เช็คด่วน 10 จังหวัด 'บุคลากรทางการแพทย์' ติดเชื้อมากที่สุด

เช็คด่วน 10 จังหวัด 'บุคลากรทางการแพทย์' ติดเชื้อมากที่สุด

เผย 10 จังหวัด "บุคลากรทางการแพทย์" ติดเชื้อมากที่สุด กลุ่ม พยาบาล-ผู้ช่วย พบติดเชื้อมากสุด 34% ขณะที่ "กทม. -5 จังหวัดปริมณฑล" พบการระบาดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นพบผู้ติดเชื้อรวม 1,457 ราย คิดเป็นร้อยละ 70 ของการติดเชื้อทั้งหมด

สถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 "โควิด-19" วันที่ 9 พ.ค.2564 พบผู้ป่วยรายใหม่อีก 2,101 ราย ทำให้ขณะนี้มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสม 83,375 ราย โดยมีมีผู้ป่วยหายกลับบ้าน 2,186 ราย รวมหายป่วยสะสม 26,179 ราย มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 17 ราย ทำให้การระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่เดือนเม.ย. 2564 มียอดผู้เสียชีวิตสะสม 305 ราย ขณะที่ภาพรวมของการเสียชีวิต 399 ราย ทั้งนี้ มีผู้ป่วยรักษาอยู่ 29,371 ราย อาการหนัก 1,442 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 394 ราย

  • 10 จังหวัด พบ "บุคลากรทางการแพทย์" ติดเชื้อมากที่สุด 

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค กล่าวว่าจากยอดผู้ป่วยโควิดครั้งนี้ พบว่ามีกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อจำนวน 512 ราย ซึ่งเมื่อพิจารณาจากลักษณะของบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อโควิด-19 ระหว่างวันที่1 เม.ย.-7 พ.ค.2564 พบว่าอายุเฉลี่ย  33.37 ปี อายุต่ำสุด 17ปี และสูงสุด 66 ปี สัดส่วนระหว่างเพศชายต่อ เพศหญิง 1:3.10 ส่วนใหญ่มีอาการ 285 ราย และไม่มีอาการ 181 ราย และไม่ระบุอาการ 46 ราย โดยเมื่อจำแนกตามประเภทของบุคลากร พบว่า ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ส่วนใหญ่จะเป็น พยาบาลและผู้ช่วยพยาบาล 

โดย 10 จังหวัดที่พบ "บุคลากรทางการแพทย์" ติดเชื้อโควิดสูงสุดได้แก่ กทม ติดเชื้อ 137 ราย ตรัง ติดเชื้อ 47 ราย ชลบุรี ติดเชื้อ 34 ราย นครปฐม ติดเชื้อ 25 ราย ขอนแก่น ติดเชื้อ 18 ราย ประจวบคีรีขันธ์ ติดเชื้อ 17 รายปทุมธานี ติดเชื้อ 16 ราย สงขลา ติดเชื้อ 16 ราย อุดรธานี ติดเชื้อ 16 ราย และสุราษฎร์ธานี ติดเชื้อ 14 ราย

162055305560

ส่วนสถานที่ที่ติดเชื้อ จะพบการติดเชื้อในโรงพยาบาลเป็นหลัก  ซึ่งมี "ปัจจัยเสี่ยง"ดังนี้ ติดเชื้อในรพ. มีการสัมผัส/ให้การรักษาผู้ป่วยยืนยันขณะทำงาน 202 ราย สัมผัสเพื่อร่วมงานป่วย 63 ราย ภายนอกรพ. สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน/ไปสถานที่เสี่ยง 106 ราย และอยู่ระหว่างสอบสวนโรค 141 ราย  นอกจากนั้น 10 จังหวัดแรกที่มีบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อ ได้แก่ กทม.137 ราย ตรัง 47 ราย ชลบุรี 34 ราย นครปฐม 25 ราย ขอนแก่น 18 ราย ประจวบคีรีขันธ์ 17 ราย ปทุมธานี 16 ราย สงขลา 16 ราย อุดรธานี 16 ราย และสุราษฎร์ธานี 14 ราย

  • หวั่น "แรงงานผิดกม."ส่งผลโควิดระบาด

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวต่อว่าปัญหาที่อาจจะเป็นประเด็นสำคัญในการแพร่ระบาดของโควิด-19 คือ เรื่องการลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายนั้น ยังเป็นเรื่องที่น่ากังวล ซึ่งล่าสุดศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง ได้รายงานการจับกุมแรงงานที่ลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.64 – ปัจจุบัน สามารถจับกุม "แรงงานผิดกฎหมาย"ได้แล้ว 15,378 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการจับกุมได้ในพื้นที่ติดชายแดน โดยเป็นแรงงานจากเมียนมา มากสุด 6,072 ราย รองลงมา เป็นแรงงานกัมพูชา 5,114 ราย ส่วนแรงงานไทย 1,691 ราย ดังนั้น เรื่องนี้จึงเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข

