KBANK-KTB นำร่องหั่นจีดีพี เซ่น ‘โควิด’ระลอก3

KBANK-KTB นำร่องหั่นจีดีพี เซ่น ‘โควิด’ระลอก3

กสิกร-กรุงไทย”นำร่องหั่นจีดีพี หลังโควิดระลอก3กระทบ กสิกรนำ หั่นจีดีพีเหลือ 1.8% หลังบริโภคดิ่ง หวั่นท้องเที่ยวต่ำกว่า2ล่านคน แนะเร่งกระจายวัคซีน กรุงไทย ชี้จีดีพีไทยส่อต่ำ1.8% หลังเม็ดเงินท่องเที่ยว-การบริโภคในประเทศหาย1.8แสนลัาน

161892414241       เคราะห์ซ้ำกรรมซัดไม่หยุดหย่อน สำหรับ “เศรษฐกิจไทย” ที่ก่อนหน้านี้แม้จะเริ่มมีข่าวดี และมีสัญญาณฟื้นตัวที่ดีขึ้น หลังการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่หรือโควิด-19 ระลอก 2 เริ่มคลี่คลาย ยังไม่ทันหายดีใจ กลับถูกพายุลูกใหญ่ซัดอีกรอบจากโควิด ระลอก3

      ผลกระทบจากโควิด ระลอก 3 ครั้งนี้ แม้หลายค่ายเศรษฐกิจจะ “ทำนาย” ว่าเศรษฐกิจไทยอาจไม่ได้รับผลกระทบมากเท่าโควิดรอบแรก แต่ก็มีส่วนซ้ำเติมเศรษฐกิจให้อ่อนแอ และฟื้นตัวช้ามากขึ้น จนต้องออกมาปรับประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยหรือจีดีพีลดลง

     นำร่องโดย “ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” ที่ออกมาหั่น “จีดีพี” ก่อนใคร มาเหลือเพียง 1.8% จากประมาณการเดิมที่คาดไว้ว่าจะโต 2.6% จากผลกระทบโควิดระลอก 3 ที่มีความรุนแรงกว่าในระลอกก่อนหน้านี้

      ภายใต้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่ไม่ได้เข้มงวด ทำให้ความกังวลต่อสถานการณ์มีเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คน รวมถึงความเชื่อมั่นที่ลดลง จนมีผลต่อการบริโภคครัวเรือนให้มีทิศทางต่ำที่ประเมินไว้

      แม้ว่า ภายใต้ประมาณการใหม่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้รวมปัจจัยบวกใส่เข้ามาแล้ว อย่างแนวโน้ม “ส่งออก”ที่จะเติบโตดีกว่าคาด เป็นขยายตัว 7% จาก 4.5% จากอานิสงส์ของภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวดีกว่าคาด

      อีกทั้งยังได้รับปัจจัยบวกจาก มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยมีโครงการที่ยังดำเนินอยู่ เช่น โครงการ เราชนะ และโครงการเรารักกันซึ่งจะสิ้นสุดวันที่ 31 พ.ค. 2564

      ขณะที่มีมุมมองว่า ภาครัฐจะมีมาตรการต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศภายใต้วงเงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ซึ่งยังมีวงเงินคงเหลืออยู่ราว 2.4 แสนล้านบาท ประกอบกับยังมีเงินจากงบกลาง ภายใต้ พรบ.งบประมาณปี 2564 ที่สามารถนำมาใช้ได้อีกราว 1.3 แสนล้านบาท

      แต่ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน ยังเต็มไปด้วยความกังวล จากโควิดระลอกใหม่ ที่อาจส่งผลให้ นักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาไทย มีแนวโน้มลดลงต่ำกว่า ประมาณการเดิมที่ 2 ล้านคน

       ดังนั้น ตัวแปรสำคัญของเศรษฐกิจไทย คือการเร่งฉีดวัคซีน ซึ่งหากการฉีดวัคซีนมีความล่าช้า ก็มีความเป็นไปได้ที่การแพร่ระบาดจะยืดเยื้อหรืออาจเกิดการแพร่ระบาดอีกระลอก และยังไม่สามารถควบคุมได้ หรือเกิดการระบาดอีกรอบในไตรมาส 3 ปีนี้ เชื่อว่า จะยิ่งมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวต่างชาติมาก ซึ่งจะทำให้ความหวังของการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวอาจต้องล่าช้าออกไปอีกปีหนึ่งได้

      ไม่เพียงเท่านั้น จะเริ่มเห็นผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยต่อเนื่อง ไปสู่การจ้างงาน การบริโภค จากโควิดที่ยืดเยื้อ และการระบาดโควิดลากยาวถึงไตรมาส 3

       ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2564 มีแนวโน้มที่จะไม่เติบโตจากปีก่อน ภายใต้สมมติฐานที่ว่าภาครัฐมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ภายใต้วงเงินที่เหลือ ตาม พรก.เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท และ พรบ.งบประมาณประจำปี 2564-2565

     ดังนั้น ตัวแปรสำคัญคือ การ “ควบคุม”สถานการณ์ การแพร่ระบาด รวมถึงการเร่ง “ปูพรม” กระจายวัคซีนเป็นภารกิจเร่งด่วน เพราะระบบสาธารณสุขไทยมีขีดจำกัด ในการรองรับผู้ติดเชื้อ

