'โควิด 19' ป่วยหนัก ใส่ท่อช่วยหายใจ เสียชีวิต กราฟยังสูง

'โควิด 19' ป่วยหนัก ใส่ท่อช่วยหายใจ เสียชีวิต กราฟยังสูง

ศบค. เผย โควิดระลอกใหม่ กราฟยอดป่วยหนัก ใส่ท่อช่วยหายใจ เสียชีวิต ยังพุ่ง วันนี้สถิติสูงสุด เสียชีวิตสูง 34 ราย เปรียบเทียบการระบาด 3 ระลอก ปัจจัยเสี่ยงเสียชีวิตอันดับ 1 คือ สูงอายุ ป่วยเรื้อรัง ชี้ สูบบุหรี่เสี่ยงติดโควิดมากกว่าคนปกติ 14 เท่า

วันนี้ (12 พ.ค.64) พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19(ศบค.) รายงานสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ล่าสุด วันที่ 12 พ.ค. 64 พบผู้ป่วยรายใหม่อีก 1,983 ราย ทำให้มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมแล้วจนถึงวันนี้ 88,907 ราย ผู้เสียชีวิตเพิ่ม 34 ราย ทำให้การระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 มียอดผู้เสียชีวิตสะสม 392 รายไปแล้ว เสียชีวิตสะสม 486 ราย

สำหรับ ผู้เสียชีวิต 34 ราย เป็นชาย 16 ราย หญิง 18 ราย อายุน้อยสุด 33 ปี อายุน้อยที่สุด 93 ปี โดย จ.สมุทรปราการ 13 ราย (ข้อมูลรวบยอดในหนึ่งสัปดาห์) กทม. 10 ราย นครปฐม และ ปทุมธานี จังหวัดละ 2 ราย และ สุพรรณบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร เพชรบูรณ์ ชลบุรี นครนายก สระแก้ว จังหวัดละ 1 ราย ส่วนใหญ่ติดเชื้อจากคนในครอบครัวมากที่สุด โดยปัจจัยเสี่ยงต่อความรุนแรงของโรค ได้แก่ โรคประจำตัว สูงอายุ โรคอ้วน และโรคปอดเป็นอีกปัจจัยที่มีความเป็นห่วง โดยเฉพาะการสูบบุหรี่ทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด 19 มากกว่าคนปกติ 14 เท่า

จำนวนผู้ป่วยสะสม ระลอก เมษายน 64 จำนวน 60,044 ราย ณ วันนี้ มีผู้ป่วยจำนวนมากที่ คัดกรอง มีอาการระดับเหลือแดง ดังนั้น หากพบในระยะแรกเริ่ม หรือเสี่ยงสูง ต้องเข้าตรวจอย่างรวดเร็วเพื่อเข้าสู่ระบบอย่างรวดเร็วและลดอัตราการตาย

ขณะเดียวกัน ด้วยมาตรการปิดสถานที่เสี่ยง เช่น สถานบันเทิง ให้มีการทำงานที่บ้าน ทำให้ยอดติดเชื้อลดลง สำหรับปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ พบว่า ยังมีการรวมกลุ่ม โดยเฉพาะบุคคลใกล้ชิด ในครอบครัว ที่ทำงาน เพื่อนสนิท และอาชีพเสี่ยงสาธารณะ ทั้งตำรวจ ทหาร แพทย์ บุคลากรทางการแทพย์ และพนักงานขับรถสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นรถเมล์ แท็กซี่ มอเตอร์ไซค์

พญ.อภิศมัย กล่าวต่อไปว่า ตัวเลขผู้ติดเชื้อที่เดินทางมาจากต่างประเทศ 9 ราย ได้แก่ จากมาเลเซีย 3 ราย เยอรมนี 1 ราย สวิตเซอร์แลนด์ 1 ราย กัมพูชา 2 ราย และ ลาว 2 ราย โดยผู้ป่วยที่เดินทางมาจากกัมพูชาและลาวนั้น เดินทางมาทางช่องทางธรรมชาติ (สัญชาติไทย 3 ราย และอินโดนีเซีย 1 ราย)