162054977949

นายกรัฐมนตรี และเลขา สมช. ได้เน้นย้ำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติหน้าที่อย่างแข็งขัน โดยเฉพาะทางช่องทางธรรมชาติ พร้อมกับฝากประชาชนช่วยแจ้งเบาะแสให้กับเจ้าหน้าที่ เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงานของฝ่ายความมั่นคงให้ทำงานได้ง่ายขึ้น” โฆษก ศบค.กล่าว

  • "กทม.-5 จ.ปริมณฑล" มีผู้ป่วย70% ของผู้ป่วยทั้งหมด

นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่าในวันนี้ "กทม.-5จ.ปริมณฑล" (นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี สมุทรสาคร นครปฐม) พบผู้ติดเชื้อรวม 1,457 ราย คิดเป็น 70 %ของการติดเชื้อทั้งหมด สำหรับ "กทม."การระบาดแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในชุมชนแออัด เช่น คลองเตย สี่แยกมหานาค ปากคลองตลาด แฟลตดินแดง บางแคบริเวณห้างสรรพสินค้าและชุมชนใกล้เคียง

ส่วน "ปริมณฑล"พบระบาดเป็นกลุ่มก้อน จากการคัดกรองเชิงรุกในชุมชน ตลาด สถานประกอบการ และการสัมผัสผู้ป่วยในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน ส่วนภูมิภาค 71 จังหวัดสถานการณ์การระบาดมีแนวโน้มลดลง ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่มาจากสัมผัสในครอบครัว และที่ทำงาน

162054980880

“ขณะนี้เริ่มพบการติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อนในสถานประกอบการที่รับแรงงานต่างชาติเข้ามาใหม่ เช่น สมุทรสาคร ในส่วนภูมิภาค เช่น เลย นครราชสีมา พบผู้ติดเชื้อเป็นแรงงานที่เดินทางกลับบ้าน ได้กำชับให้ทุกจังหวัดเร่งรัดการค้นหาคัดกรองแรงงานกลับบ้านรวมทั้งผู้ที่เดินทางที่มาจากพื้นที่เสี่ยง พร้อมขอความร่วมมือผู้ประกอบการงดการเคลื่อนย้ายแรงงานป้องกันการแพร่ระบาด” นพ.เกียรติภูมิกล่าว

  • ไทย "ฉีดวัคซีนโควิด-19" 1.7 ล้านกว่าโดส ชวนจองฉีดวัคซีน

ในขณะนี้ประเทศไทยได้มีการ"ฉีดวัคซีนโควิด-19" ให้แก่บุคลากรและประชาชนในกลุ่มต่างๆ ซึ่งจำนวนการได้รับ "วัคซีน"สะสม (ข้อมูลวันที่ 28 ก.พ.-8 พ.ค.2564) รวม 1,734,720 โดส เป็นจำนวนผู้ได้รับวัคซีนเข็มแรก 1,273,666 ราย แบ่งเป็นฉีดวัคซีนซิโนแวค 1,167,398 ราย แอสตราเซเนก้า 106,268 ราย และผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มที่สอง 470,054 ราย แบ่งเป็น ซิโนแวค 470,038 ราย และแอสตราเซเนก้า 16 ราย

ส่วนแผนการ"ฉีดวัคซีนโควิด-19"ภายหลังมีวัคซีนล็อตใหญ่เข้ามา ได้เปิดลงทะเบียนผู้สมัครใจ"ฉีดวัคซีนโควิด-19"ผ่านระบบหมอพร้อม ทั้งนี้ หากหน่วยงานอื่นๆ สนใจขอเป็นหน่วยฉีดวัคซีนในในรูปแบบที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ประสานมา เช่น กลุ่มครู นักเรียน หมู่บ้าน ชุมชน ทางกระทรวงสาธารณสุขยินดีสนับสนุน ขอให้จัดระบบการ"ฉีดวัคซีนโควิด-19"ให้ได้มาตรฐาน คงความปลอดภัยและประสิทธิภาพ ซึ่งคาดว่าในช่วงปลายเดือนนี้จะจัดสรรวัคซีนไปยังพื้นที่ต่างๆ ได้ตามแผนที่วางไว้

162054984557

ส่วนภาพรวมการ บริหารจัดการเตียงโควิด ใน กทม. วันที่ 8 พค. มีผู้ติดเชื้อติดต่อสายด่วนต่างๆ จำนวน 203 ราย ได้เตียงแล้ว 83 ราย รอดำเนิน 106 ราย โดยได้รับความร่วมมือจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) จัดทีมจิตอาสารับ-ส่งผู้ติดเชื้อ ใน 6 โซน กทม. จำนวน 122 ราย โดยในวันนี้จัดทีมเตรียมพร้อมในพื้นที่ 38 ทีมและในที่ตั้ง 116 ทีม