เทรดสนั่น หุ้น ‘การบินไทย’ ส่งท้ายราคาทะยาน 40 %  

เทรดสนั่น หุ้น ‘การบินไทย’ ส่งท้ายราคาทะยาน 40 %  

หุ้นบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI   กลายเป็นหุ้นสำหรับขาเก็งกำไรที่รับความเสี่ยงได้สูงมากในช่วงระยะเวลาที่มีการซื้อขาย 1 เดือนที่ผ่านมา

ด้วยความไม่แน่นอนทางพื้นฐานธุรกิจจากภาคท่องเที่ยวหยุดชะงัก     ธุรกิจขาดทุน หนี้พุ่งสูง  การหลุดจากรัฐวิสาหกิจ การล้มลาย แผนฟื้นฟูยังไม่ผ่านด่านเจ้าหนี้ 

ทางกลับกัน THAI กลายเป็นหุ้นที่ลงไปถึงจุดต่ำสุดและมีโอกาสมากที่จะฟื้นตัวในอนาคต จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ราคาหุ้นปรับตัวบวกสวนทางกับทิศทางธุรกิจอย่างสิ้นเชิง

ย้อนกลับไปในช่วงก่อนหยุดการซื้อขายบริษัทมีส่วนทุนผู้ถือหุ้นติดลบ ซึ่งขาดคุณสมบัติในการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เมื่อวันที่  24 ก.พ. 2564 ทำให้เป็นราคาซื้อขายวันสุดท้ายที่ 4.08 บาท 

ก่อนหน้านี้หุ้น THAI ได้ทำปรากฎการณ์มหัศจรรย์ราคาหุ้น 10 เด้งในช่วงเม.ย. 2563 ท่ามกลางการหยุดให้บริการจากการระบาดโควิด-19 ระลอกแรกเครื่องบินนับร้อยลำจอดทิ้งเรียงรายเพราะไม่มีการบิน

หากแต่ราคาหุ้นกลับทำราคาเพิ่มขึ้นติดๆกัน 7 วันทำการ (1 เม.ย.-10 เม.ย.) จากราคา 3.18 บาท มาอยู่ที่  6.35 บาท หรือเป็นการเพิ่มขึ้นถึง 100 %   ด้วยประเด็นข่าวการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นและการเร่ขายสินทรัพย์ เช่น โรงแรม ซึ่งสุดท้ายข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริงราคาปรับตัวลดลงต่อเนื่อง

           

 

ช่วงเวลาดังกล่าวความเคลื่อนไหวราคาหุ้นแทบจะไต่ระดับขาลงมาตลอด จากการเดินหน้าเข้าสู่กระบวนการล้มละลายเต็มตัว หมดความเป็นรัฐวิสาหกิจ   จนส่วนทุนผู้ถือหุ้นต่ำกว่าศูนย์ทำให้ต้องหยุดทำการซื้อขาย และจะกลับมาเปิดทำการซื้อขายใหม่ตามเกณฑ์ตลาดหลักทรัพย์เป็นเวลา 1 เดือน (16 เม.ย.-17 พ.ค. 64 )ก่อนจะปิดซื้อขายจนกว่าแก้ไขส่วนทุนให้กลับมาเป็นปกติ

ปรากฎว่าราคาหุ้นที่มีการเปิดซื้อขายกลับมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น  38.33 %   ซึ่งในช่วง 2 วันสุดท้ายที่มีการขายราคาปิดบวกช่วงท้ายตลาดจนดันราคาขึ้นมาซิลลิ่ง 3.32 บาท จากราคาเปิด  2.90 บาท หรือเพิ่มขึ้น  29.69 % (17 พ.ค.)

พร้อมกับกระแสข่าวบวกที่สร้างความหวังให้นักลงทุน  โดยเฉพาะการกลับสู่ฐานะ “รัฐวิสาหกิจ  ที่มีการพูดถึงมากที่สุด เพราะเป็นเงื่อนไขที่จะสามารถเปิดทางให้รัฐช่วยเหลือด้านเงินทุนไม่ผิดต่อกฎหมาย เนื่องจากในช่วง 3 ปีนี้บริษัทต้องการเม็ดเงินในใช้จ่ายเป็นสภาพคล่อง 5 หมื่นล้านบาทและในปี 2564 ต้องการ 3 หมื่นล้านบาท

ดังนั้นจึงเป็นที่มาว่าให้รัฐช่วยเหลือการเงิน  25,000 ล้านบาท และเจ้าหนี้รายใหญ่จะใส่เงินช่วยเหลือเพิ่ม 25,000 ล้านบาท   ภายใต้การกลับไปเป็นรัฐวิสาหกิจรูปแบบใหม่ ซึ่งแม้ว่าจะไม่มียืนยันจากภาครัฐถึงประเด็นดังกล่าวเพราะยังต้องรอการประชุมเจ้าหนี้วันที่ 12 พ.ค. ให้แล้วเสร็จ