  • ยอดป่วยหนัก ใส่ท่อช่วยหายใจ เสียชีวิต ยังสูง

ผู้ช่วยโฆษก ศบค. กล่าวต่อไปว่า สำหรับภาพรวมจำนวนผู้ป่วยอาการหนัก ใส่ท่อช่วยหายใจ และเสียชีวิต ในประเทศไทย ระยะเวลา 10 วันที่ผ่านมา ตั้งแต่ 1 – 11 พ.ค. 64  พบว่า ไม่ลดลงและพุ่งขึ้นตลอด โดยในวันที่ 1 พ.ค. ยอดจะอยู่ที่ 954 จนกระทั่งวันที่ 11 พ.ค. 1226 ราย จำนวนที่ต้องการเครื่องช่วยหายใจ จาก 270 รายในวันที่ 1 พ.ค. เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 401 ราย ในวันที่ 11 พ.ค. ขณะที่ยอดเสียชีวิต วันที่ 1 พ.ค.  21 ราย วันที่ 11 พ.ค. มีมากถึง 31 ราย และ สูงสุดในวันที่ 12 พ.ค. 34 ราย

1620805902100

สำหรับ ในกทม. ในช่วง 10 วันที่ผ่านมา ตั้งแต่ 1 – 11 พ.ค. 64 พบว่า มีจำนวนผู้ป่วยอาการหนักรายวันเพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้นกว่า 200 ราย และ ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจเพิ่มขึ้นกว่า 100 ราย โดยชะลอลงในช่วงหลัง ขณะยอดผู้เสียชีวิตมีรายงานสูงขึ้นเป็นบางวัน

162080590214

 

  • 10 อันดับ รายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงสุด

10 อันดับ รายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงสุด วันที่ 12 พ.ค. 64 ได้แก่ อันดับ 1 กทม. 976 ราย ถัดมา นนทบุรี 266 ราย สมุทรปราการ 110 ราย ชลบุรี 57 ราย สุราษฎร์ธานี 53 ราย พระนครศรีอยุธยา 38 ราย สมุทรสาคร 36 ราย จันทบุรี 32 ราย ปทุมธานี 29 ราย ปัตตานี 28 ราย ตามลำดับ

  • 18 จังหวัด พื้นที่สีขาว

สำหรับ จังหวัดที่มีผู้ติดเป็น 0 ในวันที่ 12 พ.ค. 64 ได้แก่ ลำปาง นครพนม สุรินทร์ น่าน สุโขทัย ยโสธร พะเยา สกลนคร เลย ชัยนาท แพร่ อุตรดิตถ์ หนองคาย สิงห์บุรี แม่ฮ่องสอน มุกดาหาร บึงกาฬ และสตูล

 

  • สูงอายุ ปัจจัยเสียชีวิตอันดับ 1

ในการะบาดระลอก 1 เดือนม.ค – 14 ธ.ค. 64 ระลอก 2 วันที่ 15 ธ.ค. 63 – มี.ค. 64 และ ระลอก 3 วันที่ 1 เม.ย. 64 - ปัจจุบัน พบว่า ปัจจัยเสี่ยงอันดับหนึ่งคือ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังและนำไปสู่มาตรการในการเข้ารับวัคซีนในกลุ่มแรกๆ ถัดมา คือ โรคประจำตัว มีการเจ็บป่วยเรื้อรัง ภาวะอ้วน นำไปสู่มาตรการที่ระดมฉีดวัคซีนในกลุ่มนี้เช่นกัน

พญ.อภิศมัย อธิบายว่า กลุ่มดังกล่าว เมื่อมีการติดเชื้อ จะมีอัตราการเสียชีวิตสูง ทำให้รัฐพยายามจัดสรร ระดมความช่วยเหลือ และสิ่งที่อยากให้สังเกต คือ อัตราเฉลี่ยตั้งแต่พบว่าป่วยจนเข้า รพ. ทั้ง 3 ระลอก พี่น้องประชาชนจำนวนหนึ่ง เข้าสู่กระบวนการรักษาล่าช้า ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโรค หากเป็นผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัว สูบบุหรี่ อาการจะทรุดลงอย่างรวดเร็ว หลายคนเข้าสู่ระบบในเตียงระดับ 3 เป็นผู้ป่วยสีแดง ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