ดีลข้ามซ็อตเทนเดอร์ฯ ‘INTUCH’ ปลดล็อกธุรกิจ ‘ไทยคม’

ดีลข้ามซ็อตเทนเดอร์ฯ ‘INTUCH’ ปลดล็อกธุรกิจ ‘ไทยคม’

ขึ้นแท่นทำเนียบ “ดีลแสนล้าน” ไปแล้วสำหรับการประกาศของบมจ. กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี  ดีเวลลอปเมนท์ หรือ “GULF”  เสนอซื้อหุ้น หรือเทนเดอร์ ออฟเฟอร์ บมจ. อินทัช โฮลดิ้ง  หรือ “INTUCH” ด้วยมูลค่าเงินสดเพียวๆแบบไม่ต้องกู้ 1.69 แสนล้านบาท ที่ราคา 65 บาทต่อหุ้น

ดีลดังกล่าวมาพร้อมกับเงื่อนไขที่น่าสนใจและน่าคิดตามไม่น้อย เพราะ GULF ระบุชัดเจนว่าดีลดังกล่าวเป็นการซื้อเพื่อลงทุนใน INTUCH เพียงบริษัทเดียว ส่วนบริษัท แอดวานซ์ อินโฟเซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC  และ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) หรือ THCOM ไม่ได้มีความสนใจ  จึงมีการตั้งราคาเสนอซื้อ ADVANC ไว้ที่ 122.86 บาทต่อหุ้น ถือว่าเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาปิด (16 เม.ย.64) ถึง 26 %

นอกจากนี้การเข้าซื้อหุ้นครั้งนี้ของ GULF ยังเป็นการซื้อโดยยังไม่ได้สอบถามกับผู้ถือหุ้นอันดับ 1 อย่าง Singtel และ ผู้ถือหุ้นใหญ่ดังกล่าวก็ยืนยันไม่ขายหุ้นที่ถืออยู่ใน INTUCH ในสัดส่วน 21 %  ออกมาอีกเพราะโฟกัสธุรกิจในระยะยาวทั้ง INTUCH และ ADVANC   

นั้นหมายถึง GULF สามารถทำการเสนอซื้อหุ้น INTUCH ได้สูงสุดคือ 80 สามารถกระจายการลงทุนในธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนดีจากกำไรที่เติบโตเฉลี่ย  5 % ต่อปี มีอัตราปันผลเฉลี่ย 3.4 %  ต่อปี เพิ่มฐานทุนด้วยสัดส่วนถือหุ้นสามารถเปิดทางให้ GULF ขยายการกู้ (ไม่ต้องพึ่งพาการเพิ่มทุน ) เพื่อลงทุนในอนาคตเพิ่มจากอัตราส่วนทุนต่อหนี้ (D/E) ลดลง ยังไม่นับรวมกับการร่วมมือ INTUCH ในการทำดิจิทัลแพลตฟอร์ตด้านไฟฟ้ากับฐานลูกค้ารีเทล จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ราคาหุ้น GULF กลับมาเป็นบวกแทน

                       

พอมาดูกลุ่ม INTUCH แล้วกองทุนขนาดใหญ่ เทมาเส็ก ที่ถือหุ้นผ่าน Singtel  นั้นการยอมเสียสัดส่วนถือหุ้นใน INTUCH ไปนั้นไม่ได้เป็นการเสียเปล่า  ด้วยโครงการของกลุ่มที่เป็นลักษณะโฮลดิ้ง มีแกนนำทำรายได้-กำไรและปันผลมหาศาลอย่าง ADVANC จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องเสียธุรกิจนี้ไป

หากแต่ธุรกิจที่เป็นจุดบอดของกลุ่มในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา คือ “ดาวเทียม อย่าง THCOM  ที่เจอมรสุมปัญหาสัญญาสัมปทาน และยังมีธุรกิจขาลงจากการเติบโตผ่านระบบสตีมมิ่ง จากระบบ 5จึงทำให้ผู้บริโภคหันไปใช้อินเตอร์มากขึ้น

ธุรกิจดังกล่าว ‘ไทยคม มีดาวเทียมที่ให้บริการทั้ง 8 ดวง ซึ่งไทยคม 1 –ไทยคม 3  ได้ปลดระวางไปแล้ว  ส่วนที่เหลืออยู่ประกอบไปด้วยดาวเทียมไทยคม 4 (ไอพีสตาร์) เน้นรองรับการใช้งานอินเตอร์เน็ตและบรอดแบนด์  ซึ่งอายุสัญญาจะหมดลงเดือนก.ย. 2564  

ถัดมาดาวเทียมไทยคม 5 ที่มีสัญญาหมดอายุปี 2564  แต่อายุการใช้งานหมดลงในกลางปี 2563 ที่ผ่านมา  ซึ่งภาครัฐไม่ต่ออายุสัญญาให้จึงทำให้ดาวเทียมดวงนี้มีปัญหาหลังมีมติครม. (29 ม.ค. 2562) เห็นชอบเห็นหลักการให้ ไทยคมดําเนินการเชื่อมต่อระบบขับเคลื่อนพลังงาน หรือ พาวเวอร์ แบงค์ เพื่อต่ออายุใช้งานดาวเทียมไทยคม 5  ไปจนกว่าจะหมดสัญญาใช้งาน  เนื่องจากดาวเทียมไทยคม 5 จะหมดอายุการใช้งานในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 แต่สัญญาดําเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศจะสิ้นสุดในปี 2564          

ส่วนทางกับในมุมของไทยคมต่อมติดังกล่าวเพราะการติดตั้งพาวเวอร์ แบงค์ ต้องใช้เงินลงทุนมากกว่า 400 ล้านบาท  อาจจะมองได้ว่าไม่คุ้มค่าเพราะเหลือเวลาสัญญาแค่ 1ปี  ต้องมอบทรัพย์สินให้กับกระทรวงดีอีเอส จนกลายเป็นประเด็นฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในท้ายที่สุด โดยมีการฟ้องร้อง THCOM และ INTUCH  เป็นเงิน 7,790 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้้ย 7.5 %  ตั้งแต่ 30 ต.ค.2563 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ  

การเปิดทางให้ GULF เข้ามาถือหุ้น INTUCH แทนเพียงบริษัทเดียวย่อมส่งผลต่อการถือหุ้นทั้งกลุ่มไปโดยปริยาย  โดยเฉพาะ THCOM ที่ INTUCH ถือหุ้นมากสุด  41.43 % จะกลายเป็นบริษัทคนไทยไม่ใช่บริษัทต่างด้าว การดำเนินการด้านธุรกิจจะแตกต่างจากปัจจุบันไปด้วย

นัยยะดังกล่าวจะเกิดขึ้นและเสร็จสมบูรณ์ช่วงเดือนส.ค. 2564  ซึ่งระหว่างทางราคาหุ้น THCOM ที่เคยลงไปจุดต่ำสุดจนแทบกลายเป็นบริษัทที่ไร้การเติบโตถึง 2.26 บาท (23 มี.ค 2563) วันนี้ราคามาปิดที่  10.90 บาท (20 เม.ย.) ตอบได้ว่านักลงทุนกำลังมองทิศทางหุ้นตัวนี้ในอนาคตอย่างไรบ้าง