'ผู้ว่าฯ' เตรียมคืนพื้นที่'เรือนจำกลางเชียงใหม่' 28 พ.ค.นี้ หลังคุม 'โควิด' ได้

'ผู้ว่าฯ' เตรียมคืนพื้นที่'เรือนจำกลางเชียงใหม่' 28 พ.ค.นี้ หลังคุม 'โควิด' ได้

ผู้ว่าฯเชียงใหม่ เตรียมส่งคืนพื้นที่เรือนจำกลางเชียงใหม่ 28 พ.ค.64 หลังนำระบบ “Bubble & Sealed” มาบริหารจัดการ  ขณะที่ผู้บัญชาการเรือนจำกลางเชียงใหม่ เผยต้นตอมาจากห้องของผู้ต้องขังแรกรับ

17 พ.ค.2564 ที่หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานแถลงข่าวผลการดำเนินงานโรงพยาบาลสนามเรือนจำกลางเชียงใหม่ อำเภอแม่แตง  จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีพลตรีถนัดพล โกศัยเสวี รองแม่ทัพภาคที่ 3, นายสุรศักดิ์ เผื่อนคำ ผู้บัญชาการเรือนจำกลางเชียงใหม่  พลตรีวุฒิไชย อิศระ รองเจ้ากรมแพทย์ทหารบก , นายอรรถวุฒิ พึ่งเนียม นายอำเภอแม่แตง, นายจตุชัย มณีรัตน์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ และพ.อ.ชัยเนตรอาร์ เนตรพิชิต ผอ.รพ.ค่ายกาวิละ
 

นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า จังหวัดเชียงใหม่ได้มีการพบการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19ในเรือนจำกลางเชียงใหม่ในเดือนเมษายน 2564 และได้นำเอาระบบ“Bubble & Sealed”มาบริหารจัดการในการควบคุมโรค 28 วัน โดยมีการล็อคดาวน์ทุกแดน และเร่งค้นหาผู้ติดเชื้อเข้ารับการรักษา  และตรวจภูมิคุ้มกันอย่างต่อเนื่องทุก 14 วัน  ในรอบสุดท้ายคาดว่าจะเหลือผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันเพียงร้อยละ 10 จากจำนวนผู้ต้องขังกว่า 6,404 คน คาดว่าจะส่งคืนพื้นที่ให้เรือนจำกลางเชียงใหม่ที่ปลอดโรคในวันที่ 28 พ.ค.2564 ขณะนี้ครบ3สัปดาห์ การดำเนินการเป็นไปอย่างน่าพอใจ

ด้านนายสุรศักดิ์ เผื่อนคำ ผู้บัญชาการเรือนจำกลางเชียงใหม่ กล่าวว่า ขณะนี้เรือนจำกลางเชียงใหม่ ควบคุมสถานการณ์ได้ มีผู้ต้องขังกว่า 6,400 คน ในช่วงปกติได้มีการอบรมสั่งคนให้เป็นคนดี ฝึกวิชาชีพ และเรียนหนังสือ มีทั้งหมด 10 แดน โดยการพบว่าแดน 4 เป็นจุดที่รับผู้ต้องขังแรกรับเข้ามา มีการแยกขังอย่างน้อย 15 วัน มีทั้งหมด 7 ห้อง และดูแลตามมาตรฐานของกรมราชฑัณฑ์ ก่อนหน้านี้เราเคยเจอโควิดมา 1-2 ครั้ง แต่ครั้งนี้พบว่าการแพร่ระบาดเกิดขึ้นในวงกว้าง ซึ่งโควิดรอบนี้เป็นประสบการณ์ใหญ่ที่สุดของกรมราชทัณฑ์ หลังจากเกิดการติดเชื้อโควิด-19 การกักตัวกลุ่มเสี่ยง ทำให้รู้ว่าการกักตัว 14 วันไม่พอแล้ว ต้อง21 วัน หรือ 30วัน ส่วนการสว็อปนั้นต้องทุกวัน ไม่ใช่แต่สว็อปเพียง 1-2 ครั้งเท่านั้น โดยกรมราชทัณฑ์ได้ให้นเโยบายตั้งรับการพัฒนาของโรค ในวันนี้เรามีผู้ต้องขังไม่ติดเชื้อกว่า 1,000 คน และผู้ต้องขังใหม่ 172 คน

ส่วนผู้ต้องขังที่ติดเชื้อนั้นให้กินยาฟ้าทลายโจร วิตามินซี ดื่มน้ำขิง น้ำกระชายขาว ปรากฎว่ามีภูมิคุ้มกันกว่า 3,000 คน ได้เกิดกำลังใจให้กับผู้ต้องขังแดนอื่นๆ ได้เห็นว่าการรักษาโรคขึ้นอยู่กับการปฎิบัติตัวของเรา ก็รับการดูแลอย่างดีจากรองเจ้ากรมแพทย์ทหารบก และสำนักงานสาธารณสุข และกำลังใจจากพี่น้องประชาชนที่นำสิ่งของไปร่วมบริจาคสิ่งของ-อาหาร
   

