‘ทีซีซี’ แนะกลยุทธ์บริหาร ‘ข้อมูล’ สร้าง ‘สิ่งที่ใช่’ และ ‘ความเชื่อ’ ในใจลูกค้า

‘ทีซีซี’ แนะกลยุทธ์บริหาร ‘ข้อมูล’ สร้าง ‘สิ่งที่ใช่’ และ ‘ความเชื่อ’ ในใจลูกค้า

ข้อมูลที่ผู้ใช้งานได้สร้างและแชร์ไว้บนแพลตฟอร์มหรือแอพพลิเคชั่นต่างๆ ได้กลายเป็น “โปรดักส์และตัวเชื่อมสำคัญ” ที่ทำให้องค์กรธุรกิจผู้เก็บรวบรวมข้อมูล “รู้จักตัวตน ความคิด ความต้องการของผู้ใช้งาน” มากขึ้น

ใช้’ อย่างพอดีและมีจริยธรรม

ในฐานะผู้ประกอบการไม่ควรให้ความสำคัญเพียงแค่เรื่องหน้าตาของสินค้า กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย หรือคิดเพียงแค่จะทำอย่างไรให้ลูกค้ายอมเปิดเผยตัวตน หรือแชร์ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อกิจกรรมทางการตลาดมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

สิ่งเหล่านี้อาจสร้างให้เกิดรายได้ แต่มันไม่สามารถการันตีได้ว่า รายได้นั้นจะยั่งยืน โดยเฉพาะในยุคที่ผู้คนให้ความสำคัญต่อการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพราะฉะนั้นต้องไม่ลืมที่จะให้ความสำคัญกับคำว่า จริยธรรม และแทรกมันลงไปในทุกๆ กระบวนการทางธุรกิจเพื่อสร้างสิ่งที่ใช่ควบคู่ไปกับการสร้าง trust ในใจของลูกค้า

สำหรับการแทรกจริยธรรมในขั้นตอนของการนำไปใช้ ต้องมองให้ออกว่าการใช้แบบไหนที่มากเกินไปจนเข้าข่ายละเมิดสิทธิส่วนบุคคล อะไรที่จะทำให้ผู้ใช้งานตัดสินใจถอนการติดตั้ง หรือยกเลิกการให้ความยินยอม อาทิ ส่งข้อมูลโฆษณา หรือข้อมูลต่างๆ ที่ผิดกาลเทศะ และไม่สำคัญต่อชีวิตพวกเขา ณ ขณะนั้นบ่อยจนเกินไป ฯลฯ

ปกป้อง’ ข้อมูลทุกระดับ

แม้ว่าการจัดการความเสี่ยงขั้นพื้นฐานคือคำตอบที่ชัดเจนว่า เหตุใดการปกป้องความเป็นส่วนตัวของลูกค้าหรือผู้ใช้งานจึงมีความสำคัญ แต่ว่าการรักษาความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยอย่างไร้ที่ติ อาจทำให้ได้เปรียบทางการแข่งขันเหนือคู่แข่ง

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดหรือได้รับการปกป้องไม่เพียงพอ อาจส่งผลให้เกิดการโจรกรรมข้อมูล การฉ้อโกงทางการเงินและปัญหาอื่นๆ ที่อาจต้องเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ไข

โดยหนึ่งในปัญหาที่มักได้ยินบ่อยที่สุดคือ ข้อมูลรั่วไหล หากไม่ใส่ใจในรายละเอียดอย่างเหมาะสม ช่องโหว่เล็กๆ อาจทำให้เกิดการรั่วไหลของข้อมูลจำนวนมาก 

สำหรับโดยทั่วไปการละเมิดข้อมูลเกิดขึ้นจาก "จุดอ่อนของเทคโนโลยี” “พฤติกรรมการใช้งานที่ไม่รอบคอบ” และ “ความไม่รัดกุมในแง่นโยบายการใช้ข้อมูล” และถึงแม้ว่าระบบหลังบ้านของเทคโนโลยีจะได้รับการตั้งค่าอย่างสมบูรณ์แบบ แต่ถ้าผู้ใช้บางคนยังคงมีพฤติกรรมการใช้งานดิจิทัลอย่างไม่ระวัง คงเป็นเรื่องยากที่จะก้าวข้ามความเสี่ยงต่างๆ ได้ พราะฉะนั้นการปิดจุดอ่อนจึงควรกระตุ้นให้เกิดการรักษาความปลอดภัยที่ครอบคลุมทุกระดับทั้งในระดับผู้ใช้และระดับองค์กร