'หมอพร้อม' จองรอ 'ฉีดวัคซีน' โควิด แล้วเกือบ 7 ล้านคน สธ.พร้อมกระจายวัคซีน

'หมอพร้อม' จองรอ 'ฉีดวัคซีน' โควิด แล้วเกือบ 7 ล้านคน สธ.พร้อมกระจายวัคซีน

"หมอพร้อม" เผยยอดจอง "ฉีดวัคซีน"โควิด-19 ล่าสุดเกือบ 7 ล้านคน สธ.ชวนคนไทยฉีดวัคซีนมากขึ้น ระบุประสิทธิภาพวัคซีน 2 ชนิดในไทย กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้กว่า 90%

  • สปสช.เตรียมเงิน 100 ล้านบาท เยียวยาอาการแพ้วัคซีนโควิด

นพ.จเด็จ ธรรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่รัฐบาลมีนโยบายเร่งระดมฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้ได้โดยเร็วและเป็นวงกว้างมากที่สุด รวมทั้งมีนโยบายจ่ายเงินเยียวยาแก่ผู้ที่ได้รับผลไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างความมั่นใจแก่ประชาชนนั้น

ล่าสุด คณะกรรมการ "สปสช." ได้ออกประกาศหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ (ฉบับที่ 5) เรียบร้อยแล้ว โดยในกรณีการเยียวยาผลกระทบหลังฉีดวัคซีนได้เตรียมงบประมาณไว้ 100.32 ล้านบาท สำหรับจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ได้รับความเสียหายจากการฉีดวัคซีน และให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 5 เม.ย. 2564 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ หลังจากเริ่มระดมฉีดวัคซีนไปแล้วระยะหนึ่ง ขณะนี้มี 2 เขตที่เสนอข้อมูลการขอรับเงินช่วยเหลือกรณีอาการไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีน คือ สปสช.เขต 1 เชียงใหม่ จำนวน 218 ราย ตัวเลขเมื่อเทียบกับจำนวนที่ฉีดไปแล้วทั้งหมด 91,551 เข็ม คิดเป็น 0.24% และกลุ่มที่มีอาการรุนแรงมี 0.05% เท่านั้น และคำว่ามีอาการรุนแรงนี้ก็ไม่ใช่อาการรุนแรงน่ากลัวแบบเลือดตกยางออกหรือมีผลจนอาจเสียชีวิตแต่อย่างใด เป็นเพียงวิธีการนับของเขต 1 ว่าผู้ที่ต้องนอนพักในโรงพยาบาลก็นับเป็นกลุ่มที่มีอาการรุนแรงแล้วเท่านั้น และ สปสช.เขต 10 อุบลราชธานี อีกจำนวน 49 ราย ส่วนเขตอื่นๆขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูล

ด้าน พญ.สุชาดา เจียมศิริ รองผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า อาการไม่พึงประสงค์รุนแรงหลังฉีดวัคซีนหรือแพ้วัคซีน จะมีเช่น หอบหืด ผื่นขึ้น หน้าบวม เป็นผื่นเฉพาะที่ หมดสติ ช็อค อาการเหล่านี้สามารถรักษาได้และไม่มีผลในระยะยาว และโอกาสที่จะเกิดการแพ้รุนแรงมีน้อยมาก ส่วนกรณีของวัคซีนโควิดขณะนี้ฉีดเข็มแรกไป 1.46 ล้านโดสแล้ว ไม่มีใครที่มีอาการไม่พึงประสงค์รุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต ส่วนคนที่แพ้ก็อาการดีขึ้นหมดแล้ว

162125065325

  • รายงานผลประสิทธิภาพฉีดวัคซีนโควิดในคนไทย

ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยผลการศึกษาประสิทธิผลการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของวัคซีนโรคโควิด-19 ทั้งสองชนิดที่ฉีดในคนไทย ของศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่า ทั้งวัคซีน "ซิโนแวค" และวัคซีนของแอสตร้าซิเนก้าสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีมากผู้ได้รับวัคซีนเกือบทุกรายสามารถสร้างแอนติบอดีในระดับสูง โดย 97.26% ของผู้ที่ฉีดวัคซีน "แอสตร้าซิเนก้า" เข็มแรกแล้ว 4 สัปดาห์ และ 99.49% ของผู้ที่ฉีดวัคซีน ซิโนแวคสองเข็มแล้ว 4 สัปดาห์ สามารถสร้างแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้

ทั้งนี้ ในการศึกษานี้ ได้ทำการตรวจวัดระดับแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 ในเลือด ด้วยวิธี Roche Elecsys Electrochemiluminescence lmmunoassay (ECLIA) ซึ่งแบ่งการวิเคราะห์ เป็นกลุ่มต่างๆ ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อโควิด โดยเจาะเลือดหลังจากนั้น 4-8 สัปดาห์ เพื่อดูว่าการติดเชื้อโดยธรรมชาติจะสามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้สร้างแอนติบอดีต่อเชื้อโควิด-19 ได้หรือไม่ กลุ่มที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน กลุ่มที่ฉีดวัคซีน "แอสตร้าซิเนก้า" โดยเจาะเลือดก่อนฉีด และหลังฉีดเข็มที่หนึ่งแล้ว 4 สัปดาห์ กลุ่มที่ฉีดวัคซีน"ซิโนแวค"โดยเจาะเลือดก่อนฉีด, หลังฉีดเข็มที่หนึ่งแล้ว 3 สัปดาห์ และหลังฉีดเข็มที่สองแล้ว 4 สัปดาห์

