ก้าวต่อไปพัฒนาคน สร้างทักษะสู่คุณภาพที่ยั่งยืน

ก้าวต่อไปพัฒนาคน  สร้างทักษะสู่คุณภาพที่ยั่งยืน

ทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) มีการพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับและตอบสนองเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)

 ทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) มีการพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับและตอบสนองเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) อย่างต่อเนื่อง การพัฒนากำลังคนทั้งระดับ มัธยมศึกษา อาชีวะ และอุดมศึกษา ตัวอย่างเช่น การพัฒนากำลังคนระดับอาชีวะด้านโลจิสติกส์ โครงสร้างพื้นฐาน (โลจิสติกส์ ระบบขนส่งทางราง และยานยนต์ไฟฟ้า) แต่เพื่อก้าวต่อไปต่อการพัฒนากำลังคนที่ต้องมีศักยภาพที่สามารถมีโอกาสเพื่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน หรือ ที่โอกาสที่เรียกว่า climbing the corporate ladder แล้วทักษะใดที่เกี่ยวข้องต่อความก้าวหน้า 

หนึ่งในทักษะที่สำคัญคือทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะเกี่ยวข้องต่อการเรียน เช่น ทักษะทางด้านการอ่าน

เบื้องต้นเรามาเรียนรู้กันก่อนว่าในปัจจุบันเรามีข้อมูลใดบ้างที่บ่งชี้คุณภาพการศึกษาระดับสากลที่เรียกว่า พิชซ่า (พีไอเอสเอ) ​หรือ Program for International Student Assessment คือ โปรแกรมประเมินสมรรถนะรักเรียนมาตรฐานสากล PISA ถูกสร้างขึ้นมาโดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development หรือ โออีซีดี วัตถุประสงค์ของการทดสอบคือการประเมินคุณภาพของระบบการศึกษาประเทศต่างๆ ในการเตรียมความพร้อมให้เยาวชนมีศักยภาพหรือความสามารถพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต

 โดยจะประเมินสมรรถนะที่เรียกว่า Literacy ซึ่งจะประกอบไปด้วยสามด้าน การอ่าน คณิตศาสตร์ และ ด้านวิทยาศาสตร์ และใช้มาตรฐานของประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นเกณฑ์ชี้วัด ถึงแม้ประเทศไทยไม่ได้เป็นสมาชิก โออีซีดี แต่ก็สมัครเข้าร่วมในฐานะประเทศร่วม ที่ผ่านมามีการประเมินไปแล้ว 3 ระยะ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 และดำเนินการโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

​ในส่วนการประเมินสมรรถนะนักเรียนตามมาตรฐาน พีไอเอสเอ ของประเทศไทย เป็นการประเมินของนักเรียนอายุ15 ปี ของปี 2561 จำนวน 8,633 คน และ 290 โรงเรียน ผลการประเมินในปี 2018 คะแนนเฉลี่ยของทั้งประเทศไทยจาก 78 ประเทศ คะแนนทั้ง 3 สมรรถนะอยู่ในระดับที่ 60 คะแนนด้านการอ่านอยู่ในระดับที่ 66 คะแนนด้านคณิตศาสตร์อยู่ระดับที่ 57 คะแนนด้านวิทยาศาสตร์อยู่ระดับที่ 54 แต่สิ่งที่น่ากังวลกว่าระดับที่เปรียบเทียบผลคะแนนของประเทศอื่นคือ แนวโน้มสมรรถะการอ่านของนักเรียนไทยนั้นตกลงจาก 431 มาอยู่ที่ 393 อีกหนึ่งมิติคือ ช่องว่างระหว่างคะแนนเฉลี่ยของนักศึกษาหญิงและนักศึกษาชาย โดยเฉลี่ยนักเรียนหญิงมีคะแนนที่สูงกว่านักเรียนชาย แต่สัดส่วนของหน้าการงานโดยฌฉพาะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้นสวนทางกัน

​ข้อมูลผลคะแนนประเมินสมรรถะสะท้อนให้ถึงความท้าทายในการพัฒนาในประชากรไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีแบบยั่งยืน คงไม่มีใครไม่เห็นด้วยที่จะกล่าวว่าคุณภาพการศึกษาที่เหมาะสมต่อทุกระดับการศึกษาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญ ที่จะมีส่วนทำให้ทั้งประชาชนไทยและประเทศไทยจะมีการพัฒนาที่ยั่งยืน ทำให้เราพ้นกับดักประเทศที่กำลังพัฒนา ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะมีนโยบายเชิงทักษะ เชิงพื้นที่ เชิงศักยภาพ

​เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน เราควรพิจารณามุ่งเน้นการสร้างความเท่าเทียมทางด้านโอกาสที่จะเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ การศึกษาที่สามารถนำสู่โอกาสของเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ โอกาสที่ไม่ควรทุกปิดกันด้วยฐานะทางด้านสังคม ศาสนา ถิ่นที่อยู่ นโยบายการพัฒนาทักษะโดยเฉพาะภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ทางด้านเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับแผนการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะได้รับการพิจารณาทักษะด้านนี้เป็นพิเศษ