‘ไอบีเอ็ม’ เผยก้าวสำคัญวงการไอที ‘ชิพ 2 นาโนเมตร’ ตัวแรกของโลก

‘ไอบีเอ็ม’ เผยก้าวสำคัญวงการไอที ‘ชิพ 2 นาโนเมตร’ ตัวแรกของโลก

จับตาก้าวสำคัญวงการไอที เมื่อเซมิคอนดักเตอร์ “ชิพ 2 นาโนเมตร” ตัวแรกของโลก จุ 5 หมื่นล้านทรานซิสเตอร์บนชิพขนาดเท่าเล็บมือ ลดใช้พลังงาน-ปล่อยก๊าซ เพิ่มอายุแบตมือถือ 4 เท่า

ขณะที่ อีกมุมหนึ่ง ชิพนี้จะนำสู่การลดปริมาณคาร์บอนฟุตปรินท์ลงอย่างก้าวกระโดด ซึ่งวันนี้ดาต้าเซ็นเตอร์ต่างๆ ใช้พลังงานคิดเป็น 1% ของการใช้พลังงานทั่วโลก ดังนั้นการเปลี่ยนเซิร์ฟเวอร์ทั้งหมดให้เป็นระบบประมวลผล 2 นาโนเมตร จะช่วยลดปริมาณการใช้พลังงานได้อย่างมหาศาล

“หรือเทคโนโลยีที่เรากำลังจับตามองอย่างยานพาหนะไร้คนขับ ชิพนี้จะเข้ามาช่วยเพิ่มความเร็วในการตอบสนองต่อวัตถุของรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับความปลอดภัย”

ก้าวย่างสำคัญของเทคโนโลยีชิพวันนี้ ยังช่วยผลักดันความก้าวหน้าในด้านเอไอ 5จี 6จี การประมวลผลแบบเอดจ์ ระบบออโตเมชัน การสำรวจอวกาศ หรือแม้แต่การประมวลผลควอนตัมด้วย 

5หมื่นล้านทรานซิสเตอร์บนชิพเท่าเล็บมือ

ปฐมา กล่าวต่อว่า การพัฒนาศักยภาพของเซมิคอนดักเตอร์โดยใช้เทคโนโลยีนาโนชีทของศูนย์วิจัยไอบีเอ็ม ช่วยให้สามารถบรรจุทรานซิสเตอร์ 50,000 ล้านตัว ลงบนชิพที่ขนาดเล็กเพียงเท่าเล็บมือ ด้วยการเพิ่มจำนวนทรานซิสเตอร์ต่อชิพ จะทำให้ทรานซิสเตอร์มีขนาดเล็กลง แต่เร็วขึ้น เสถียรขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การมีจำนวนทรานซิสเตอร์บนชิพมากขึ้น หมายถึงการที่นักออกแบบระบบประมวลผล จะมีตัวเลือกในการผนวกความสามารถของนวัตกรรมระดับ core-level ต่างๆ มากขึ้น เพื่อเพิ่มความสามารถให้กับเวิร์คโหลดอย่างเอไอ คลาวด์คอมพิวติ้ง รวมถึงเทคโนโลยีซิเคียวริตี้และการเข้ารหัสที่บังคับใช้บนฮาร์ดแวร์ ซึ่งไอบีเอ็มเริ่มผสานความสามารถใหม่นี้เข้ากับระบบอย่าง IBM POWER10 และ IBM z15 แล้ว

“ไอบีเอ็มมีห้องแล็บองค์กรที่ใหญ่ที่สุดในโลก และชิพ 2 นาโนเมตรนี้ คือ หนึ่งในผลผลิตจากการเป็นผู้นำนวัตกรรมเซมิคอนดักเตอร์ยาวนานหลายทศวรรษของไอบีเอ็ม มีห้องปฏิบัติการวิจัยอัลบานี นิวยอร์ค เป็นกำลังหลักในการพัฒนาชิพนี้ และเป็นที่ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ไอบีเอ็มทำงานใกล้ชิดกับพันธมิตรภาครัฐและเอกชนในรูปแบบอีโคซิสเต็มด้านอาร์แอนด์ดีเพื่อทลายขีดจำกัดของนวัตกรรม logic scaling และเซมิคอนดักเตอร์” ปฐมา กล่าว