กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ (17 พ.ค.64)

กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ (17 พ.ค.64)

17-21 พฤษภาคม: ตลาดมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ระดับหนึ่ง

ตลาดน่าจะ rebound ได้เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกลดลง

ในสัปดาห์ที่แล้ว (10-14 พฤษภาคม) ตลาดหุ้นไทยขยับลงแบบ sideways down ซึ่งอ่อนแอกว่าที่เราคาดไว้เนื่องจาก i) ทั่วโลกกลับมากังวลกับประเด็นเงินเฟ้ออีกครั้งหลังจากที่ PPI เดือนเมษายนของจีนรวมถึง CPI และ PPI เดือนเมษายนของสหรัฐเร่งตัวขึ้นเกินกว่า consensus ii) สถานการณ์ COVID-19
ในประเทศไทยยังคงน่าเป็นห่วงมากเพราะยอดผู้ติดเชื้อรายวันยังคงเคลื่อนไหวในระดับสูงกว่า 2,000 ราย และยอดผู้เสียชีวิตรายวันยังคงสูงกว่า 30 ราย นอกจากนี้ ยังมีรายงานเพิ่มเติมว่าเกิด cluster ใหม่ขึ้นในกรุงเทพ และในเรือนจำมียอดผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ กระแสเงินทุนต่างชาติยังลดลง
อย่างมากจากข่าวเงินเฟ้อทั่วโลก และการปรับดัชนี MSCI รอบครึ่งปีซึ่งทำให้น้ำหนักของหุ้นไทยในดัชนี global standard index ลดลง 0.10% เหลือ 1.73% ทั้งนี้ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนี SET ร่วงลงไปใกล้ระดับแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,500 เพียงช่วงสั้น ๆ ก่อนที่จะดีดกลับขึ้นมาในช่วงปลายสัปดาห์

สำหรับแนวโน้มในสัปดาห์นี้ (17-21 พฤษภาคม) เราคาดว่าดัชนี SET จะฟื้นตัวขึ้นจากหลายปัจจัย

ประการแรก เราคิดว่าราคาหุ้นในตลาดโลก และตลาดไทยน่าจะสะท้อนความกังวลเรื่องเงินเฟ้อไปเรียบร้อยแล้ว ในขณะที่นาย Richard Clarida รองประธาน Fed ได้ออกมาแสดงความเห็นเพื่อลดความกังวลของตลาดเกี่ยวกับการที่ Fed อาจจะลดขนาด QE และเปลี่ยนท่าทีนโยบายการเงินจาก ultraloosening
ในปัจจุบัน ประการที่สอง เราคิดว่าธีมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ฟื้นตัวได้ดีจะยังคงดำเนินต่อไป แม้จะมีลักษณะ selective มากขึ้นจากที่ปรับเพิ่มขึ้นเป็นส่วนใหญ่ในเดือนที่ผ่านมา ประการที่สาม เมื่อเข้าสู่ช่วงครึ่งหลังของเดือนพฤษภาคม นักลงทุนก็เริ่มจะให้น้ำหนักกับจังหวะการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 ในประเทศไทยจะคาดว่าจะเร่งตัวขึ้นตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นไป เนื่องจากคาดว่าจะมีการเร่งผลิตวัคซีน AstraZeneca ให้สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

ติดตามตัวเลข GDP 1Q64 ของไทย, การปรับประมาณการหลังงบ 1Q64 และสถานการณ์ COVID-19

(0) สภาพัฒน์ฯ จะรายงาน GDP 1Q64 ของไทยในวันที่ 17 พฤษภาคม นักเศรษฐศาสตร์ของเราคาดว่า GDP ใน 1Q64 จะหดตัว 3.1% YoY จากฐานที่สูงใน 1Q63 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทยยังไม่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 อย่าเต็มที่ ในขณะที่เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบในระดับหนึ่งจาก COVID-19 ที่ระบาดในเดือนมกราคม 25664 (ยังไม่รุนแรงเท่ากับการระบาดระลอกสามในปัจจุบัน)

(+) บริษัทจดทะเบียนจะส่งงบ 1Q64 ครบ และนักวิเคราะห์จะปรับประมาณการหลังการประชุมนักวิเคราะห์ในอีกสองสามสัปดาห์ข้างหน้า ผลประกอบการโดยรวมของบริษัทในตลาดอยู่ในเชิงบวก โดยเฉพาะกลุ่มพลังงาน และปิโตรเคมี โดยเรามองว่าน่าจะมีการปรับเพิ่มประมาณการของบริษัทจดทะเบียนไทยขึ้นอีก โดยการปรับเพิ่มประมาณการของหุ้นในธีม cyclical จะมีน้ำหนักมากกว่าการปรับลดประมาณการของกลุ่มท่องเที่ยว และกลุ่ม domestic play

(0) สถานการณ์ COVID-19 หลังจากที่ ศบค. มีมติในช่วงสุดสัปดาห์ที่จะผ่อนคลายเกณฑ์การควบคุมในกรุงเทพลงเล็กน้อย โดยอนุญาตให้รับประทานอาหารในร้ายได้โดยให้เปิดบริการ 25% ของจำนวนที่นั่ง มีผลตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคมเป็นต้นไป

เน้นหุ้นรายตัวในธีม cyclical และเพิ่มสถานะการถือครองหุ้นกลุ่มท่องเที่ยว

ในขณะที่หุ้นในธีม cyclical อ่อนแอลงเล็กน้อย และหุ้นในธีม domestic น่าจะถึงจุดต่ำสุดในเร็ว ๆ นี้ เราแนะนำให้นักลงทุนปรับสถานะพอร์ตหุ้นโดยเพิ่มน้ำหนักทั้งหุ้น cyclical และหุ้น domestic play โดนในฝั่งของหุ้น cyclical เรายังคงชอบ IRPC* แต่มองบวกลดลงกับหุ้น olefins อย่างเช่น PTTGC*
เนื่องจาก product ของผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องลดลงในช่วงนี้ สำหรับหุ้นในธีม domestic และหุ้นท่องเที่ยว เราคิดว่ากระแสข่าวบวกเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนให้ประชาชนที่ครอบคลุมมากขึ้นตั้งแต่เดือนมิถุนายนจะทำให้หุ้นโรงแรมอย่างเช่น CENTEL* และ MINT* ขยับขึ้นได้ในระยะต่อไปในขณะเดียวกัน เราก็ชอบหุ้น mid-cap ที่ผลประกอบการ 1Q64 ออกมาดี และน่าจะเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งต่อเนื่องใน 2Q64 อย่างเช่น BCH*, JMART* และ SAT