เก็งหุ้นงบดี

เก็งหุ้นงบดี

วันจันทร์ที่ผ่านมาดัชนีเคลื่อนไหวในแดนบวกเป็นส่วนใหญ่ จากการเข้าซื้อหุ้นของนักลงทุนในบริษัทที่ประกาศผลการดำเนินงานออกมาดีกว่าที่คาด และมีการเก็งกำไรในหุ้นที่คาดว่างบจะออกมาดี

โดยเม็ดเงินส่วนใหญ่ในวันนี้เข้าไปที่หุ้น TIDLOR ที่เข้าซื้อขายวันแรกในตลาดฯ โดยดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,588.15 จุด +3.12 จุด +0.20% มูลค่าการซื้อขาย 111,865 ลบ. ต่างชาติ -3,232.54 ลบ. TFEX +7,883 สัญญา ตราสารหนี้ -2,691.67 ลบ.

ปัจจัยบวก

+ ราคาน้ำมันดิบ WTI ปิดเพิ่มขึ้น 2 เซนต์ +0.03% ปิดที่ 64.92 ดอลลาร์/บาร์เรล ได้แรงหนุนจากข่าวการถูกโจมตีทางไซเบอร์ แต่ถูกกดดันจากรายงานว่าสหรัฐและอิหร่านมีความคืบหน้าในการเจรจายกเลิกมาตรการคว่ำบาตรซึ่งจะทำให้อิหร่านกลับมาส่งออกน้ำมัน
+ทำเนียบขาวเผยปธน.ไบเดนเตรียมประกาศแผนกระตุ้นการจ้างงานวันนี้หลังมีการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานที่ย่ำแย่เมื่อวันศุกร์
+รมว.สธ.เผยมียาฟาวิพิราเวียร์สำรองใช้เพียงพอ คาด มิ.ย.สามารถผลิตใช้ได้เอง เดือนพ.ค.นี้ประเทศไทยจะมีวัคซีนซิโนแวครวม 3.5 ล้านโดสผ่าน อภ.เป็นผู้นำเข้า และเดือน มิ.ย. จะทยอยฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าล็อตใหญ่ให้ประชาชน
+สถาบันการเงินในประเทศเตรียมออกสินเชื่อเยียวยาฟื้นฟูลูกหนี้ SME ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ตามนโยบายธปท.

ปัจจัยลบ

- ดัชนีดาวโจนส์ ลดลง 34.94 จุด -0.10% กังวลเงินเฟ้อกดดันให้นักลงทุนเทขายหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐในวันพุธนี้หาก CPI พุ่งขึ้นมากกว่าคาดอาจส่งผลให้ FED ชะลอการผ่อนคลายนโยบายการเงินเพื่อสกัดเงินเฟ้อ
-หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีทั่วโลกปรับตัวลงตามทิศทางดัชนี Nasdaq ที่ร่วงกว่า 2%
-WHO เตือนว่าไวรัสโควิดสายพันธุ์อินเดียเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพระดับโลกจากการแพร่ระบาดเร็วกว่าสายพันธุ์เดิม และมีหลักฐานแสดงว่าไวรัสดังกล่าวสามารถหลบเลี่ยงวัคซีนได้
- FETCO รายงานดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 124.37 จุด ปรับตัวลดลง 14.6% จากเดือนก่อน กังวลการระบาดของโควิดระลอกใหม่และการกระจายวัคซีนเป็นปัจจัยหลัก ปรับลด GDP ปี 2564 จากเดิม 2.7% เหลือ 1.5-2.5%
-ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเม.ย. 2564 ลดลงจากเดือนมี.ค. 2564 ปรับตัวต่ำสุดในรอบ 8 เดือน ปรับตัวลดลงทุกขนาดอุตสาหกรรมและทุกภูมิภาค เนื่องจากมีวันหยุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ทาให้ภาคการผลิตส่วนใหญ่ชะลอลงและการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอก 3
-ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ยังอยู่ในระดับสูงเกือบ 2 พันคน ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตพุ่ง 31 ราย

