คุณภาพชีวิตและการรับรู้ ของประชาชนจากโควิด

คุณภาพชีวิตและการรับรู้  ของประชาชนจากโควิด

การระบาดของโควิด 19 ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามีผลกระทบกับทุกคนทุกประเทศไม่ทางใดก็ทางหนึ่งการระบาดระลอกใหม่ชองโควิด-19 ที่แตกต่างจากระลอกที่ผ่านมาคือ ยิ่งทำให้สะท้อนถึงหลายปัญหา 

การระบาดของโควิด 19 ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามีผลกระทบกับทุกคนทุกประเทศไม่ทางใดก็ทางหนึ่งการระบาดระลอกใหม่ชองโควิด-19 ที่แตกต่างจากระลอกที่ผ่านมาคือ ยิ่งทำให้สะท้อนถึงหลายปัญหา 

ถ้ารัฐบาลยังไม่มีมาตราการมารับมือความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มที่ชัดเจดมากขึ้น อาจจะนำมาซึ่งความวุ่นวายในอนาคตอันใกล้ และจะส่งผลระยะยาวต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ยังรวมถึงโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)สิ่งที่ไม่สามารถหลีกเหลี่ยงได้เมื่อเกิดความวุ่นวายทางการเมือง โดยเฉพาะที่มีแรงผลักดันมาจากความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจคือ ความมั่นใจที่จะดึงดูดการลงทุนและนักท่องเที่ยวต่างชาติ

 การรับรู้ของประชาชนถึงความล้าช้าการจัดหาวัคซีน แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ เกิดจากกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับความหละหลวมของพนักงานภาครัฐ จากสนามมวย จากแรงงานพม่า และจากแหล่งบันเทิง โดยรวมคือ สิ่งที่ประชาชนมีการรับรู้ว่า (people’s perception) การเกิดการระบาดในแต่ระรอบนั้น เกิดจากความละลวมของพนักงานภาครัฐ ขาดความเชื่อถือของมาตราการควบคุมและการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ

การรับรู้ของประชาชน (people’s perception) นั้นสำคัญ เพราะจะส่งผลต่อความคิดที่ว่า ไม่มีทางออกจากวงจรชั่วร้ายของความยากจน หรือที่เรียกว่า vicious circle of poverty ดังนั้น การให้คำนิยามคำว่า “คุณภาพชีวิต” จะส่งผลในการกำหนดนโยบาย เพราะคำนิยามจะช่วยในการนำทิศทางของนโยบายนั้นๆ จะช่วยกำหนดแนวทางศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม และแนวทางการออกมาตรการในการรับมือกับผลกระทบของการระบาดของโควิด 19 ทั้งสามรอบ

 

 

การนิยามคำว่า คุณภาพชีวิต (quality of life) สามารถอ้างอิงได้จากหลายแห่ง เช่น United Nations (ยูเอ็น) และ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (โออีซีดี) นิยามคำว่า “คุณภาพชีวิต” ไว้ได้อย่างน่าสนใจ คุณภาพชีวิตเป็นตัวชี้วัดที่เรียกว่า Better Life Index ซึ่งมี 11 องค์ประกอบด้วยกัน เช่น คุณภาพที่อยู่อาศัยที่พึงประสงค์ รายได้และคุณภาพด้านการเงินของครอบครัว ความมั่นคงของการจ้างงาน คุณภาพของสังคมและการช่วยเหลือ ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษา คุณภาพของสิ่งแวดล้อม การมีส่วนร่วมทางการเมือง

ที่ผ่านมาการนิยามคำว่าคุณภาพชีวิตจะเน้นให้ความสำคัญ คือ ความมั่นคงของการจ้างงานเพื่อให้มีรายได้ เพื่อที่จะมีที่อยู่อาศัย ได้รับการศึกษาและสาธารณสุขที่มีคุณภาพ ต่อมาเริ่มให้ความสำคัญเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน และล่าสุดคือ การเรียกร้องการมีสิทธิและเสรีภาพการส่วนร่วมทางการเมืองตามหลักการประชาธิปไตย

 ดังนั้น โครงการอีอีซีพิจารณาให้ความสำคัญถึงคุณภาพชีวิตตั้งแต่เริ่มต้น เพราะปัจจุบันรัฐบาลต้องรับมือกับการเรียกร้องคุณภาพชีวิต พร้อมกับการแก้ไขปัญหาของการะบาดโควิด-19 และการแข่งขันในเศรษฐกิจโลก

 

ปัจจุบันรัฐบาลยังไม่มีนโยบายเชิงรูปธรรมที่สามารถให้ประชาชนรับรู้ถึงการมีคุณชีวิต ดังนั้นการให้ข้อมูลและสร้างสื่อให้ประชาชนรับรู้นั้นมีความสำคัญอย่างมาก ถึงแม้รัฐบาลมีนโยบายหรือแผนที่จะพัฒนาคุณชีวิตของประชาชน แต่ข้อมูลไม่ถึงมือประชาชน ก็ทำกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาลในการบริหารประเทศ

การระบาดระลอกที่สามที่ดูเหมือนรุนแรงกว่าเดิมทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ก็เพราะประชาชนขาดการรับรู้ ซึ่งจะทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างในประเทศยิ่งแย่ลงไปอีก (make the matter worse) ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะมีนโยบายการพัฒนาประเทศของทางภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตเป็นรูปธรรมและที่สำคัญกว่านั้นต้องให้เกิดการรับรู้ของประชาชน