'ธีรัจชัย' เชื่อ 'ธรรมนัส' พ้น ส.ส. ยกข้อกฎหมาย-รัฐธรรมนูญ เทียบพฤติกรรม

'ธีรัจชัย' เชื่อ 'ธรรมนัส' พ้น ส.ส.  ยกข้อกฎหมาย-รัฐธรรมนูญ เทียบพฤติกรรม

'โฆษก กมธ.ปราบโกง' เชื่อโดยสุจริต 'ธรรมนัส' พ้นส.ส. ตามกฎหมาย-รัฐธรรมนูญ ปัดก้าวล่วงคำวินิจฉัย 'ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ'

       นายธีรัจชัย พันธุมาศ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญเตรียมวินิจฉัยสมาชิกภาพของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ส.ส.พะเยา พรรคพลังประชารัฐ และ รมช.เกษตรและสหกรณ์ ในวันที่ 5 พฤษภาคม โดยเชื่อมั่นอย่างสุจริตใจว่า ร.อ.ธรรมนัสจะพ้นจากความเป็นส.ส.และรมช.เกษตรและสหกรณ์เนื่องจากการตรวจสอบประเด็นทางกฎหมาย ซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ฐานผู้ผลิต นำเข้า ส่งออก หรือผู้ค้า ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 98(10 ) ระบุให้เป็นผู้ไม่มีสิทธิสมัครเลือกตั้ง ทั้งนี้มาตราดังกล่าวบัญญัติไว้  เพื่อเป็นหลักประกันว่าบุคคลต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างซื่อสัตย์สุจริต

          "ความผิดคดียาเสพติดเป็นความผิดร้ายแรง นานาประเทศให้ความสำคัญร่วมมือปราบปราม ตามกฎหมายระหว่างประเทศที่ไทยเข้าร่วมลงนามผูกพันตามอนุ สัญญาเกี่ยวกับยาเสพติดหลายฉบับ เช่น อนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1961 อนุสัญญาว่าด้วยวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ค.ศ .1971 อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการลักลอบค้ายาเสพติด และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ค.ศ.1988
อนุสัญญาระหว่างประเทศเหล่านี้ ยืนยันความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเป็นความผิดสากล ไม่มีพรหมแดน ไม่ว่าทำผิดและมีคำพิพากษาในประเทศใด ย่อมผูกพันทุกประเทศที่ลงนามในอนุสัญญา แต่ในส่วนของการวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทั้ง 9 คนนั้น ตนไม่ขอก้าวล่วง  แต่ตนหวังว่าคำวินิจฉัยของศาลจะสร้างบรรทัดฐานผดุงความศักดิ์สิทธิ์กระบวนการยุติธรรม ทำให้สังคมเกิดความเชื่อมั่นระบบกฎหมายด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดโดยยึดมั่นในเจตนารมณ์กฎหมายเป็นสำคัญ" นายธีรัจชัย กล่าว

 

       นายธีรัจชัย กล่าวด้วยว่าจากกรณีที่เคยมีคำโต้แย้งว่าหากเคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกคดียาเสพติดในศาลต่างประเทศ จะบังคับใช้ได้กับ คุณสมบัติต้องห้ามการสมัครส.ส.และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีตามกฎหมายไทยหรือไม่นั้น คณะกรรม การกฤษฎีกาเคยมีความเห็นที่276/2525 ว่า แม้มิได้ระบุว่าคำพิพากษาให้จำคุกเป็นศาลใด แต่เจตนารมณ์ของกฎหมายต้องการตัดสิทธิบุคคลผู้มีความประพฤติไม่เหมาะสม หากบท บัญญัติกฎหมายตีความเพียงว่า ครอบคลุม เฉพาะคำพิพากษาศาลภายในประเทศอย่างเดียว ไม่ครอบคลุมคำพิพากษาศาลต่างประเทศ จะเกิดความลักหลั่นไม่เท่าเทียมกันทางกฎหมายได้ ความเห็นดังกล่าวของคณะกรรมการกฤษฎีกาแสดงให้เห็นว่า หากเป็นความผิดที่กฎหมายในประเทศ และต่างประเทศถือเป็นความผิดเช่นเดียวกัน หากถูกคำพิพากษาศาลในประเทศจำคุกแล้ว ต้องห้ามการรับสมัคร แต่หากถูกคำพิพากษาศาลต่างประเทศให้จำคุก ไม่ต้องห้ามการรับสมัคร จะเกิดความไม่เท่าเทียมได้ ดังนั้นคำพิพากษาศาลอันมีลักษณะต้องห้ามของรัฐธรรมนูญปี2560 มาตรา98(10) จึงเป็นคำพิพากษาของศาลทั้งในประเทศและศาลต่างประเทศ


          

        นายธีรัจชัยกล่าวว่า ส่วนการอ้างเหตุล้างมลทินหรืออภัยโทษ ไม่สามารถนำมาเป็นเหตุผลได้ เนื่องจากการล้างมลทินคือ การลบล้างโทษที่ผู้กระทำผิดได้รับโทษมาครบถ้วน และพ้นโทษแล้ว หรือการอภัยโทษคือ การให้อภัยแก่ผู้ต้องโทษที่กำลังได้รับโทษอยู่ให้ได้รับการยกเว้นไม่ถูกลงโทษต่อไป เป็นการล้างโทษ แต่ไม่ใช่ล้างความผิด เหมือนการได้รับนิรโทษกรรมที่เป็นการลบล้างความผิด ดังนั้นผู้เคยต้องคำพิพากษาถึง ที่สุดว่ากระทำความผิดตามมาตรา 98 (10) ความผิดจึงยังคงอยู่ ถือเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิ สมัครรับเลือกตั้งส.ส. ข้อโต้แย้งที่ อ้างคำพิพากษาขศาลรัฐนิวเซาท์เวลล์ ประเทศออสเตรเลียถูกล้างมลทินไปตามพ.ร.บ.ล้างมลทิน จึงไม่อาจรับฟังได้.