บอร์ด 'AAV' ไฟเขียวเพิ่มทุน 'ไทยแอร์เอเชีย' โควิดฉุด Q1/64 ขาดทุนอ่วม

บอร์ด 'AAV' ไฟเขียวเพิ่มทุน 'ไทยแอร์เอเชีย' โควิดฉุด Q1/64 ขาดทุนอ่วม

"เอเชีย เอวิเอชั่น" บอร์ดอนุมัติปรับโครงสร้างกิจการและเพิ่มทุน "ไทยแอร์ เอเชีย" เพิ่มสภาพคล่องให้ธุรกิจดำเนินต่อไป หลังไตรมาส 1 ปีนี้ขาดทุนหนัก 3,391.1 ล้านบาท เหตุโควิด-19 ฉุดรายได้และขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน คาดกลับมาปิดบริการเต็มศักยภาพต้นปี65

บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AAV แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่า คณะกรรมการบริษัทอนุมัติแผนการปรับโครงสร้าง
กิจการและเพิ่มทุน เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ บจ.ไทยแอร์ เอเชีย และใช้ในการดำเนินธุรกิจต่อไป รวมถึงเพิ่มความสามารถในการกู้เงินในอนาคต ทั้งนี้ บริษัทอยู่ระหว่างดำเนินการตามแผน เพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของกิจการและผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย

สำหรับในไตรมาส 1 ปี 2564 บจ.ไทยแอร์ เอเชีย มีรายได้รวมทั้งสิ้น 1,350.8 ล้านบาท ลดลง 86% จากไตรมาส 1 ปี 2563 ที่เท่ากับ 9,399.0 ล้านบาท  ขาดทุนสุทธิสำาหรับงวดที่ 3,391.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 100% จากไตรมาส 1 ปี 2563 ที่เท่ากับ 1,223.4 

สาเหตุรายได้ลดลง เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ที่เริ่มในช่วงปลายเดือนธันวาคม 2563 และการออกมาตรการคุมเข้มในบางพื้นที่ ส่งผลต่อต้องการเดินทางของผู้โดยสารในประเทศ ประกอบกับการเดินทางระหว่างประเทศยังมีข้อจำกัด ทำให้จำนวนผู้โดยสารในงวดนี้หดตัว 78% มาอยู่ที่ 0.98 ล้านคน อย่างไรก็ดีด้วยการจัดการบริหารเที่ยวบินและปริมาณที่นั่งให้สอดคล้องกับความต้องการเดินทางอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราการขนส่งผู้โดยสารอยู่ที่66% หรือลดลง 18 จุดจากปีก่อน

นอกจากนี้ราค่าโดยสารเฉลี่ยในไตรมาสนี้ลดลง 32% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนมาอยู่ที่ 925บาทต่อคน เนื่องจากมีรายได้หลักจากเส้นทางบินในประเทศเท่านั้น

ทั้งนี้ บจ.ไทยแอร์เอเชีย มีรายได้บริการเสริมในไตบ 221 ล้านบาท หรือลดลง 85% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะรายได้ในส่วนของการฝากสัมภาระใต้
gage) การจำหน่ายอาหารและสินค้าบนเครื่องบิน (Inflight) และค่าธรรมเนียมการเลือกที่นั่ง (Seat Selection) โดยหลักมาจากการหดตัวของจำนวนผู้โดยสารทั้งเส้นทางบินระหว่างประเทศ และในประเทศที่ 100% และ  68% ตามลำดับส่งผลให้รายได้บริการเสริมต่อคนเฉลี่ยอยู่ที่เท่ากับ 226 บาท หรือลดลง 31% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

อีกทั้งยังมีผลขาดทุนเนื่องมาจากไตรมาส 1 ปี 2564 บริษัทค่าใช้จ่ายอื่นจำนวน 1,406.2 ล้านบาท โดยหลักเป็นขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 1,387.0 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจากหนี้สินตามสัญญาเช่าที่ยังไม่รับรู้จากเงินบาทอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่มีรายได้อื่นจำนวน 204.3 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาส 1 ปี 2563 ที่เท่ากับ 1,586 ล้านบาท จากการบันทึกกำไรการจำหน่ายเครื่องบินจำนวน 1,331.6 ล้านบาท เมื่อปีก่อน ส่งผลให้มีผลขาดทุนจากกิจกรรมดำเนินงานสำหรับไตรมาส 1 ปี 2564 อยู่ที่ 3,207.6 ล้านบาท ทั้งนี้มีต้นทุนทางการเงินจำนวน 425.6 ล้านบาท ลดลงจากในไตรมาส 1 ปี 2563 ที่เท่ากับ551.3 ล้านบาท โดยหลักเป็นคำธรมเนียมเพื่อยกเลิกสัญญาการกู้ยืมเงินระยะยาวก่อนถึงเวลาที่กำหนดเมื่อปีก่อน ขณะที่มีรายได้ภาษีเงินได้จำนวน 212.8 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากผลขาดทุนทางภาษีในงวดที่นำไปใช้ได้ในอนาคต 

ในไตรมาส 2 ปี 2564 บจ. ไทยแอร์เอเชีย คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดในรอบที่สามในช่วงเดือนเมษายน 2564 ที่มีความรุนแรงกว่ารอบก่อน และกระทบต่อการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว ส่งผลให้ความต้องการท่องเที่ยวในประเทศหดตัว

โดย บจ. ไทยแอร์เอเชีย ได้ใช้กลยุทธ์ในการบริหารปริมาณที่นั่งและเส้นทางการบินให้เกิดรายได้สูงสุดและรักษาอัตราการขนส่งผู้โดยสารอยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจ
รวมถึงเพิ่มการเติบโตของรายได้ผ่านโปรโมชั่นและแคมเปญ อาทิเช่น ตั๋วบินรัวๆ ที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีและขายหมดภายใน 2 วัน มีจำนวน 80,000 สิทธิ์ คิดเป็นจำนวนเงินราว 300 ล้านบาท

ทั้งนี้คาดว่าเส้นทางบินต่างประเทศจะกลับมาเปิดให้บริการอย่างในช่วงไตรมาส 4 ปี 2564 และเปิดเต็มศักยภาพในตรมาส 1 ปี 2565 เป็นต้นไป เพิ่มศักยภาพ
ธุรกิจขนส่งทางอากาศโดยการนำเครื่องบินนำมาใช้ในการขนส่งทางอากาศอย่างเดียวเพื่อเพิ่มรายได้ รวมถึงการแสวงหาโอกาสใหม่ๆ ในธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับการบิน ("Non-airline Business") เช่น ขายห้องพัก อาหาร ของสด และe-commerce อีกทั้ง บจ. ไทยแอร์เอเชีย ได้มีการบริหารต้นทุนและค่าใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ บจ. ไทยแอร์เอเชีย เชื่อว่าจะสามารถรักษาและเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดได้ โดยนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เพื่อเพิ่มคุณภาพการบริการ โดยเฉพาะความตรงต่อเวลา ความปลอดภัยและสุขอนามัย รวมถึงมอบความสะดวกผ่านมาตรการลดการสัมผัสให้มากขึ้น พร้อมทั้งเพิ่มประสบการณ์ใหม่และ
ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายให้กับลูกค้า