       ยิ่งไปกว่านั้น หากจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันยังอยู่ระดับสูง มากกว่าพันคนต่อเนื่องเป็นเดือนๆ อาจเกิดภาวะระบบสาธารณสุข “ล่ม” และส่งผลทำให้เศรษฐกิจไทยอาจต้องเผชิญกับ ต้นทุนแฝง (Hidden cost) ที่อาจประเมินค่าไม่ได้ ซึ่งในปัจจุบันก็เริ่มเห็นหลายโรงพยาบาลเผชิญกับปัญหาเตียงผู้ป่วยเต็ม และขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์

       ท้ายที่สุดจะ ส่งผลให้ต้นทุนในการดำเนินชีวิตของผู้คนเพิ่มขึ้น ทำให้ ผู้ป่วยธรรมดาก็ไม่สามารถ เข้าถึงระบบสาธารณสุขได้เป็น“ปกติ”เหมือนเมื่อก่อน ดังนั้นความเสียหายที่เกิดขึ้น อาจจะมีมากกว่าการบริโภคที่ลดลงและรายได้จากการท่องเที่ยวที่หายไปได้!“ปกติ”เหมือนเมื่อก่อน ดังนั้นความเสียหายที่เกิดขึ้น อาจจะมีมากกว่าการบริโภคที่ลดลงและรายได้จากการท่องเที่ยวที่หายไปได้!

     ในทางกลับกัน หากสถานการณ์ไม่เป็นไปตามที่คาด และยังมีความจำเป็นต้องมีมาตรการภาครัฐเพื่อดูแลผลกระทบที่เกิดจากการแพร่ระบาดของ โควิดเพิ่มเติม โดยหากรัฐบาลพิจารณาแล้วเห็นสมควรมีการกู้เงินเพิ่มเติม เพื่อใช้ดูแลเศรษฐกิจ ก็อาจจะส่งผลให้ตัวเลขจีดีพีในปีนี้มีแนวโน้มสูงกว่า 1.8% ได้

     ตามมาติดๆสำหรับ ศูนย์วิจัย กรุงไทย COMPASS ที่ปรับจีดีพีไล่หลังกันมา “พัชรพจน์ นันทรามาศ” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ กรุงไทย COMPASS กล่าวว่า จากผลกระทบโควิด ระลอก 3 ทำให้ศูนย์วิจัยกรุงไทย ปรับการขยายตัวเศรษฐกิจไทยปีนี้ ต่ำสุดเป็น 1.5% จากประมาณการเดิมที่ 2.5% กรณีที่ภาครัฐมีการกระตุ้นเศรษฐกิจหรือเยียวยาโควิดได้จำกัด หรือเม็ดเงินเข้าสู่ระบบน้อย

     ซึ่งไส้ในเศรษฐกิจสำคัญๆที่ทำให้ปรับประมาณการลง หลักๆคือ การบริโภคเอกชน ที่คาดโตได้เพียง2-2.5% เท่านั้น จากเดิมที่คาดโตใกล้ 3%

      นอกจากนี้ประเมินว่า โควิดระลอก 3 ครั้งนี้ มีผลกระทบทำให้เม็ดเงิน ในภาคท่องเที่ยวในประเทศ และการใช้จ่ายในประเทศหายไปถึง 1.8 แสนล้านบาท และยังประเมินว่า กว่าจะเห็นเศรษฐกิจไทย กลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้ง จากโควิดรอบนี้ อาจต้องใช้เวลาถึง 3 เดือน หรือหลังมิ.ย. ถึงจะเริ่มเห็นการกลับมาฟื้นตัวของเศรษฐกิจอีกครั้ง

      ดังนั้นโดยรวมแล้ว คาดเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบโควิดระลอก 3 ครั้งนี้ให้หายไปราว 1.3%

     อย่างไรก็ตาม ภายใต้ส่งออกที่คาดดีกว่าคาด มาอยู่ที่ 4.1% จาก 2.9% ทำให้เข้ามาชดเชย “จีดีพี” ที่หายไปได้บ้าง จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมกรุงไทย ปรับจีดีพีไทยกรอบล่างเหลือเพียง 1.5% เท่านั้น

    “หากไม่มีโควิดรอบนี้เราคาดจีดีพี 2.5% เรามีทิศทางปรับขึ้นด้วยจากส่งออกที่ดีขึ้น แต่พอเกิดโควิดรอบใหม่ ก็ต้องคิดใหม่ ส่งออกดีขึ้นจริง แต่ท่องเที่ยวในประเทศ ดีมานด์ในประเทศหายไปเยอะ ประเมินว่าดีมานด์ในประเทศลดลง จากโควิดรอละลอกนี้ราว 1.3% จาก 2.5% เหลือจีดีพีตั้งต้นแค่ 1.2% แต่ส่งออกดีขึ้น ทำให้ฐานจีดีพีปรับลงมาเหลือ 1.5%”

      สุดท้ายแล้ว แม้จะเจอปัจจัยเสี่ยงมากมาย “เศรษฐกิจไทย” ก็ยังคงมีหวังจากแรงขับเคลื่อนภาครัฐ ที่คาดว่า หากภาครัฐอัดเม็ดเงินเต็มแม็กซ์ลงสู่ระบบเศรษฐกิจที่เหลือ กว่า 2 แสนล้านบาทได้ทั้งหมด ก็เชื่อว่า ภาพเศรษฐกิจอาจกลับข้างจาก “ลดลง” มาเป็น “ขยายตัว”สู่ระดับ 3% ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้!