การส่งเสริมท่องเที่ยวใน EEC หลังฟื้นฟูท่ามกลางวิกฤตโควิด

การส่งเสริมท่องเที่ยวใน EEC หลังฟื้นฟูท่ามกลางวิกฤตโควิด

การพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ในการยกระดับคุณภาพการท่องเที่ยวในพื้นที่สามจังหวัดในภาคตะวันออก ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง

จากการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยว ที่คาดการณ์หลังการฟื้นฟูและคลี่คลายของสถานการณ์ Covid-19 โดยมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม และโลจิสติกส์ เพื่อเชื่อมโยงระบบขนส่ง และสถานท่องเที่ยวในพื้นที่ สนับสนุนการค้า การบริการ การท่องเที่ยวที่จะเพิ่มขึ้น อำนวยความสะดวกในการเดินทางได้สะดวกรวดเร็ว และปลอดภัย รวมทั้งสร้างความมั่นใจ และภาพลักษณ์ด้านการขนส่ง และการท่องเที่ยวให้แก่ประชาชน นักท่องเที่ยว และนักลงทุนทั้งใน และต่างประเทศ

โดยเป้าหมายที่มีความสำคัญมากที่สุด ก็คือ เพื่อสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวให้ประชาชนในพื้นที่ ให้สูงขึ้น “จุดหมายที่ผสมผสานระหว่างธุรกิจ และการพักผ่อน” เป็นการเดินทางมาทำงาน หรือทำธุรกิจในพื้นที่ต่างๆ พร้อมกับการท่องเที่ยว และพักผ่อนกับครอบครัวในคราวเดียวกัน ในเชิงรูปแบบการท่องเที่ยว ประเภท “Family Destination” เพื่อยกระดับคุณภาพการท่องเที่ยวในพื้นที่ EEC สู่ระดับนานาชาติ โดยจำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม และโลจิสติกส์ เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมหลัก และต่อเนื่องในพื้นที่ EEC

สามารถแบ่งออกเป็น แนวความคิดหลักในแต่ละพื้นที่ของจังหวัด ตามอัตลักษณ์เชิงพื้นที่ EEC, 2563 ฉะเชิงเทรา : Thai Way of Life” เนื่องจากมีจุดเด่นทางด้านการดำเนินวิถีชีวิต วัฒนธรรม และการเกษตร ชลบุรี : Modern of the East” เพราะมีความทันสมัยผสมผสานกับความเป็นท้องถิ่น และเมืองพัทยาเป็น 1 ใน 5 MICE City ของประเทศไทย ระยอง : BIZ City” อันเนื่องมาจากเป็นพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมและมีการดาเนินธุรกิจเป็นจานวนมาก

EEC ยังเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญจำนวนมาก และมีความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยว อาทิ แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยวเชิงนันทนาการ แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม และการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ (Business tourism) หรือธุรกิจไมซ์ (MICE) โดยเฉพาะในเมืองพัทยา อีกทั้ง ยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-made Attraction) อาทิ สวนสนุก สวนน้ำ ศูนย์การค้า สถานบันเทิง และการจัดงานกิจกรรมพิเศษ เช่น การจัดแข่งขันกีฬาทางน้ำ การจัดแสดงคอนเสิร์ต และการแสดงนิทรรศการระดับนานาชาติ เป็นต้น เพื่อให้นักท่องเที่ยว เกิดสิ่งจูงใจในการท่องเที่ยว 

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวในพื้นที่ EEC ยังได้พัฒนา และนำเสนอกิจกรรมการท่องเที่ยวในรูปแบบที่หลายหลาก อย่างไรก็ดี ยังพบประเด็นปัญหา และอุปสรรคการพัฒนาการท่องเที่ยวอาทิ การท่องเที่ยวด้อยคุณภาพ ทั้งภาพลักษณ์เชิงลบของการท่องเที่ยว โดยเฉพาะเมืองพัทยา การจัดการการท่องเที่ยวที่ขาดความสมดุลระหว่างพื้นที่ท่องเที่ยว กลุ่มตลาดนักท่องเที่ยวที่ไม่มีคุณภาพ โครงสร้างพื้นฐานการคมนาคม และโลจิสติกส์บางพื้นที่ยังไม่สะดวก ไม่เชื่อมโยงถึงแหล่งท่องเที่ยว หรือเชื่อมโยงแต่มีปัญหามาตรฐาน และความพอเพียง ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ และแหล่งท่องเที่ยว ขาดแคลนแรงงานและการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว และความปลอดภัย และความเชื่อมั่นจากนักท่องเที่ยว

ในฉบับต่อไป จะว่าด้วยประเด็นปัญหาและอุปสรรคการพัฒนาการท่องเที่ยว ที่สำคัญ รวมทั้งกลวิธีที่จะนำมาสู่การพัฒนา เพื่อการสร้างความยั่งยืนของการพัฒนา และส่งเสริมการท่องเที่ยว ที่จะเกิดขึ้น หลังสถานการณ์ต่างๆ มีการเปิดให้เดินทางอย่างเสรี มีวัคซีนที่มีการฉีดในกลุ่มคนประเทศต่าง ๆ ครอบคลุมทั้งหมด ฟ้าจะเปิด อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ก็จะเป็นตัวชูโรง และขับเคลื่อนประเทศไทย ได้อีกครั้ง”