สุดท้ายการประชุมเจ้าหนี้ถูกยกเลิกออกไปเป็นวันที่ 19 พ.ค. ท่ามกลางราคาหุ้นกลับปรับตัวบวกแทนจนมาทำราคาสูงสุดดังกล่าว    สอดคล้องกับการออกมากล่าวถึงกรณี การบินไทย ของหัวเรือใหญ่ในรัฐบาล อย่างนายกรัฐมนตรี ที่ระบุชัดเจนจะ “ยังไม่ใส่เงินให้ความช่วยเหลือใดๆแก่การบินไทยจนกว่าจะมีการพิจารณาแผนให้แล้วเสร็จ และยังมีความตั้งใจไม่อยากเห็นการบินไทยล้ม ทุกฝ่ายจำเป็นต้องเข้าช่วยเหลือ”  แต่การคาดการณ์ของตลาดหุ้นกลับสะท้อนให้เห็นแล้วว่าแนวทางการบินไทยไปในทิศทางที่รัฐจะให้การช่วยเหลือไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

การยื้อชีพจรของ THAI ให้กลับมาเป็นสายการบินแห่งชาติของไทย มีหลายมุมมองให้วิเคราะห์ไม่น้อย   ในฐานเจ้าหนี้ย่อมต้องการหนี้คืนไม่ว่าจะระยะสั้นหรือระยะยาว ทำให้การอยู่ในมือของรัฐจึงช่วยการีนตรีว่าหนี้ยังไม่ศูนย์

ส่วนของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ “กระทรวงการคลัง ถือว่าเป็นภาระกิจของสำคัญ ที่ต้องให้ผ่านแผนฟื้นฟูกิจการให้ได้และงานนี้ควรจะต้องรอด  เพราะเม็ดเงินที่ถือหุ้นจำนวนพันกว่าล้านหุ้นทำให้เป็นผู้มีส่วนได้เสียมากที่สุดในบริษัท

สำหรับภาครัฐที่คำนึงเสมอว่า  “การบินไทยคือ สายการบินแห่งชาติ มีความสำคัญต่อยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวไม่น้อย  ด้วยน้ำหนักภาคธุรกิจดังกล่าวต่อจีดีพีสูงถึง 18-20 %  เป็นกลไกสำคัญในการสร้างรายได้     มีส่วนสำคัญกับการเชื่อมต่อระบบโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ ซึ่งถ้าวันนี้ต้องไปเริ่มนับหนึ่งใหม่หรือสร้างใหม่อาจจะทำให้เสียโอกาสการแข่งขันหากภาคท่องเที่ยวกลับมาฟื้นจริงๆ

วันนี้แม้จะยังไม่รู้ว่าการบินไทยจะฟื้นฟูตัวเองกลับมาทำการซื้อขายในตลาดหุ้นได้เมื่อไร แต่การรื้อระบบองค์กรที่มีปัญหาบริหารงาน การแซงแทรกทางการเมือง ที่เข้ามาฉกฉวยผลประโยชน์และทิ้งแต่ปัญหาให้องค์กรชั้นแนวหน้าของไทยเหลือแค่ซากหนี้ ควรจะได้รับการปรับใหม่ให้ไร้ปัญหาอย่างที่ผ่านมา

 

การยื้อชีพจรของ THAI ให้กลับมาเป็นสายการบินแห่งชาติของไทย มีหลายมุมมองให้วิเคราะห์ไม่น้อย ในฐานเจ้าหนี้ย่อมต้องการหนี้คืนไม่ว่าจะระยะสั้นหรือระยะยาว ทำให้การอยู่ในมือของรัฐจึงช่วยการีนตรีว่าหนี้ยังไม่ศูนย์

ส่วนของผู้ถือรายใหญ่ กระทรวงการคลัง ถือว่าเป็นภาระกิจของสำคัญ ที่ต้องให้ผ่านแผนฟื้นฟูกิจการให้ได้และงานนี้ควรจะต้องรอด  เพราะเม็ดเงินที่ถือหุ้นจำนวนพันกว่าล้านหุ้นทำให้เป็นผู้มีส่วนได้เสียมากที่สุดในบริษัท

สำหรับภาครัฐที่คำนึงเสมอว่า  “การบินไทย” คือ "สายการบินแห่งชาติ" มีความสำคัญต่อยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวไม่น้อย  ด้วยน้ำภาคธุรกิจดังกล่าวต่อจีดีพีสูงถึง 18-20 %  เป็นกลไกสำคัญในการสร้างรายได้     มีส่วนสำคัญกับการเชื่อมต่อทางโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ ซึ่งถ้าวันนี้ต้องไปเริ่มนับหนึ่งใหม่หรือสร้างใหม่อาจจะทำให้เสียโอกาสการแข่งขันหากภาคท่องเที่ยวกลับมาฟื้นจริงๆ

วันนี้แม้จะยังไม่รู้ว่าการบินไทยจะฟื้นฟูตัวเองกลับมาทำการซื้อขายในตลาดหุ้นได้เมื่อไร แต่การรื้อระบบองค์กรที่มีปัญหาบริหารงาน การแซงแทรกทางการเมือง ที่เข้ามาฉกฉวยผลประโยชน์และทิ้งแต่ปัญหาให้องค์กรชั้นแนวหน้าของไทยเหลือแค่ซากหนี้ ควรจะได้รับการปรับใหม่ให้ไร้ปัญหาอย่างที่ผ่านมา