CK ไตรมาสแรกกำไร 207.68 ล้านบาท เหตุทางด่วน 'บางพลี-บางขุนเทียน' คืนหนี้

CK ไตรมาสแรกกำไร 207.68 ล้านบาท เหตุทางด่วน 'บางพลี-บางขุนเทียน' คืนหนี้

"ช.การช่าง" บุ๊คดอกเบี้ยโครงการก่อสร้างทางพิเศษ "บางพลี-บางขุนเทียน" 382.91 ล้านบาท หนุนกำไรไตรมาส 1/64 พลิกบวก 207.68 ล้านบาท เทียบช่วงเดียวกันปีก่อนที่ขาดทุน 113.59 ล้านบาท

นายประเสริฐ มริตตนะพร และนายอนุกูล ตันติมาสน์ กรรมการ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK เปิดเผยว่า สำหรับงวดสามเดือนแรกของปี 2564 บริษัทและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัท 207.68 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 321.27 ล้านบาทเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขาดทุน 113.59 ล้านบาท

สาเหตุหลักมาจากบริษัทบันทึกดอกเบี้ยรับซึ่งเป็นหนี้เงินค่าก่อสร้างที่เกิดจากการขยายระยะเวลาตามสัญญาจ้างก่อสร้างทางพิเศษสาขบางพลี-สุขสวัสดิ์ (บางพลี-บางขุนเทียน) จำนวน 382.91 ล้านบาทตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด

ขณะที่รายได้จากสัญญาก่อสร้างสำหรับงวดสามเดือนแรกของปี 2564 อยู่ที่ 2,936.80 ล้านบาท คิดเป็น 82.87% ของรายได้รวม ลดลง 2,434.24 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หรือคิด 45.32% เนื่องจากสัญญางานบริหารโครงการ รวมถึงเป็นผู้จัดหาและติดตั้งอุปกรณ์งานระบบรถไฟฟ้าในโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายและโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี ได้ใกล้ปิดโครงการ

ในขณะที่โครงการก่อสร้างใหม่นั้นมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับโครงการดังกล่าวและบางโครงการยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น เช่น อาการศูนย์เรียนรู้และวิจัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรยา เจ้าฟ้าจุฬากรณ์ เป็นต้น

สำหรับต้นทุนในการรับเหมาก่อสร้างในงวดสามเดือนแรกของปี 2564 อยู่ที่ 2,694.05 ล้นบาท ลดลง 2,196.87 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า คิดเป็น 44.92% โดยบริษัทและบริษัทย่อยมีกำไรขั้นต้น 242.75 ล้านบาท ลดลง 237.37 ล้านบาท คิดเป็น 49.44% เนื่องจากรายได้จากสัญญาก่อสร้างลดลง ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้นของสามเดือนแรกของปี 2564 เท่ากับ 8.27% ลดลงจากปีก่อนหน้าซึ่งเท่ากับร้อยละ 8.94

ขณะที่รายได้อื่นๆ ในงวดสามเดือนแรกของปี 2564 อยู่ที่ 607 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 363.19 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า คิดเป็น 148.96% เนื่องจากรายได้พิเศษเกี่ยวกับดอกเบี้ยรับตามที่ได้กล่าวข้างต้น

ส่วนค่าใช้จ่ายในการบริหารสำหรับงวดสามเดือนแรกของปี 2564 อยู่ที่ 472.20 ล้านบาท ลดลง 79.28 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า คิดเป็น 14.38% เนื่องจากค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงานและค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ

ขณะที่ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมสำหรับงวดสามเดือนแรกของปี 2564 อยู่ที่ 159.88 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 144.44 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า คิดเป็น 935.49% ส่วนใหญ่มาจากผลประกอบการที่ดีขึ้นของ บมจ.ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (CKP) เนื่องจากปริมาณการผลิตไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ผลประกอบการของ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ส่วนต้นทุนทางการเงินสำหรับงวดสามเดือนแรกของปี 2564 อยู่ที่ 331.99 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 25.56 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า คิดเปีน 8.34% เนื่องจากมีเงินกู้จากธนาคารเพิ่มมากขึ้น และมีอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินรวม เท่ากับ 1.31 เท่า ลดลงเล็กน้อยจากสิ้นปีก่อนซึ่งเท่ากับ 1.32 เท่า อย่างไรก็ตาม ยังต่ำกว่าเงื่อนไขของการออกเงินกู้หุ้นกู้ซึ่งกำหนดไว้ไม่เกิน 3.00 เท่า

ขณะที่ฐานะทางการเงิน ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 ปี 2564 บริษัทและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์ 84,628.56 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อนหน้า 1,854.54 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากเงินสดและสินทรัพย์ที่รับรู้จากต้นทุนในการทำให้เสร็จสิ้นตามสัญญาที่ทำกับลูกค้าที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งเงินลงทุนในบริษัทร่วมที่เพิ่มขึ้นจากการเพิ่มทุนใน บริษัท หลวงพระบาง พาวเวอร์ จำกัด

ขณะที่หนี้สินอยู่ที่ 58,56.03 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,062.65 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากเงินรับล่วงหน้าค่าก่อสร้าง อีกทั้งมีเงินกู้จากธนาคารเพิ่มขึ้นด้วย และมีส่วนของผู้ถือหุ้น 26,062.53 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนหน้า 208.11 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากการวัดมูลค่าของเงินลงทุนในตราสารทุนด้วยมูลค่ายุติธรรม

ในส่วนของกระแสเงินสดสำหรับสามเดือนแรกของปี 2564 อยู่ที่ 1,159.11 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากเงินรับล่วงหน้าค่าก่อสร้ง โดยมีเงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมลงทุนจำนวน 71.46 ล้านบาท จากการเพิ่มทุนใน บริษัท หลวงพระบาง พาวเวอร์ จำกัด และมีเงินสดสุทธิจากกิจกรรมจัดหาเงิน 563 ล้านบาท เนื่องจากการกู้เงินจากธนาคารเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีเงินสดสุทธิเพิ่มขึ้น 1,157.11 ล้านบาท