หลายคนมีความกังวลว่าจะความมั่นคง แต่ตรงกันข้ามผู้ต้องขังในเรือนจำกลางเชียงใหม่  มีวินัย และมีจิตสำนึกต่อสังคม และให้ความร่วมมือในการฝ่าวิกฤตไปด้วยกันเป็นอย่างดี ในวันที่แดน 4 กักตัวครบ 14 วัน มีผู้ต้องที่มีภูมิกว่า 900 คนเข้ามาทำบิ๊กคลีนนิ่งเดย์ ส่วนผู้ทีี่ยังกักตัวรายอื่นได้ร่วมกันปรบมือให้กำลังใจกัน ถือว่าเป็นภาพประวัติศาสตร์ ซึ่งสถานการณ์
          

ขณะที่ พล.ต.ถนัดพล โกศัยเสวี รองแม่ทัพภาค 3 กล่าวว่า ตามที่มีกระแสข่าวว่ามีการติดเชื้อหลุดออกมาจากเรือนจำ ยืนยันว่าไม่เป็นความจริง  และมั่นใจว่าไม่มีเชื้อไวรัสโควิด19 หลุดออกมาจากเรือนจำ เพราะเจ้าหน้าที่จากทุกหน่วยงานที่ทำงานร่วมกันในเรือนจำขณะนี้ทำงานกันอย่างเต็มที่ และมีแผนงานชัดเจน รวมถึงขณะนี้ได้มีภาคเอกชนเข้ามาช่วยเหลือ ส่วนสาเหตุที่มีการสืบสวนว่าการระบาดในเรือนจำเริ่มต้นด้วยสาเหตุใด ขณะนี้พบสาเหตุแล้วคือญาติมาเยี่ยมผู้ต้องขัง ต่อจากนั้นผู้ต้องขังรายนี้ นำไปติดเชื้อผู้ต้องขังรายอื่นๆจนเกิดการแพร่ระบาด โดยผู้ต้องขังทุกคนที่อยู่ในเรือนจำ ถือเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูงทั้งหมด

ส่วน พล.ต.วุฒิไชย อิสระ รองเจ้ากรมการแพทย์ทหารบก ในฐานะผู้บัญชาเหตุการณ์ด้านการแพทย์ภายในเรือนจำกลางเชียงใหม่ กล่าวว่า ภารกิจของทหารคือการให้การสนับสนุนทีมแพทย์และบุคลากร ในการรักษาพยาบาลในเรือนจำ รวมถึงการสกัดกั้นและป้องการระบาดที่จะออกไปนอกเรือนจำ สุดท้ายจะต้องมีการส่งมอบเรือนจำที่ปลอดเชื้อโควิด19 คืนให้กับทางกรมราชทันฑ์ โดยการรักษาทั้งหมดเป็นตามกระบวนการของกระทรวงสาธารณสุขแบบเต็มรูปแบบและอยู่ภายใต้ระเบียบของเรือนจำ โดยมีเป้าหมายในการลดการส่งออกผู้ป่วยไปโรงพยาบาลภายนอกเรือนจำ โดยการสร้างมินิไอซียูขึ้นในเรือนจำ และกำลังมีการวางมาตรการเชิงรุก เพื่อให้เรือนจำกลับมาสู่สภาพปกติ
           

นายอรรถวุฒิ พึ่งเนียม นายอำเภอแม่แตง กล่าวว่า  นายอำเภอแม่แตง กล่าวว่า ทางอำเภอแม่แตงได้มีการตั้งคณะทำงานในการป้องกันไม่ให้มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด19 ออกมาจากเรือนจำโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ต้องขังที่พ้นโทษ หรือได้รับการประกันตัว ที่จะได้ออกจากเรือนจำในช่วงที่มีการระบาด ทางอำเภอแม่แตงได้มีการจัดตั้ง Local Quarantine คือ พื้นที่กักกันโรคในพื้นที่อำเภอแม่แตง เพื่อให้ผู้ที่พ้นโทษเข้ามากักตัวเป็นเวลา 14 วัน ก่อนจะกลับสู่ครอบครัวหรือภูมิลำเนา เพราะถือเป็นผู้ที่มาจากพื้นที่เสี่ยงสูงมาก 
         