แนวโน้มตลาดวันนี้

ให้ระวังแรงขายที่แนวต้าน 1,595 จุด เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื่อ COVID ทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะญี่ปุ่นและอินเดีย อีกทั้งจำนวนผู้ติดเชื้อในไทยที่ทรงตัวในระดับสูง นอกจากนี้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั้งน้ำมัน ค่าระวางเรือ และน้ำตาลเริ่มปรับตัวลงเป็นปัจจัยกดดันต่อตลาดหุ้นไทย มองกรอบการเคลื่อนไหวในวันนี้ที่ 1,575-1,595

กลยุทธ์การลงทุน

• ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง PTTEP PTTGC IVL IRPC
• หุ้นที่คาดว่าผลประกอบการ 1Q21 เติบโต WICE XO ICN SKN

• หุ้นที่ได้ประโยชน์จากการส่งออกไตรมาสแรกขยายตัว STA NER ASIAN TWPC

• หุ้นที่ได้ประโยชน์มาตรการเยียวยาโควิดระลอก 3 CPALL MAKRO CRC COM7 SYNEX CPW

หุ้นรายงานพิเศษ

                      WINMED First day trade ราคาเหมาะสม 3.95 บาท

                 บล.โกลเบล็กเป็นผู้รับประกันการจาหน่ายหุ้นเพิ่มทุนซึ่งจะได้รับค่าธรรมเนียม

162071186024

•เข้าจดทะเบียนในตลาด mai ในกลุ่มอุตสาหกรรม Consumer product โดย IPO ที่ราคา 3.10 บาท คิดเป็น PE Ratio ที่ 24 เท่า ซึ่งต่ำกว่า PE ratio ของอุตสาหกรรม Consumer product ที่ 26 เท่า ทั้งนี้เราประเมินราคาเหมาะสมได้ที่ 3.95 บาท

•ผู้นำเข้า และจำหน่ายเครื่อง และชุดอุปกรณ์ สำหรับการเก็บ การตรวจวิเคราะห์ วินิจฉัย และการบำบัดรักษาทางการแพทย์ ซึ่งได้นำเข้าจากผู้ผลิตชั้นนำในต่างประเทศ อีกทั้ง เป็นตัวแทนของบริษัทผู้ให้บริการตรวจวินิจฉัยด้านพันธุศาสตร์จากต่างประเทศ สำหรับการให้บริการตรวจสารพันธุกรรมและความผิดปกติของทารกในครรภ์ โดยบริษัทมีรายได้และกำไรสุทธิปี 2561-2563 อยู่ที่ 492-531 ลบ. และ 37-52 ลบ. ตามลำดับ โดยคิดเป็นการเติบโต คิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ย CARG ตลอด 3 ปีที่ 1.6% และ 12.2% ตามลำดับ

•วัตถุประสงค์ในการเข้าระดมทุนในตลาด mai เพื่อใช้ก่อสร้างห้องปฎิบัติการตรวจหาเชื้อไวรัส HPV และห้องปฎิบัติการเตรียมผลิตภัณฑ์เซลล์เพื่อการรักษาด้วยวิธีเซลล์บำบัด ชำระคืนเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ

