'ปชป.' จี้คลังเร่งเบิกจ่ายงบฯ กระตุ้นเศรษฐกิจสู้พิษ 'โควิด' ระลอกใหม่

'ปชป.' จี้คลังเร่งเบิกจ่ายงบฯ กระตุ้นเศรษฐกิจสู้พิษ 'โควิด' ระลอกใหม่

ทีม ศก.ทันสมัย "ประชาธิปัตย์" จี้คลังเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ กระตุ้นเศรษฐกิจสู้พิษ "โควิด-19" ระลอกใหม่ แนะปรับแก้ พรบ.จัดซื้อจัดจ้าง ลดอุปสรรคเบิกจ่าย

วันที่ 20 เม.. นายปริญญ์ พานิชภักดิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และหัวหน้าทีมเศรษฐกิจทันสมัย พร้อมด้วยนางดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยนายปริญญ์ กล่าวว่า ตามที่ทีมเศรษฐกิจทันสมัยพรรคประชาธิปัตย์ ได้เคยเสนอไปแล้วว่าเรื่องที่สำคัญที่สุดในการแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจคือ การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณที่มีอยู่แล้วอาทิ พรก.เงินกู้ 1 ล้านล้านบาทและงบอื่น ซึ่งตอนนี้มีเหลือกว่า 2.6 แสนล้านบาท โดยมี 5 ข้อเสนอ ดังนี้

1.การสร้างงาน เสริมทักษะสมรรถนะของคน ในรูปแบบ Up Skill และ Re Skill เนื่องจากคนไทยยังต้องอยู่กับโควิด-19 อีกนาน และรูปแบบการทำงานได้เปลี่ยนไปแล้ว รัฐบาลสามารถลงมือทำได้เลยผ่านกลไกกระทรวงต่าง

2.การช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อม (SMEs) หรือสตาร์ทอัพ โดยการสนับสนุนเงินเดือนหรือรายได้ส่วนหนึ่งให้กับบริษัทขนาดเล็ก เพื่อให้สามารถดูแลพนักงานต่อไปได้ ไม่ปลดคนงาน จนทำให้เกิดคนว่างงานเพิ่มขึ้นในอนาคต รวมถึงมาตรการในการลดรายจ่ายเช่นภาษี

161890069435

3.นำข้อมูลด้านดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เนื่องจากปัจจุบันมีการเก็บข้อมูลทางดิจิทัลจากโครงการของรัฐมากขึ้น เช่น เราชนะคนละครึ่ง เป็นต้น ภาครัฐควรนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ให้เกิดประโยชน์ อาทิ ถือโอกาสนี้นำร้านค้าเอสเอ็มอีเข้ามาในระบบภาษีมากขึ้น แล้วร้านค้าที่จ่ายภาษีถูกต้องตามกฎหมาย ก็ควรจะได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าในการสนับสนุนโปรโมชันให้ประชาชนนำเงินไปซื้อสินค้าเหล่านั้น ในรูปแบบ "ไทยต้องช่วยซื้อไทย" สนับสนุนสินค้าไทยที่ดีและทำถูกกฎหมาย ส่งเสริมการเรียนรู้งานด้านออนไลน์การทำคูปองสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือให้เกษตรกรได้เข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ ในการทำเกษตรกรรม

4.พิจารณาปรับปรุง ... จัดซื้อจัดจ้าง หรือยกเลิกบางมาตราที่เป็นอุปสรรคในการเบิกจ่าย แต่ยังคงต้องตรวจสอบความโปร่งใสอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ฝ่ายราชการสามารถเร่งอนุมัติโครงการที่จำเป็นได้โดยเร็วที่สุด

5.คงมาตรการในการลดภาระค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะค่าสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ที่รัฐวิสาหกิจต้องยอมอุดหนุนค่าใช้จ่าย เพื่อลดภาระให้กับภาคประชาชน ควบคู่ไปกับการสร้างรายได้

ด้านนางดรุณวรรณ กล่าวว่า รัฐบาลยังจำเป็นต้องสนับสนุนการให้องค์ความรู้ด้านการออม ถึงแม้ตอนนี้รายได้คนส่วนใหญ่น้อยลงการออมอาจทำได้ยาก แต่ก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม ภาครัฐควรช่วยสร้างองค์ความรู้ทางการเงินให้กับประชาชน ว่าควรจะเก็บหรือลงทุนอย่างไร ส่วนประชาชนเองก็ควรขวนขวายหาความรู้ และศึกษาเองด้วย เพราะในขณะที่เศรษฐกิจฝืด ก็มีช่องทางที่จะสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้นได้ด้วยเช่นกัน

ในวิกฤตผู้ที่อยู่รอด คือผู้ที่เงินออม การออมคือส่วนหนึ่งในการเตรียมความพร้อมรับมือกับภาวะวิกฤตในระยะยาว รวมทั้งสามารถพึ่งพาตนเองได้โดยไม่ต้องรอการช่วยเหลือจากภาครัฐเพียงอย่างเดียว เป็นที่น่ายินดีว่าภาครัฐโดยกระทรวงการคลังมีแผนการออมแห่งชาติอยู่แล้วและถือเป็นวาระแห่งชาติ และได้มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่เยาวชนจนถึงวัยเกษียณอายุ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี เพียงแต่อยากให้ตระหนักถึงความสำคัญและผลักดันเรื่องนี้ควบคู่กับไปกับการแก้ไขปัญหาระยะสั้นด้วย นางดรุณวรรณ กล่าว

161890071024