นอกจากนี้ ทางอำเภอแม่แตงได้รับความร่วมมือการทำงานแบบบูรณาการจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยได้มีการจัดตั้งทั้งหมด 4 ศูนย์ โดยมีกระบวนการที่วางเอาไว้คือ จะมีการนำผู้ที่กำลังจะพ้นโทษ มากักตัวก่อนล่วงหน้า 14 วัน และจะมีการตรวจหาเชื้อตามแนวทางของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ถ้าหากมีผู้ที่จะพ้นโทษแล้วติดเชื้อจะให้มีการรักษาตัวในโรงพยาบาลสนามในเรือนจำ หลังจากนั้นเมื่อหายแล้วจะนำตัวมากักตัวต่อที่ Local Quarantine อีกอย่างน้อย 14 วัน และตรวจหาเชื้ออย่างต่อเนื่องจนกว่าจะมีผลเป็นลบถึงจะปล่อยตัวกลับบ้าน
           

นายจตุชัย มณีรัตน์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่   กล่าวว่า การควบคุมโรคในพื้นที่เรือนจำ โดยจะเลือกใช้เป็นแบบ บับเบิ้ลแอนซีล ที่เหมาะสมกับการควบโรคในพื้นที่ปิด โดยได้มีการนำแนวทางจากพื้นที่โรงงานจังหวัดสมุทสาคร และเรือนจำจังหวัดนราธิวาส มาปรับใช้กับเรือนกลางจังหวัดเชียงใหม่ โดยได้เริ่มดำเนินการมาตั้งวันที่ 26 เม.ย. 2564 ได้มีการนำผู้เชี่ยวชาญจากระทรวงสาธารณสุขเข้ามาช่วยดำเนินการ โดยได้มีการตั้งสมมุติฐานว่าถ้าเกิดการระบาดในพื้นที่ปิด จะต้องมีการคาดการณ์ว่าผู้ที่ในพื้นที่ทั้งหมดเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูง โดยจะมีการล็อคดาวน์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อข้ามแดนระหว่างแดนต่างๆ รวมถึงการป้องกันการแพร่เชื้อมาสู่นอกเรือนจำ โดยจะทำการปิดแดนต่างๆเป็นเวลา 14 วัน ทั้งหมด 2 รอบ รวมแล้วปิดแดน 2 เท่า มากกว่าระยะฟักตัวของเชื้อ
         

ในระหว่างการควบคุมโรคต้องมีการเร่งค้นหาผู้ที่มีอาการป่วย เพื่อนำเข้าสู่การรักษาให้เร็วที่สุด รวมถึงได้มีการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามภายในเรือนจำกลางเชียงใหม่ ที่มีขีดความสามารถสูงในรักษาผู้ป่วยได้ถึงระดับสีส้ม แต่ถ้าหากเป็นสีแดงเข้มหรือสีแดง จะต้องส่งต่อมารักษาที่โรงพยาบาลภายนอก โดยขณะนี้มีผู้ป่วยอาการรุนแรงส่งต่อออกมารักษาแล้วจำนวน 6 ราย นอกจากนี้ยังมีการตรวจหาภูมิคุ้มกันผู้ต้องขังทั้งหมดด้วยว่าผู้ต้องขังที่มีภูมิคุ้มกันโรคแล้วกี่คน เพื่อดำเนินการในขั้นตอนต่อไป อย่างเช่นการฉีดวัคซีน หรือวิธีอื่นๆ ต่อไ
     

พ.อ.ชัยเนตรอาร์ เนตรพิชิต ผอ.รพ.ค่ายกาวิละ กล่าวว่า ขณะนี้ในเรือนจำมีเตียงที่รองรับผู้ป่วยที่มีอาการป่วยอยู่ในเกณฑ์สีส้มและสีแดง ทั้งหมด 300 เตียง กระจายอยู่ตามแดนต่างๆ ทั้ง 10 แดน โดยการจัดโรงพยาบาลสนามในเรือนจำจะแบ่งเป็น 2 โซน คือผู้ป่วยที่มีอาการหนัก และอาการไม่หนักมาก โดยขณะนี้คนไข้ในเรือนจำเริ่มทยอยหายจากโควิด19 ไปเรื่อยๆ จากการประเมินของแพทย์คาดหวังว่าจะให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ในกลุ่มผู้ต้องขังทุกคน หลังจากนั้นจะมีการเฝ้าระวังผู้ต้องขังในกลุ่มบอบบางที่มีโรคประจำตัว โดยการรักษาทั้งหมดจะอยู่ในเรือนจำ จะไม่มีการนำผู้ต้องขังที่ป่วยมารักษาที่โรงพยาบาลด้านนอก เพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อทีมงานบุคลากรการแพทย์ที่อยู่ภายนอก ที่สถานการณ์การะบาดยังคงมีอยู่