สำหรับผลการตรวจวัดระดับแอนติบอดี และ % ตรวจพบแอนติบอดีในกลุ่มต่างๆ ซึ่งบ่งถึงการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน เป็นดังนี้ (crying)กรณีที่การติดเชื้อโดยธรรมชาติ พบว่า กลุ่มผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อและไม่ได้"ฉีดวัคซีน" 0% (ทุกรายตรวจไม่พบแอนติบอดีต่อเชื้อ) ขณะที่ กลุ่มผู้เคยมีการติดเชื้อโดยธรรมชาติ ตรวจพบแอนติบอดี 92.40% (243 ใน 263 ราย) และมีปริมาณเฉลี่ย 60.9 unit/ml

ในส่วนของ (syringe)วัคซีนของ "แอสตร้าซิเนก้า" ก่อนฉีดวัคซีน 0% (ทุกรายตรวจไม่พบแอนติบอดีต่อเชื้อ) หลังฉีดเข็มแรก 4 สัปดาห์ ตรวจพบแอนติบอดี 97.26% (71 ใน 73 ราย) และมีปริมาณเฉลี่ย 47.5 unit/ml ยังไม่มีผลการตรวจหลังฉีดเข็มที่สอง เนื่องจากยังไม่ถึงกำหนดเวลาฉีดเข็มที่สอง

เมื่อวิเคราะห์ตามกลุ่มอายุและตามเพศของผู้ฉีดวัคซีน"แอสตร้าซิเนก้า" โดยละเอียดแล้ว พบว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนแอสตร้าซิเนก้าเข็มแรก เป็นเวลา 4 สัปดาห์นั้น เพศชาย ตรวจพบแอนติบอดี 93.55% (29 ใน 31 ราย) และมีปริมาณเฉลี่ย 32.9 unit/ml เพศหญิง ตรวจพบแอนติบอดี 100% (42 ใน 42 ราย) และมีปริมาณเฉลี่ย 62.3 unit/ml ขณะที่ กลุ่มอายุ 18-59 ปี ตรวจพบแอนติบอดี 100% (44 ใน 44 ราย) และมีปริมาณเฉลี่ย 67.2 unit/ml ส่วน กลุ่มอายุมากกว่า 60 ปี ตรวจพบแอนติบอดี 93.11 % (27 ใน 29 ราย) และมีปริมาณเฉลี่ย 28.1 unit/ml

162126394382

ด้าน(syringe)(syringe)วัคซีนของ"ซิโนแวค" ก่อน"ฉีดวัคซีน" 0% (ทุกรายตรวจไม่พบแอนติบอดีต่อเชื้อ) หลังฉีดเข็มแรก 3 สัปดาห์ ตรวจพบแอนติบอดี 65.96% (124 ใน 188 ราย) และมีปริมาณเฉลี่ย 1.9 unit/ml หลังฉีดเข็มที่สอง 4 สัปดาห์ ตรวจพบแอนติบอดี 99.49% (196 ใน 197 ราย) และมีปริมาณเฉลี่ย 85.9 unit/ml ดังนั้น วัคซีนซิโนแวค สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีมาก โดยเริ่มสร้างแอนติบอดีหลังฉีดเข็มแรก (ระดับยังต่ำ) และเพิ่มมากขึ้นหลังฉีดครบสองเข็ม ซึ่ง 99.49% ของผู้ที่ฉีดครบสองเข็มแล้วสามารถสร้างแอนติบอดีในระดับสูงมาก

โดยสรุปแล้ว วัคซีนทั้งสองชนิดสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีมาก ผู้ได้รับวัคซีนเกือบทุกรายสามารถสร้างแอนติบอดีในระดับสูง โดย 97.26% ของผู้ที่ฉีดวัคซีนแอสตร้าซิเนก้าเข็มแรกแล้ว 4 สัปดาห์ และ 99.49% ของผู้ที่ฉีดวัคซีนซิโนแวคสองเข็มแล้ว 4 สัปดาห์ สามารถสร้างแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง: ตรวจสอบ!! 'ฉีดวัคซีนโควิด-19' ในคนไทย กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ระดับไหน?

                      เช็คที่นี่! กทม.เปิดชื่อ 25 จุดให้บริการฉีด 'วัคซีน' นอกโรงพยาบาล

                       วิธีเช็คสิทธิ 'ตรวจโควิด' จาก 'สปสช.'

