแทค เปิดปฏิบัติการ ‘เปลี่ยนผ่านดิจิทัล’ ภายใต้วิถี ‘โค ครีเอชั่น’

“ดีแทค” เปิดปฏิบัติการ ‘เปลี่ยนผ่านดิจิทัล’ ของธุรกิจไทย ภายใต้วิถีแห่งการร่วมสร้าง (Co-Creation) โดย “ดร.เรดวัน ฮาซาน คาน” ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นธุรกิจของดีแทค ผู้อยู่เบื้องหลังเปลี่ยนผ่านสำคัญของดีแทค และภาคธุรกิจต่างๆ

วิกฤตโควิด-19 ไม่เพียงแสดงให้เห็นถึงความสำคัญเทคโนโลยีไอซีทีที่ช่วยเศรษฐกิจและสังคมให้ดำเนินต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง วิกฤตินี้แสดงถึงภาวะ ‘ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล’ เป็นปรากฏการณ์เร่งด่วนของประชาคมโลก สอดคล้องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ

“ดีแทค” เปิดปฏิบัติการ ‘เปลี่ยนผ่านดิจิทัล’ ของธุรกิจไทย ภายใต้วิถีแห่งการร่วมสร้าง (Co-Creation) โดย “ดร.เรดวัน ฮาซาน คาน” ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นธุรกิจของดีแทค ผู้อยู่เบื้องหลังเปลี่ยนผ่านสำคัญของดีแทค และภาคธุรกิจต่างๆ เคยร่วมงานกับเทเลนอร์ "ดร.เรดวัน" เริ่มต้นชีวิตการทำงานกับดีแทคช่วงปลายปีที่ผ่านมาดูแลรับผิดชอบด้านการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีไอโอที คลาวด์คอมพิวติ้ง และ 5จี

“การแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 เร่งให้เกิดการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลในทุกธุรกิจ ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ สาเหตุหลักเพราะพนักงานจำนวนมากหันมาทำงานจากที่บ้าน ธุรกิจต้องดูแลการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล ทั้งกับบุคลากรภายในองค์กรเอง รวมทั้งส่วนงานขาย ซึ่งต้องมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าและให้การสนับสนุนกระบวนการต่างๆ อย่างเป็นดิจิทัลมากขึ้น เราได้เห็นความท้าทายเดียวกันนี้เกิดขึ้นกับดีแทค”

Smart Connect เป็นหนึ่งในโซลูชั่นที่พัฒนาโดย ดร.เรดวัน และสมาชิกจำนวน 5 คนในทีม โซลูชั่นดังกล่าวช่วยให้ธุรกิจปรับตัวสู่ความปกติใหม่ในยุคโควิด-19 ด้วยเครือข่ายที่ปลอดภัย มีสเถียรภาพ และความยืดหยุ่น โซลูชั่นนี้ช่วยให้พนักงานดีแทคเข้าถึงแพลตฟอร์มและพอร์ทัลต่างๆ จากที่ใดก็ได้

“หัวใจในการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านธุรกิจต่างๆ ไปสู่วิถีการทำงานแบบยืดหยุ่นนั้นอยู่ที่ความเรียบง่าย เป็นสาเหตุที่ดีแทคต้องการส่งมอบคุณค่าที่ดีที่สุด และสบายใจ ไร้กังวล (worry-free) ในทุกโซลูชั่นการใช้งาน ทำให้ลูกค้าเข้าถึงบริการเชื่อมต่อและแอพพลิเคชันสำหรับการทำงาน เช่น ไมโครซอฟท์ 365 , Workforce Management และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งเรารวมมาไว้ในแพ็กเกจเดียว”

ประเทศไทยมีอัตราการปรับตัวในการใช้งานดิจิทัล (digital adoption) สูง เห็นจากการใช้งานแอพพลิเคชั่นสำหรับการทำงานโดยลูกค้าของดีแทค ซึ่งเติบโตหลายร้อยเปอร์เซ็นต์หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในทำนองเดียวกัน การแลกสิทธิพิเศษในหมวดชอปปิงออนไลน์บนดีแทคแอพนั้นเติบโต 5 เท่า ซึ่งเห็นกระแสความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในกลุ่มลูกค้าระบบเติมเงินและผู้ใช้งานในต่างจังหวัด

“เมื่อพูดถึงการเปลี่ยนผ่านดิจิทัล สิ่งแรกที่ต้องพิจารณาคือ digital maturity ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ใช้วัดความเข้าใจและประเมินสถานะปัจจุบันขององค์กรในเส้นทางการเปลี่ยนผ่าน ตลอดจนศักยภาพในการส่งมอบคุณค่าทางดิจิทัลผ่านสินค้าและบริการ” ดร.เรดวัน อธิบาย

Digital maturity แบ่งออกเป็น 3 เฟส คือเฟสแรก basic automation หรือใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาทุ่นแรงมนุษย์ในการทำงานที่เป็นกิจวัตร ซึ่งส่วนมากเกี่ยวกับกระบวนการทำงานภายในองค์กร ถัดไปเป็นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ทำงานที่เกี่ยวข้องกับส่วนงานขายซึ่งต้องมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า และการสนับสนุนบริการต่างๆ ผ่านช่องทางดิจิทัล และเฟสที่สามนั้น เป็นการเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ดิจิทัลเต็มตัว ผ่านการสร้างประสบการณ์ลูกค้า พนักงานแบบดิจิทัลตั้งแต่ต้นจนจบ (end-to-end)

“นี่เป็นสาเหตุที่การซื้อเทคโนโลยีใหม่ๆ มา ไม่ได้ทำให้บริษัทของคุณกลายเป็นดิจิทัล ตัวชี้วัดอยู่ที่การเปลี่ยนวัฒนธรรมและทัศนคติ (mindset) ขององค์กร ดังนั้น การเข้าใจและประเมินถึงสถานะของคุณในปัจจุบันได้นั้นจะทำให้องค์กรนั้นบรรลุเป้าหมายในการเปลี่ยนผ่านได้ง่ายขึ้นมาก”

ดร.เรดวัน ทิ้งท้ายว่า การเปลี่ยนผ่านดิจิทัลในภาคธุรกิจจะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของประเทศ และสร้างมาตรฐานใหม่ที่สูงขึ้นทางด้านอุตสาหกรรมและปูทางสู่เป้าหมาย Thailand 4.0