BANPU - ถือ (11 พ.ค.64)

BANPU - ถือ (11 พ.ค.64)

ปริมาณขายอ่อนแอ

Key highlights

กำไรสุทธิ1Q 1.5พันลบ.(0.30บาท EPS) จากขาดทุน4Q 468ลบ.และ-10% yoy

กำไรสุทธิ 1Q ต่ำกว่าคาดการณ์ของเราและตลาด 5% และ 2% ปริมาณขายจากแหล่ง ITM ลดลงสู่ 4.1ล้านตันจาก 5.8ล้านตันในปีที่ผ่านมา เนื่องจากฝนตกหนัก ราคาขายเฉลี่ย (ASP) เพิ่มสู่ US$68.4/ตัน จาก US$52.8/ตันใน 4Q ขณะที่ต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ US$39/t (US$48/t หากรวมค่าสัมปทาน: royalty fee) ทำให้อัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นสู่ 42% หรือ +10ppt qoq ส่วนแหล่ง CEY มีปริมาณขายลดลงสู่ 2.6ล้านตันใกล้เคียงกับคาด และลดลงจาก3.2ล้านตันปีที่แล้ว จากการย้ายเครื่องจักร longwall ที่เหมือง Mandalong ราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ A$80.0/t จาก A$78.0/t ใน 4Q โดย CEY เผชิญกับสภาพที่ไม่เอื้อกับการทำเหมืองที่แหล่ง Myuna และ Springvale ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นสู่ A$81.2/ton จาก A$73.0/t ใน 4Q ส่วนแบ่งกำไรจากกิจการร่วมค้าเพิ่มขึ้น 68% qoq สู่ 1.3พันลบ. หนุนจากธุรกิจถ่านหินในจีนและโรงไฟฟ้าหงสา ปริมาณขายก๊าซเติบโต 268% yoy สู่ 61.5bcf หนุนจากการรวมแหล่ง Bernett ราคาขายเฉลี่ย (ASP) เพิ่มขึ้น 139% yoy สู่ US$2.2/mcf ขณะที่ต้นทุนเพิ่มเพียง 7% yoy BANPU บันทึกการขาดทุนป้องกันความเสี่ยง147ลบ.และกำไรอัตราแลกเปลี่ยน 890ลบ. จากค่าเงินบาทอ่อนเทียบกับขาดทุน 880ลบ.ใน 4Q

 

Operational outlook

คาดปริมาณขายและราคาขายเฉลี่ยหนุนกำไร 2Q

ดัชนีถ้านหิน NEX เพิ่มขึ้นสู่ระดับเฉลี่ย US$92/t qtd จากเฉลี่ย US$89/t ใน 1Q, สะท้อนผลการดำเนินงาน BANPU จะฟื้นตัวขึ้นใน 2Q เราคาดปริมาณขายจะเพิ่มขึ้น qoq ภายหลังฤดูฝนในอินโดนิเซียและสภาพอากาศที่ดีขึ้นในออสเตรเลีย ผลการดำเนินงานที่ BPP จะดีขึ้นจากค่าความพร้อมจ่ายที่ดีขึ้นและผลจากฤดูกาล

คงคำแนะนำ ถือ ราคาเป้าหมาย SoTP ที่ 13.0บาทต่อหุ้น

เราคาดราคาหุ้น BANPU จะมีแนวโน้มขาขึ้นใน 2Q หนุนจากดัชนี NEX ที่แข็งแกร่ง งบดุลที่ตึงตัวยังเป็นปัจจัยสร้างความกังวลให้กับเราในระยะกลาง net gearing ของ BANPU อยู่ที่ 1.5x ณ สิ้นปี 2020 เทียบกับระดับ 1.75x debt covenant ราคาเป้าหมายของเราที่ 13.0บาทต่อหุ้นเทียบเท่า 16.2x FY21F PE