                     

  • กองโรคติดต่อย้ำ ปชช.รีบมารับ "วัคซีนโควิด-19"

พญ.สุชาดา เจียมศิริ รองผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่าข้อแนะนำในการรับวัคซีนทั้ง 2 ชนิดนี้ จริงๆแล้วฉีดอะไรก่อนก็ได้ แต่ถ้าอยู่ในพื้นที่ระบาดควร"ฉีดวัคซีน"โควิดก่อน เพราะวัคซีนโควิดต้องฉีด 2 เข็ม เมื่อรับเข็มแรกแล้วระหว่างรอฉีดเข็มที่สองก็สามารถฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ แต่ถ้ายังไม่ถึงคิวนัดฉีดวัคซีนโควิด ก็สามารถรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ก่อนก็ได้เช่นกัน

ถ้าฉีดวัคซีน 2 ชนิด ระยะห่างดีที่สุดคือ 1 เดือน เช่น รับวัคซีนโควิดเข็มแรกแล้ว อีก 1 เดือนค่อยไปรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ แล้วจากนั้นค่อยไปรับวัคซีนโควิดเข็มที่สอง ซึ่งในส่วนของวัคซีนโควิดแต่ละยี่ห้อก็จะเว้นระยะต่างกันออกไปอีก อย่างเช่น ชิโนแวค แนะนำระยะห่างเข็มแรกและเข็มที่สอง 3-4 สัปดาห์ แต่ถ้าเป็นแอสตร้าเซนเนก้าที่จะฉีดในกลุ่มเสี่ยงไข้หวัดใหญ่ด้วยจะเว้นนาน 3 เดือน ดังนั้นรับเข็มแรกแล้ว จากนั้น 1 เดือนก็ไปรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้” พญ.สุชาดา กล่าว

พญ.สุชาดา กล่าวอีกว่า วัคซีนไม่ว่าจะสำหรับโรคใดก็ตาม เมื่อฉีดแล้วต้องอยู่ในโรงพยาบาลรอดูผลข้างเคียงอย่างน้อย 30 นาที และวัคซีนทุกชนิดมีโอกาสที่จะมีคนมีอาการไม่พึงประสงค์รุนแรงหลังฉีดวัคซีนได้ทั้งหมด ไม่จำกัดแค่วัคซีนโควิดอย่างเดียว รวมทั้งมีโอกาสอาจมีปฏิกิริยาที่สัมพันธ์กับความเครียดจากการ"ฉีดวัคซีน" (ISRR) ได้หมด ซึ่งในส่วนของวัคซีนโควิดก็มีหลายคนที่ฉีดแล้วเกิดอาการ ISRR แต่สุดท้ายก็กลับมาปกติหมด ดังนั้นหาก "ฉีดวัคซีน"แล้วมีอาการผิดปกติ ต้องดูว่าเกิดจากสาเหตุใดกันแน่ ไม่จำเป็นต้องมาจากอาการไม่พึงประสงค์แต่เพียงอย่างเดียว

หากฉีดเข็มแรกแล้วมีอาการ ISRR และผู้รับวัคซีนกังวลที่จะฉีดเข็มที่สอง จะเปลี่ยนไปฉีดอีกยี่ห้อก็ได้ แต่ตอนนี้เรายังไม่มีข้อมูลว่าการเปลี่ยนยี่ห้อในเข็มที่สองจะสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีมากน้อยแค่ไหน แต่ถ้ามั่นใจว่าเป็น ISRR จะใช้วัคซีนเดิมก็ได้เพราะเป็นผลจากจิตใจ” พญ.สุชาดา กล่าว

  • ย้ำอาการไม่พึ่งประสงค์ รักษาได้ไม่มีผลระยะยาว

ขณะที่ "อาการไม่พึงประสงค์"รุนแรงหลังฉีดวัคซีนหรือแพ้วัคซีน เช่น หอบหืด ผื่นขึ้น หน้าบวม เป็นผื่นเฉพาะที่ หมดสติ ช็อค อาการเหล่านี้สามารถรักษาได้และไม่มีผลในระยะยาว และโอกาสเกิดการแพ้รุนแรงมีน้อยมาก จากการ"ฉีดวัคซีน"ต่างๆ 1 ล้านโดสจะเจอประมาณ 2-3 กรณีเท่านั้น ส่วนกรณีของวัคซีนโควิดขณะนี้ฉีดไป 1 ล้านโดสแล้ว ไม่มีผู้เสียชีวิตแม้แต่รายเดียว ส่วนคนที่แพ้ก็อาการดีขึ้นหมดแล้ว อย่างไรก็ดี หากฉีดเข็มแรกแล้วมีอาการแพ้ ควรต้องปรึกษาแพทย์ในเข็มที่สองว่าจะวางแผนอย่างไร เพราะอาการแพ้มีโอกาสเกิดกับเข็มที่สองเช่นกัน

พญ.สุชาดา กล่าวถึงผู้ที่ไม่มั่นใจในการรับวัคซีนโควิดด้วยว่า "วัคซีน"ที่นำมาฉีดในไทย มีการใช้อย่างกว้างขวางทั่วโลก และในไทยก็ฉีดกันไปหลักล้านโดส