หุ้นมีข่าว

BANPU (Bloomberg Consensus 13) รายงานกำไร 1Q64 ที่ 1.53 พันลบ. (เป็นไปตามที่ตลาดคาด) -10%YoY แต่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ QoQ โดยได้แรงหนุนจากราคาขายถ่านหินที่ปรับตัวขึ้น 18%YTD สู่ 97 ดอลลาร์ต่อตัน แม้ว่าปริมาณการผลิตที่อินโดนีเซียและออสเตรเลียจะลดลงจาก เข้าฤดูฝนและการย้ายอุปกรณ์ขุด Long wall ตามลำดับ ด้านธุรกิจจำหน่ายก๊าซธรรมชาติปรับตัวดีขึ้นจากความต้องการใช้ก๊าซฯที่เพิ่มขึ้นจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นกว่าทุกปี และธุรกิจโรงไฟฟ้าอ่อนตัวจากการซ่อมบารุงโรงไฟฟ้า หงสา และ BLCP ความเห็น เรามีมุมมองบวกต่อผลประกอบการ 2Q64 เนื่องจากราคาถ่านหินยังทรงตัวในระดับสูงและการควบคุมต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งธุรกิจไฟฟ้าจะไม่มีการซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้าใหญ่ทั้งหงสา และ BLCPในไตรมาส 2 แต่ราคาปิดล่าสุดใกล้เคียงราคาเหมาะสม Bloomberg Consensus เราจึงแนะนำ “เก็งกำไร”

(+) SCGP (Bloomberg Consensus 58.00 บาท) SCGP ลงนามสัญญาซื้อหุ้น Intan Group ในอินโดนีเซีย สัดส่วน 75% เร่งต่อยอดความสำเร็จจากการลงทุนในธุรกิจกระดาษบรรจุภัณฑ์ครบวงจร คาดควบรวมกิจการเสร็จภายในกลางปีนี้ (ที่มา ข่าวหุ้น)

(+) CKP (Bloomberg Consensus 6.38 บาท) เผยแผนบริหารจัดการน้ำ พร้อมนำระบบดิจิทัลเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ การประมาณการกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งที่ไชยะบุรี และน้ำงึม 2 เป็นปัจจัยหนุนให้กำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งปี 2564 เพิ่มขึ้น ดันรายได้โต 10-15% ย้ำปิดดีลโรงไฟฟ้าหลวงพระบางได้ในปี 2564 (ที่มา ทันหุ้น)

(+) MCS (Bloomberg Consensus - บาท) เดินหน้าดีลงานกับลูกค้าญี่ปุ่น เผยเดือนพ.ค.นี้เตรียมเซ็นสัญญางานอีก 4.5-5 หมื่นตัน ดันงานในมือเพิ่มขึ้น โชว์กำไร Q1/64 แข็งแกร่งที่ 234 ล้านบาท คาดงบไตรมาส 2/64 พีคสุด คาดรายได้ปี 2564 แตะ 5 พันล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)

ปัจจัยจับตา

ในประเทศ

11 พ.ค. ประชุมครม.

12 พ.ค. เจ้าหนี้โหวตแผนฟื้นฟู THAI

17 พ.ค. บจ.ส่งงบ 1Q64 วันสุดท้าย สภาพัฒน์ แถลง GDP ไตรมาส 1/64

สัปดาห์ที่ 3 ประชุมคณะกรรมการ กกร.

สัปดาห์ที่ 3 ส.อ.ท. รายงานยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์

สัปดาห์ที่ 3 กระทรวงพาณิชย์แถลงตัวเลขการส่งออก-นำเข้า

สัปดาห์ที่ 4 สศค.รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค

สัปดาห์ที่ 5 สศอ.แถลงดัชนีอุตสาหกรรม

28 พ.ค. ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย

ต่างประเทศ

11 พ.ค. ญี่ปุ่นเปิดเผยการใช้จ่ายภาคครัวเรือนเดือนมี.ค.
            จีนเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนเม.ย. ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนเม.ย.
            อียูเปิดเผยความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ พ.ค.
            สหรัฐเปิดเผยตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน

12 พ.ค. ญี่ปุ่นเปิดเผยทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเดือนเม.ย.

            อียูเปิดเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรม มี.ค.

            สหรัฐเปิดเผยอัตราเงินเฟ้อเดือนเม.ย.และสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์

13 พ.ค. ญี่ปุ่นเปิดเผยดุลบัญชีเดินสะพัดสหรัฐเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนเม.ย.

14 พ.ค. สหรัฐเปิดเผยข้อมูลยอดค้าปลีก ราคานำเข้าและส่งออก การผลิตภาคอุตสาหกรรม สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจ และ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนพ.ค.